โดราเอมอน
โดราเอมอน | |
ตัวละครหลักของเรื่องโดราเอมอน | |
ドラえもん | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Doraemon |
แนว | ตลก[1] บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์[2] |
มังงะ | |
เขียนโดย | ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ |
สำนักพิมพ์ | โชงากูกัง |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ |
ในเครือ | เทนโทมุชิคอมิกส์ |
นิตยสาร | นิตยสารสำหรับเด็กหลายเล่มของโชงากูกัง |
กลุ่มเป้าหมาย | เด็ก |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2512 (โฆษณา) มกราคม พ.ศ. 2513 (ตีพิมพ์เรื่องยาวครั้งแรก) – 23 มิถุนายน พ.ศ. 2539 |
จำนวนเล่ม | 45 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
โดราเอมอน (1973) | |
กำกับโดย | Misuo Kamiri |
สตูดิโอ | นิปปอนเทเลวิชัน โดงะ |
เครือข่าย | นิปปอนเทเลวิชัน |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
โดราเอมอน (1979) | |
กำกับโดย | Motohira Ryo > Shibayama Tsutomu |
สตูดิโอ | ชินเอย์แอนิเมชั่น |
เครือข่าย | ทีวีอาซาฮี โมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) (2525[3] - 2552) |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
โดราเอมอน (2005) | |
กำกับโดย | Koso Tsukuba > Soichiro Sen |
สตูดิโอ | Asatsu-DK, ชินเอย์แอนิเมชั่น |
เครือข่าย | ทีวีอาซาฮิ โมเดิร์นไนน์ทีวี (พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน) |
โดราเอมอน[N 1] (ญี่ปุ่น: ドラえもん) เป็นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นชุด เขียนและวาดโดยฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ซึ่งเป็นนามปากกาของ ฮิโรชิ ฟูจิโมโตะ กับ โมโต อาบิโกะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมวชื่อโดราเอมอน โดยฟูจิโกะ ฟูจิโอะได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วยของวิเศษจากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2512 โดยสำนักพิมพ์โชงากูกัง[6][7] โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน[8] ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทซูกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น[9] อีกทั้งยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็น 1 ในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่น[10] จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรี เพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมญี่ปุ่น[11] นอกจากนี้บริษัทบันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิตหุ่นยนต์โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My Doraemon" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552[12]
ในประเทศไทย โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนมีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน[13][14] แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอนิเมะ ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2525 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน[3] และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี โดยมีโรส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอร์ปอเรชั่นเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ [15]
โครงเรื่อง
เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของ โนบิตะ เด็กชายชั้น ป.4-5 ที่มักถูกเพื่อน ๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน ไม่ชอบอ่านหนังสือและไปโรงเรียนสายบ่อย ๆ สิ่งที่โนบิตะเก่งคือพันด้ายและนอน โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือ โดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอมอนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะ อาหารที่โดราเอมอนชอบคือแป้งทอด ตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ไจแอนท์ เด็กที่ดูเป็นอันธพาลแต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง ซูเนโอะ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด เดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ชิซูกะ ผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย ไจโกะ น้องสาวของไจแอนท์ ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มี โดเรมี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋า 4 มิติและของวิเศษ (แต่จะดูน่ารักในแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย คุณพ่อและคุณแม่ของโนบิตะ ซึ่งคุณแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าคุณพ่อ
แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะและคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเลหรือยุคไดโนเสาร์)
ประวัติและที่มาของโดราเอมอน
การ์ตูนโดราเอมอน ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 หลังฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ที่จะมาแทนการ์ตูนเจ้าชายจอมเปิ่น[16] แต่ในความจริงแล้วทั้ง 2 ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับเขาเป็นอย่างมาก
ฮิโรชิ ฟูจิโมโตะ นักวาดการ์ตูนได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเอง เขามักจะเล่นกับแมวตัวนี้เป็นประจำเมื่อตอนที่เขาคิดอะไรไม่ออก จนเวลาล่วงเลยถึงดึก ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่จึงจะล้มเลิกไป แต่เขาเกิดคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีนเพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไปจึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่บนพื้น[16] เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตาญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ได้เรื่องและตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ (ญี่ปุ่น: どら猫; แมวพเนจร)" กับ "เอมอน (ญี่ปุ่น: 衛門; คำต่อท้ายชื่อผู้ชายในอดีต)" ในภาษาญี่ปุ่น[17][18] เขียนโดยใช้อักษรสองระบบได้แก่คาตากานะ "ドラ" และ ฮิรางานะ "えもん" เพราะว่าเมื่อครั้งโดราเอมอนถูกสร้างขึ้นในโรงงาน เขาลืมวิธีการเขียนอักษรคาตากานะของคำว่า "エモン" ทำให้โดราเอมอนเขียนเป็นตัวอักษรฮิรางานะแทน[19] โดยเริ่มตีพิมพ์ในนิตยสารโยะอิโกะ นิตยสารโยชิเอ็งและนิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1-4 (เดือนมกราคม พ.ศ. 2513)[16]
การ์ตูนโดราเอมอน ลงตีพิมพ์พร้อมกันใน นิตยสาร 6 ฉบับได้แก่ นิตยสารโยะอิโกะ, นิตยสารโยชิเอ็ง, นิตยสารโชงากูอิชิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1), นิตยสารโชงะกุนิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 2), นิตยสารโชงะกุซังเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 3) และนิตยสารโชงะกุโยเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4) โดยมีทั้งหมด 1,344 ตอน[20] โดยมีการเขียนให้เหมาะกับผู้อ่านแต่ละระดับอายุ ซึ่งในเวลาต่อมาการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก[16]
และในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับ รางวัลเทซูกะ โอซามุ (ครั้งที่ 1) ให้เป็นการ์ตูนดีเด่น[16][20]
รายชื่อตัวละคร
ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอนเป็นเรื่องราวของกลุ่มเพื่อนในวัยเด็ก 4 คนและมีหุ่นยนต์แมวจากอนาคตเป็นตัวละครหลัก ดังนี้:
- โดราเอมอน (Doraemon)
โดราเอมอนหรือโดเรมอน เป็นหุ่นยนต์แมวจากโลกอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมาดูแลโนบิตะ โดเรมอนกลัวหนูมากเพราะเคยโดนหนูกัดหูจนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิเนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะ โดเรมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดเรมอนจึงชอบเป็นพิเศษและเขาจะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า "แรคคูน" หรือ "ทานูกิ"
- โนบิตะ (Nobita)
เด็กชายไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียนและกีฬา มีนิสัยขี้เกียจและชอบนอนกลางวัน สอบก็ได้ 0 คะแนนทุกครั้งแต่ก็มีความสามารถด้านยิงปืนและพันด้าย เป็นคนมีน้ำใจและมีนิสัยดี ชอบชิซูกะมานานและมักถูกไจแอนท์กับซูเนโอะรังแกเป็นประจำแต่ก็เปลี่ยนเป็นคนละคนเมื่อโดเรมอนไม่ได้อยู่กับเขาแล้ว เขาจะมีอารมณ์ไม่พอใจเมื่อเดคิสุงิอยู่ใกล้กับชิซูกะเพราะคิดว่าชิซูกะแอบชอบเดคิสุงิแต่ถึงอย่างไรก็ตามในอนาคตก็ได้แต่งงานกับโนบิตะอยู่ดีแต่ถ้าเรื่องของวิเศษโนบิตะจะปิ้งไอเดียอะไรพิเรนพิเรนหรืออะไรที่มีประโยชน์นั้นก็แล้วแต่ที่โนบิตะคิดได้
- ชิซูกะ (Shizuka)
เด็กสาวน้ำใจดี เธอเป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมากและชอบเล่นไวโอลิน (เล่นได้แย่มาก)รังแกอ่อนแอโนบิตะไม่ได้พี่สาวคุณน้ามินา
หรือ ปีน่าโกะแต่มีความสามารถด้านเปียโนเธอเป็นเด็กสาวที่โนบิตะแอบชอบและชิซูกะยังชอบกินสปาเก็ตตี้และมันเผาเป็นพิเศษ ในอนาคตเธอก็ได้แต่งงานกับโนบิตะ
- ซึเนโอะ (Suneo)
เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดีและเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัย
อย่าอวดเก่งซึเนโอะ ทิ้งกล้องอยู่ไว้ มันมั่วซึเนโกะ
ชอบคุยโม้ ชอบพูดยกยอ ขี้ประจบและชอบเอาของมาอวดให้เพื่อนๆ อิจฉาแต่ก็มักโดนไจแอนท์แย่งไปตลอดแต่ก็พร้อมที่จะเจออันตรายกับพวกเพื่อนๆ ได้ในตอนที่เป็นภาพยนตร์ มักจะวางแผนกับไจแอนท์เพื่อแกล้งโนบิตะ
- ไจแอนท์ (Jaian)
เด็กอ้วนหัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำแต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ (อยากขอร้องให้ช่วย) ฝันอยากจะเป็นนักร้องแต่เสียงไม่เอาไหนแต่บางครั้งเสียงไม่เอาไหนของเขาก็ช่วยทำให้สถานการณ์ที่คับขันให้คลี่คลายได้เพราะคงไม่มีใครคนไหนที่สามารถทนเสียงของเขาได้และเขาเป็นคนที่รักเพื่อนพ้องมากและยังชอบแย่งหนังสือการ์ตูนกับของที่ซึเนโอะเอามาอวดเป็นประจำแถมยังทำอาหารได้ห่วยอีกตั่งหาก
- โดรามี (Dorami)
หุ่นยนต์แมวจากอนาคต เธอเป็นน้องสาวของโดเรมอน สวยน่ารักแต่ประสิทธิภาพสูงกว่าโดเรมอนทุกด้านเช่น ความรู้ วิธีใช้ของวิเศษ อาศัยอยู่ที่โลกศตวรรษที่ 22 ของกินที่ชอบที่สุดคือขนมปังเมล่อน ไม่ค่อยปรากฏตัวให้พบเห็น เธอจะปรากฏตัวเมื่อโดเรมอนเรียกขอความช่วยเหลือหรือสถานการณ์ที่โดเรมอนไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็มาช่วยเหลือโนบิตะตอนที่โดเรมอนไม่อยู่ พี่สาวโดรามี
- ไจโกะ (Jaiko)
ไจโกะเป็นน้องสาวของไจแอนท์ ไจโกะเก่งเรื่องวาดรูปมากแถมเธอยังทำอาหารเก่งกว่าไจแอนท์อีกด้วย และเธอยังเกือบจะได้เป็นเจ้าสาวของโนบิตะแต่โดเรม่อนก็แก้ไขให้โนบิตะได้แต่งงานกับชิซูกะในที่สุดเรียกว่าพี่สาวไจมินา ห้ามแกล้งโนบิตะ
สื่อโดราเอมอน
ฉบับมังงะ
ฉบับการ์ตูนทีวี (อนิเมะ)
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีเป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดสัญชาติญี่ปุ่น (อนิเมะ) โดยสร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มในปี พ.ศ. 2516 โดยนิปปอนเทเลวิชั่น และต่อมาปี พ.ศ. 2522 สถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮิ นำมาออกอากาศต่อ สำหรับในประเทศไทย เริ่มออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 ทาง ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. จากนั้นก็ได้มีการนำมาออกอากาศเป็นระยะ ๆ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
ฉบับภาพยนตร์ และโดราเอมอนตอนพิเศษ
โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เป็นอนิเมะ ตอนพิเศษ ซึ่งมีการจัดทำขึ้นเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และหนังสือการ์ตูน โดยเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2523 เป็นปีแรกที่มีการสร้างฉบับภาพยนตร์ชื่อตอนว่า "ตะลุยแดนไดโนเสาร์"[21] และมีการสร้างตอนพิเศษเรื่อยมาทุกปี[22] ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2548 เป็นปีครบรอบ 25 ปีของการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ออกมาเป็นตอนพิเศษอีกด้วย โดยมีวีซีดีออกมาครบแล้ว 30 แผ่น 30 ตอน และมีการนำตอนเก่ามาสร้างใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา และยังมีตอนที่ไม่ได้มาจากหนังสือการ์ตูน เรียงตามการออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่น
ลำดับ | ชื่อเรื่องภาษาไทย | ปีที่ออกฉาย | ฉากสำคัญของเรื่อง / หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ออริจินอลซีรีส์ | |||
1 | ผจญภัยไดโนเสาร์ | ค.ศ. 1980 | ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส |
2 | โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ | ค.ศ. 1981 | ใต้เสื่อของห้องโนบิตะเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างมิติ |
3 | ตะลุยแดนมหัศจรรย์ | ค.ศ. 1982 | อาณาจักรสุนัขในดินแดนลึกลับแอฟริกากลาง |
4 | ผจญภัยใต้สมุทร | ค.ศ. 1983 | ผจญภัยใต้มหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า |
5 | ท่องแดนเวทมนตร์ | ค.ศ. 1984 | โลกเวทมนตร์ที่เกิดจากของวิเศษ |
6 | สงครามอวกาศ | ค.ศ. 1985 | การผจญภัยในอวกาศเพื่อช่วยประธานาธิบดีวัยเยาว์ |
7 | สงครามหุ่นเหล็ก | ค.ศ. 1986 | การผจญภัยกับหุ่นยนต์ยักษ์ในโลกกระจก |
8 | เผชิญอัศวินไดโนเสาร์ | ค.ศ. 1987 | โลกใต้พิภพที่ไดโนเสาร์ที่พัฒนาแล้วอาศัยอยู่ |
9 | ท่องแดนเทพนิยายไซอิ๋ว | ค.ศ. 1988 | ภาพยนตร์ชุดนี้ไม่ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูน ใช้โครงเรื่องที่ผู้เขียนวางไว้ |
10 | ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ | ค.ศ. 1989 | ประเทศญี่ปุ่นที่มนุษย์โบราณชาวจีนอาศัยอยู่เมื่อ 7 หมื่นปีก่อน[16] |
11 | ตะลุยดาวต่างมิติ | ค.ศ. 1990 | ดาวสัตว์ที่เชื่อมต่อกับโลกด้วยหมอกสีชมพู |
12 | ตะลุยแดนอาหรับราตรี | ค.ศ. 1991 | การผจญภัยในดินแดนอาหรับราตรี |
13 | บุกอาณาจักรเมฆ | ค.ศ. 1992 | โลกของมนุษย์และสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วบนก้อนเมฆ |
14 | ฝ่าแดนเขาวงกต | ค.ศ. 1993 | โลกที่หุ่นยนต์ควบคุมมนุษย์ |
15 | สามอัศวินในจินตนาการ | ค.ศ. 1994 | การผจญภัยในโลกของความฝัน |
16 | บันทึกการสร้างโลก | ค.ศ. 1995 | มนุษย์แมลงที่กำเนิดขึ้นในโลกของโนบิตะที่สร้างจากชุดสร้างโลก |
17 | ผจญภัยสายกาแล็คซี่ | ค.ศ. 1996 | การเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ในอวกาศด้วยรถไฟอวกาศปริศนา |
18 | ตะลุยเมืองตุ๊กตาไขลาน | ค.ศ. 1997 | เมืองของเล่นมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นบนดาวเคราะห์น้อย |
19 | ผจญภัยเกาะมหาสมบัติ | ค.ศ. 1998 | ผจญภัยหาสมบัติในหมู่เกาะทะเลใต้ยุคศตวรรษที่ 17[16] |
20 | ตะลุยอวกาศ | ค.ศ. 1999 | การตะลุยอวกาศเพื่อตามหาไจแอนท์และซูเนโอะกลับโลก[16] |
21 | ตำนานสุริยกษัตริย์ | ค.ศ. 2000 | ดินแดนยุคอารยธรรมมายา |
22 | อัศวินแดนวิหค | ค.ศ. 2001 | การผจญภัยในดินแดนวิหค เบิร์ดโธเปีย |
23 | โนบิตะ ตะลุยอาณาจักรหุ่นยนต์ | ค.ศ. 2002 | การช่วยเหลือหุ่นยนต์จากต่างดาว |
24 | โนบิตะ มหัศจรรย์ดินแดนแห่งสายลม | ค.ศ. 2003 | ไข่ลูกพายุไต้ฝุ่นและดินแดนแห่งสายลม |
25 | โนบิตะ ท่องอาณาจักรโฮ่งเหมียว | ค.ศ. 2004 | ดินแดนแห่งหมาและแมวที่โนบิตะได้พัฒนาพวกเขาขึ้นมา |
นิวเจเนอเรชัน | |||
26 | ไดโนเสาร์ของโนบิตะ | ค.ศ. 2006 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ผจญภัยไดโนเสาร์ |
27 | โนบิตะ ตะลุยแดนปีศาจกับ 7 ผู้วิเศษ | ค.ศ. 2007 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ท่องแดนเวทมนตร์ |
28 | โนบิตะกับตำนานยักษ์พฤกษา | ค.ศ. 2008 | โลกแห่งต้นไม้และป่าไม้ |
29 | โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ | ค.ศ. 2009 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ |
30 | สงครามเงือกใต้สมุทร | ค.ศ. 2010 | การผจญภัยในโลกใต้ทะเล |
31 | โนบิตะผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก | ค.ศ. 2011 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง สงครามหุ่นเหล็ก |
32 | โนบิตะผจญภัยในเกาะมหัศจรรย์ | ค.ศ. 2012 | เกาะที่มีสัตว์หายากและสัตว์สูญพันธุ์อาศัยบนเกาะ |
33 | โนบิตะล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษ | ค.ศ. 2013 | พิพิธภัณฑ์ของวิเศษในโลกอนาคต |
34 | โนบิตะบุกดินแดนมหัศจรรย์ เปโกะกับห้าสหายนักสำรวจ | ค.ศ. 2014 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ตะลุยแดนมหัศจรรย์ |
SPECIAL | สแตนด์บายมี โดราเอมอน เพื่อนกันตลอดไป | ภาพยนตร์แอนิเมชันคอมพิวเตอร์ในรูปแบบสามมิติครั้งแรกของโดราเอมอน | |
35 | โนบิตะผู้กล้าแห่งอวกาศ | ค.ศ. 2015 | หลงเข้าไปในอวกาศของจริงจากการเล่นเป็นฮีโร่อวกาศ |
36 | โนบิตะกำเนิดประเทศญี่ปุ่น | ค.ศ. 2016 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ |
37 | คาชิ-โคชิ การผจญภัยขั้วโลกใต้ของโนบิตะ | ค.ศ. 2017 | การผจญภัยในดินแดนน้ำแข็งขั้วโลกใต้ |
38 | เกาะมหาสมบัติของโนบิตะ | ค.ศ. 2018 | พบกับเกาะสมบัติจากแผนที่โดยบังเอิญ และ ดัดแปลงจากนวนิยายของโรเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน เรื่อง เกาะมหาสมบัติ |
39 | โนบิตะสำรวจดินแดนจันทรา | ค.ศ. 2019 | การสำรวจของโนบิตะและผองเพื่อนนำไปสู่การผจญภัยบนดินแดนแห่งดวงจันทร์ |
40 | ไดโนเสาร์ตัวใหม่ของโนบิตะ | ค.ศ. 2020 | เรื่องราวครั้งใหม่ของโนบิตะ เมื่อโนบิตะได้พบกับ "คิว" และ "มิว" ลูกไดโนเสาร์โดยบังเอิญ |
SPECIAL | สแตนด์บายมี โดราเอมอน เพื่อนกันตลอดไป 2 | การกลับมาอีกครั้งของภาคต่อภาพยนตร์แอนิเมชันคอมพิวเตอร์ในรูปแบบสามมิติของโดราเอมอน | |
41 | สงครามอวกาศ (2021) | ค.ศ. 2022 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง สงครามอวกาศ |
42 | ฟากฟ้าแห่งยูโทเปียของโนบิตะ | ค.ศ. 2023 | การออกผจญภัยครั้งใหญ่บนน่านฟ้าของโนบิตะและผองเพื่อนสู่การค้นพบดินแดนแห่งอุดมคติบนท้องฟ้า |
43 | โนบิตะกับโลกแห่งดนตรี (ชื่อไทยอย่างไม่เป็นทางการ) | ค.ศ. 2024 | หากเมื่อเสียงเพลงและดนตรีต้องหายไปจากโลก โนบิตะและผองเพื่อนต้องร่วมกันปกป้องอันตรายจากโลกที่ไร้ซึ่งเสียงดนตรี |
นอกจากโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ที่มีการฉายทุกปีแล้ว ยังมีภาพยนตร์การ์ตูนตอนพิเศษดังนี้ รวมโดราเอมอน ตอนพิเศษ ของ โรส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอร์ปอเรชั่น ทั้ง 8 ชุด
|
|
เพลงประกอบ
ฉบับปี พ.ศ. 2516
1. โดราเอมอน (ドラえもん) ขับร้องโดย ฮารุมิ ไนโต และ คณะ NLT
ฉบับปี พ.ศ. 2522
1. โดราเอมอน โนะ อูตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย คูมิโกะ โอซูงิ (2 เมษายน 2522 - 2 ตุลาคม 2535)
2. โดราเอมอน โนะ อูตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย ซาโตโกะ ยามาโนะ (9 ตุลาคม 2535 - 20 กันยายน 2545)
3. โดราเอมอน โนะ อูตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย โตเกียวพูริน (4 ตุลาคม 2545 - 11 เมษายน 2546)
4. โดราเอมอน โนะ อูตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย มิซาโตะ วาตานาเบะ (18 เมษายน 2546 - 23 เมษายน 2547)
5. โดราเอมอน โนะ อูตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย อาจิ (AJI) (30 เมษายน 2547 - 18 มีนาคม 2548)
ฉบับปี พ.ศ. 2548
1. โดราเอมอน โนะ อูตะ (ドラえもんのうた) แบบดนตรีบรรเลง บรรเลงโดย ทเวลฟ์ เกิลส์ แบนด์ (15 เมษายน - 21 ตุลาคม 2548)
2. ฮากูชิจาโอ (はぐShichao) ขับร้องโดย อากิ โยโกะ (28 ตุลาคม 2548 - 20 เมษายน 2550)
3. ยูเมะ โอะ คานาเอเตะ โดราเอมอน (夢をかなえてドラえもん) ขับร้องโดย MAO (11 พฤษภาคม 2550 - 29 มีนาคม 2562, 12 เมษายน - 6 กันยายน 2562)
4. โดราเอมอน โนะ อูตะ (ドラえもんのうた) ขับร้องโดย โดราเอมอน (มิสึตะ วาซาบิ), โนบิตะ (เมงูมิ โอฮาระ), ชิซูกะ (ยูมิ คากาซุ), ซึเนโอะ (โทโมกาซุ เซกิ), ไจแอนท์ (ซูบารุ คิมูระ) (5 เมษายน 2562)
5. โดราเอมอน (ドラえもん) ขับร้องโดย โฮชิโนะ เก็น (5 ตุลาคม 2562 - ปัจจุบัน)
โดราเอมอนกับประเทศไทย
การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทย สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปี พ.ศ. 2524 โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า "โดราเอมอน แมวจอมยุ่ง" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์ ต่อมา สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ก็ได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกันแต่เลือกใช้ชื่อว่า "โดเรมอน" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่ายจากเดือนละเล่มในช่วงต้นก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่มจนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของ ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ ที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี
หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ได้เห็นความนิยมของโดราเอมอนจึงได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ลงเป็นตอนๆ ในแต่ละวันโดยเริ่มวันแรกวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการไม่ให้ชื่อซ้ำกับทาง 2 สำนักพิมพ์แรก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐจึงได้ตั้งชื่อใหม่อีกเป็น "โดรามอน เจ้าแมวจอมยุ่ง" ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทยเรียกชื่อ โดราเอมอน ต่างกันหลายชื่อ[ต้องการอ้างอิง]
สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือ สยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบันและใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่ แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า "โลกของโดรามอน" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจาก ประเทศฮ่องกง มาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์ เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ[23]
ในปี พ.ศ. 2525 ทาง ไชโยภาพยนตร์ ได้มีการฉาย โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ ขึ้นถึง 2 ตอนด้วยกันคือตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะและโนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ทาง ช่อง 9 ก็ได้มีการออกอากาศ โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ทางโทรทัศน์ เริ่มเมื่อวันที่ 5 กันยายน ในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2525)[24] ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน ทำให้ช่อง 9 ได้รับการยอมรับในเรื่องของการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และทีมนักพากย์การตูนอีกด้วย (นิตยสาร a day, 2545: 70) สำหรับในปัจจุบัน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มีการจัดฉายในโรงภาพยนตร์เป็นประจำทุกปีอีกครั้ง โดยบริษัทดับบลิวพีเอ็มฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มในปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา[25] ส่วนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีนั้นก็มีการฉายซ้ำเป็นระยะและฉายตอนใหม่อยู่เรื่อยๆ ทาง [[สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี|สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี[ต้องการอ้างอิง]]]
นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันดีถึงประเทศนี้แล้ว จนถึงกับมีการทำเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นไทย โดยฝีมือคนไทย ทางบริษัทไรท์บียอนด์ จำกัด ทำการ์ตูนไทยโดราเอมอน ชุด "นิทานของโนบิตะ" โดราเอมอนชอบโดรายากิ ส่วนโนบิตะชอบเรียน ชอบอ่านหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ มหาสนุก และนิทานสนุกสนาน ซึ่งออกจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีและดีวีดี
ทีมนักพากย์ไทย
สำหรับประเทศไทยทีมนักพากย์เสียงภาษาไทยก็เป็นชุดเดิมตั้งแต่การออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยเริ่มพากย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525[26] จนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีเปลี่ยนผู้พากย์บางคนบ้าง โดยมีทีมนักพากย์ตัวละครหลักดังนี้
- ฉันทนา ธาราจันทร์[27] ให้เสียงเป็น โดราเอมอน และแม่ของซูเนโอะ
- ศันสนีย์ สมานวรวงศ์[28] ให้เสียงเป็น โนบิตะ และแม่ของชิซูกะ
- กัลยาณี กรรสมบัติ >> ต่อมาเปลี่ยนเป็น ศรีอาภา เรือนนาค[29] (จนถึงปัจจุบัน) ให้เสียงเป็น ชิซูกะ และ เซวาชิ
- นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ (เฉพาะเดอะมูฟวี่) ธนกฤต เจนคลองธรรม[30] ให้เสียงเป็น ไจแอนท์
- อรุณี นันทิวาส[31] ให้เสียงเป็น ซูเนโอะ โดเรมี และแม่ของไจแอนท์
- เรวัติ ศิริสรรพ >> ต่อมาเปลี่ยนเป็น หฤษฎ์ ภูมิดิษฐ์ >> ไกวัล วัฒนไกร >> ต่อมาเปลี่ยนเป็น สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล ให้เสียงเป็น พ่อของโนบิตะ (โนบิ โนบิสุเกะ) และครู
- สุลัคษณา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ให้เสียงเป็น แม่ของโนบิตะ (โนบิ ทามาโกะ) และเดคิซุงิ
ของวิเศษ
ของวิเศษของโดราเอมอน เป็นอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่โดราเอมอน หยิบนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระเป๋า 4 มิติ ที่อยู่ที่หน้าท้องของโดราเอมอน ของวิเศษส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางอย่างก็จะเป็นการดัดแปลงจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง และยังมีของวิเศษบางชิ้นก็อ้างถึงความเชื่อทางศาสนาของประเทศญี่ปุ่น ของวิเศษในเรื่องโดราเอมอนนั้นมีประมาณ 4,500 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏออกมาให้เห็นเพียงตอนเดียว แต่ก็ยังมีของวิเศษบางชิ้นที่โดราเอมอนหยิบออกจากกระเป๋านำมาใช้บ่อยครั้ง
ศาตราจารย์ยาสึยูกิ โยโกยามะ แห่งมหาวิทยาลัยโทยามะ ได้ทำการวิจัยผลงานเรื่องโดราเอมอน และเปิดเผยว่าของวิเศษที่โดราเอมอนหยิบออกมาจากกระเป๋า 4 มิติ มีทั้งหมด 1,963 ชิ้น ในขณะที่เว็บไซต์ Doraemon Fanclub บันทึกจำนวนของวิเศษเอาไว้ทั้งหมด 1,812 ชิ้น
ความนิยมและส่วนเกี่ยวข้อง
โดราเอมอนเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแม้ว่าเรื่องนี้จะจบลงไปนานแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ โดยมีการพิมพ์ใหม่ หรือนำออกมาฉายซ้ำออกอากาศอยู่เรื่อยๆ[32]
เคยมีการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาว่าสาเหตุที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากนั้น เป็นเพราะตัวละครโนบิ โนบิตะ มีลักษณะเป็นคนอ่อนแอ ขี้แพ้ ทำอะไรก็มักไม่ค่อยสำเร็จ หากมีเรื่องที่ถนัดอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สังคมไม่ให้ความสำคัญหรือการยกย่อง เช่น เล่นพันด้าย หรือ ยิงปืนแม่น และเนื่องจากลักษณะนี้เองทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความรู้สึก "มีส่วนร่วม" และเปิดใจให้ตัวละครอย่างโนบิตะเข้ามาในจิตใจได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ล้วนรู้สึกว่าตนเองคือผู้แพ้ คือผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก ไร้ความสามารถ หน้าตาไม่ดี ไม่มีความสามารถ และย่อมอยากและหวังว่าสักวันหนึ่งจะมีผู้มาช่วยเหลือเรื่องต่างๆ ให้แก่เรา ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือ โดราเอมอนนั่นเอง[33]
โดราเอมอนนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่อย่างหนึ่งก็ได้ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โดราเอมอนมักออกมาช่วยเหลือ ปกป้อง แก้ปัญหาให้โนบิตะ ในยามคับขันหรือเดือดร้อนเสมอๆ เป็นบทบาทของ "แม่ผู้ใจดี" ซึ่งก็คือสิ่งที่มนุษย์เราต้องการอยู่ลึกๆ และในบางตอนโดราเอมอนก็แสดงบท "แม่ใจร้าย" คือการแก้เผ็ดหรือปล่อยให้โนบิตะผจญกับความยากลำบากที่มักเป็นผู้ก่อขึ้นเองจากความรู้สึกในด้านชั่วร้าย เช่น การอิจฉาริษยาผู้อื่น การเกลียดชังผู้อื่น การโกหก เพื่อเป็นการสั่งสอนโนบิตะให้รู้จักความผิดชอบชั่วดี[33]
นอกจากนี้ โดราเอมอนยังมีอิทธิพลทางวัฒนธรรม ดังนี้
- หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้มากกว่า 75,000,000 เล่ม[34]
- ประเทศแรกที่ฉายโดราเอมอนต่อจากญี่ปุ่น คือฮ่องกง ใน พ.ศ. 2524[35]
- หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีหลายภาษาด้วยกัน ไม่ต่ำกว่า 9 ภาษาทั่วโลก ตีพิมพ์ในประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศสเปน ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม เป็นต้น
- ประเทศเวียดนาม นิยมการ์ตูนโดราเอมอนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาโดราเอมอน เริ่มตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2536 แบบไม่ถูกลิขสิทธิ์ และใน พ.ศ. 2541 จึงมีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ ก็ยังได้รับความนิยมเสมอมา
- พ.ศ. 2525 หนึ่งในผู้ให้กำเนิดโดราเอมอน ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ ได้เดินทางมาประชาสัมพันธ์โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ให้กับทางไชโยภาพยนตร์ และออกรายการ "อาทิตย์ยิ้ม" ของดำรง พุฒตาล ทางช่อง 9
- พ.ศ. 2531 โดราเอมอนได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบอลลูนขนาดยักษ์ชื่อ "โดราบารูคุง" โดยปล่อยให้ลอยอยู่บนท้องฟ้ามาเป็นเวลานาน 12 ปี และจากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ก็ได้มีการสร้างบอลลูนลูกใหม่ขึ้นมาในชื่อว่า "โดราเน็ตสึคิคิว นิโกคิ"[36]
- พ.ศ. 2535 ในการประกวดแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ได้มีการผลิตรถพลังแสงอาทิตย์ตามตัวละครโดราเอมอนขึ้นมา เรียกว่า "โซราเอมอน"[37]
- พ.ศ. 2540 ในวันที่ 2 พฤษภาคม สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานข่าวการวางจำหน่ายแสตมป์โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่น มีสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงิน โดยมีการต่อแถวรอซื้อตั้งแต่เช้า[38]
- ในประเทศญี่ปุ่น มีรถไฟโดราเอมอนอยู่ด้วย โดยเป็นเส้นทางจากอาโอโมริไปฮาโกดาเตะ ตัวโบกี้มีการตกแต่งด้วยตัวละครจากโดราเอมอนทั้งภายนอกและภายใน และมีตู้รถไฟโดยสารพิเศษสำหรับแฟนคลับโดราเอมอน โดยมีภาพยนตร์การ์ตูน ของที่ระลึกจัดจำหน่าย รวมไปถึงพนักงานต้อนรับสวมหัวโดราเอมอนซึ่งคอยบริการอยู่บนรถไฟ[39]
โดจินชิ
โดราเอมอนถูกนักวาดการ์ตูนคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ผู้แต่งแท้จริงเขียนซ้ำ หรือที่เรียกว่า โดจินชิ ออกมามากมาย โดจินชิที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดก็คือ ผลงานของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ยาซูเอะ ทาจิมะ[40] ซึ่งเป็นโดจินชิตอนจบของโดราเอมอน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากตอนจบของโดราเอมอนหลายๆ แบบที่ถูกเล่าลือตามเมลลูกโซ่มานาน[40][41] งานโดจินชิเล่มนี้ ได้ออกวางขายครั้งแรกในงานคอมมิกมาร์เก็ต ฤดูร้อน ปี พ.ศ. 2548 (ครั้งที่ 68) และครั้งต่อมาในฤดูหนาว (ครั้งที่ 69) ปีเดียวกัน[40] ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนหนังสือถึงกับขาดตลาด และถูกนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง
แต่เนื่องจากโดจินชิเล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมียอดจำหน่ายมากถึง 15,550 เล่ม นับตั้งแต่ที่เริ่มเปิดตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางสำนักพิมพ์โชงากูกัง ผู้ถือลิขสิทธิ์โดราเอมอนฉบับรวมเล่มเป็นอย่างมาก เพราะโดจินชิเล่มนี้ไม่ใช่ผลงานอย่างเป็นทางการของฟูจิโกะ ฟูจิโอะ อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตอนจบที่แท้จริงของโดราเอมอน ทำให้ทางสำนักพิมพ์ต้องออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เขียนว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และขอให้หยุดจำหน่ายโดจินชิเล่มนี้ในทันที รวมถึงการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตด้วย[41][42] ซึ่งยาซูเอะ ทาจิมะ ก็ได้ออกมากล่าวคำขอโทษและแก้ต่างว่าเธอเพียงแค่เขียนโดจินชิเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างอนิเมะฉบับจอเงิน (ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006) เท่านั้น จึงทำให้คดีความทั้งหมดยุติลง
ตอนจบของโดราเอมอน
การ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นการ์ตูนที่ไม่สมบูรณ์ (กล่าวคือไม่มีตอนจบ) เนื่องจากผู้เขียนได้เสียชีวิตไปก่อน[43] แต่ก็มีหลายกระแสที่ออกมาบอกว่าผู้แต่งได้วางโครงเรื่องไว้ในตอนจบ ซึ่งต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่นักอ่านชาวไทยรู้กันดีคือ โดราเอมอนและตัวละครเสริมอื่นๆ นั้นไม่มีจริง มีเพียงแค่โนบิ โนบิตะ เพียงคนเดียว ซึ่งโนบิตะในตอนจบนั้นที่จริงแล้วเป็นเด็กที่ไม่สบายใกล้เสียชีวิต อยู่ในโรงพยาบาล และเพื่อน ๆ ยืนอยู่ข้างเตียงของโนบิตะที่ใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งตอนจบนี้มีความสะเทือนใจอย่างมาก ผิดไปจากการ์ตูนหลาย ๆ เรื่องที่ผู้เขียนเคยแต่งมา ซึ่งส่วนใหญ่จะจบลงด้วยดีมาตลอด[44]
หนึ่งในรูปแบบของตอนจบคือ อยู่มาวันหนึ่ง โดราเอมอนก็เกิดแบตเตอรี่หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉย ๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดเรมี น้องสาวของโดราเอมอน โดเรมีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ไทม์แมชชีน นั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วโนบิตะจึงตัดสินใจตั้งใจเรียนจนเป็น นักวิทยาศาสตร์ระดับโลก โดยเอาเรื่องโดราเอมอนที่แบตหมดมาเป็นแรงผลักดันขยันทุนเทหารักษาให้โดราเอมอนกลับมา โดยเอาตัวโดราเอมอนไปซ่อนไม่ให้มีใครรู้เรื่องนอกจากตนเพียงคนเดียวเท่านั้น แล้วก็แต่งงานกับชิซูกะและสามารถซ่อมโดราเอมอนกับสร้างหูกับทำให้ร่างของโดราเอมอนเป็นตัวสีเหลืองก่อนถูกซื้อ กับเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป (โดยก่อนที่โนบิตะจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้เรียกชิซูกะมาดูโดราเอมอน) และเขาก็มีลูกชายชื่อโนบิซูเกะ และอยู่ด้วยกันอย่างมีสุข[44]
สำหรับความเป็นไปได้ของตอนจบรูปแบบนี้ได้ปรากฏขึ้นใน "โดเรมีกับการผจญภัยของโนบิซูเกะ" ซึ่งเรื่องราวกล่าวถึงช่วงโดราเอมอนที่ได้รับการซ่อมแซมจากโนบิตะ ผ่านทางการทักทายของซิซูกะและโดรามี หลังจากที่ทั้งสองไม่ได้เจอหน้ากันมาร่วม 10 ปี โดยบทสนทนานั้นได้มีการพูดถึงโดราเอมอนที่ซ่อมแซมโดยโนบิตะและกลับไปยังยุคของเซวาชิ และในฉากที่โนบิตะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์เครื่องติดตามตัวลงในตัวมินิโดราสีแดงซึ่งเป็นผลจากการซ่อมแซมโดราเอมอน ทำให้โนบิตะเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตตนเองในที่สุด
อย่างไรก็ดี โดราเอมอนตอนจบทุกแบบก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนเพียงพอว่าเป็นตอนจบที่แท้จริง และอันที่จริงแล้วโดราเอมอนนั้นเคยจบไปแล้วครั้งหนึ่งในตอนสุดท้ายของรวมเล่มฉบับที่ 6 ชื่อตอนว่า "ลาก่อนโดราเอมอน" แต่เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการจากทั้งแฟน ๆ และทางสำนักพิมพ์ ในที่สุด ฟูจิโกะ ฟูจิโอะ จึงได้กลับมาเขียนโดราเอมอนต่ออีกครั้ง[16]
แต่จากหลักฐานในตอนต่างๆ ของโดราเอมอนที่มีจุดเชื่อมโยงกันคือ เป็นเนื้อเรื่องที่โดราเอมอนอยู่กับโนบิตะในวัยประถมเท่านั้น เพราะโนบิตะในวัยมัธยม วัยแต่งงานมีลูกจนวัยชรา เคยโผล่มาในบางตอนนั้น ไม่มีโดราเอมอนอยู่ในเหตุการณ์ในวัยต่างๆของโนบิตะเลย สรุปคือโดเรเอมอนมาอยู่กับโนบิตะถึงตอนจบวัยประถมแล้วกลับอนาคตไป[ต้องการอ้างอิง]
หมายเหตุ
- ↑ หรือมักจะเรียกสั้น ๆ ว่า โดเรมอน
อ้างอิง
- ↑ "SHOGAKUKAN-SHUEISHA PRODUCTIONS GRANTS MERCHANDISE RIGHTS FOR BELOVED DORAEMON FRANCHISE TO VIZ MEDIA FOR AMERICAS REGION". Viz Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 22, 2019. สืบค้นเมื่อ มกราคม 22, 2019.
- ↑ Bang Ong (สิงหาคม 28, 2015). "10 Asian heroes we worshipped while growing up". Stuff. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 22, 2019. สืบค้นเมื่อ มกราคม 22, 2019.
- ↑ 3.0 3.1 เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่าโดราเอมอนออกอากาศฉายครั้งแรกเมื่อไร?, 9 MCOT on facebook, สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2560
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Doraemon". animated-divots.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-16. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ จำนวนตอนอมิเมะ
- ↑ 小学館 -Shogakukan-:ドラえもんの本
- ↑ Shogakukan Doraemon - room. ไขความลับของโดเรมอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2553. 184 หน้า. ISBN 978-616-04-0375-2
- ↑ ドラえもん学 - ドラえもんの全作品 (1,345編)[ลิงก์เสีย]
- ↑ 手塚治虫文化賞 - これまでの受賞の記録
- ↑ "TIMEasia.com: Asian Heroes - Doraemon". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-14. สืบค้นเมื่อ 2008-07-14.
- ↑ "โดราเอมอน" ลั่นพร้อมทำงานเพื่อชาติ[ลิงก์เสีย], ผู้จัดการออนไลน์, 19 มีนาคม พ.ศ. 2551, เรียกข้อมูลเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2551
- ↑ バンダイ - 『Myドラえもん』2009年9月3日(木)発売 เก็บถาวร 2009-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, bandai.co.jp
- ↑ "เกี่ยวกับโดราเอมอน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-10-10.
- ↑ "มีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-01-17.
- ↑ โรส มีเดียฯ รุกทำตลาดการ์ตูนปี 2008 อย่างเต็มกำลัง, Rose Media & Entertainment
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 16.7 16.8 Shogakukan Doraemon - room. ไขความลับของโดเรมอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2553. 184 หน้า. ISBN 978-616-04-0375-2
- ↑ "「のら猫」と「どら猫」の違いとは | 雑学ネタ帳". zatsuneta.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-10-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'Doraemon' fanatic boasts Ding Dong's 1,963 gadgets". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2004-04-03. สืบค้นเมื่อ 2021-10-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Why does 哆啦A梦 use an alphabet instead of an equivalent Chinese character?". Chinese Language Stack Exchange (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-10-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 20.0 20.1 การ์ตูนโดราเอมอน ลงตีพิมพ์พร้อมกันใน นิตยสาร[ลิงก์เสีย]
- ↑ DORAEMON THE MOVIE 25th_Film History_1st, dora-movie.com
- ↑ DORAEMON THE MOVIE 25th_Film History, dora-movie.com
- ↑ สมประสงค์ เจียมบุญสม, นิตยสาร a day ปีที่ 2 ฉบับที่ 18, กุมภาพันธ์ 2545, หน้า 62-76.
- ↑ รายการ กบนอกกะลา ตอน "เปิดตำนานโดราเอมอน", ทีวีบูรพา, 2554, สารคดี.
- ↑ เปิดใจ WPM เจ้าของลิขสิทธิ์โดราเอมอน ได้มาเพราะ กล้า รัก และตั้งใจ เก็บถาวร 2007-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์, 29 ต.ค. 2548, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ รายการ กบนอกกะลา ตอน เปิดตำนานโดราเอมอน.
- ↑ คุยกับ "โดราเอมอน" เก็บถาวร 2007-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ผู้จัดการออนไลน์, 12 ก.ย. 2546, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ นิตยสารทีวีแมกกาซีน ฉบับที่ 10, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2533, หน้า 125
- ↑ นิตยสารบิ๊กตูน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 65 ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539
- ↑ Cartoon Focus -- โดราเอม่อน (Doraemon), kartoon-discovery.com
- ↑ นิตยสารบิ๊กตูน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 60 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
- ↑ "10 อันดับคาแรคเตอร์ยอดนิยมของเด็กญี่ปุ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-11. สืบค้นเมื่อ 2013-05-18.
- ↑ 33.0 33.1 โดราเอมอน (Doraemon) เหตุที่ได้รับความนิยม Cartoon Focus.
- ↑ 藤子・F・不二雄 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, TSUTAYA DISCAS 宅配DVD/CDレンタル
- ↑ 1981 - Fujiko F Wiki
- ↑ ドラ熱気球2号機大空に発進!!, 小学館ファミリーネット
- ↑ Solar Car Race SUZUKA '92, spacelan.ne.jp, 31 ก.ค. 2535, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ Japanese can't get enough of Doraemon, CNN.com, 2 พ.ค. 2540, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ JR函館駅 ドラえもん列車 吉岡海底駅 เก็บถาวร 2009-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, whako.com
- ↑ 40.0 40.1 40.2 การ์ตูนโดราเอมอน ตอนจบ "โนบิตะนายทำการบ้านรึยัง!!" (ฉบับแปลไทย), พันทิป.คอม, 18 มี.ค. 2549, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ 41.0 41.1 「ドラえもん」パロディー本 「大ヒット」で困った事態 (ข่าวจาก J-CAST)
- ↑ "โชงะกุกังฟ้อง โดราเอมอนตอนจบละเมิดลิขสิทธิ์". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-06. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
- ↑ "โดราเอมอนกับตอนจบที่แท้จริง ในมุมมองของแฟนพันธุ์แท้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-03. สืบค้นเมื่อ 2009-09-18.
- ↑ 44.0 44.1 "โดราเอมอนมีตอนจบ!? คำถามที่ยังคาใจ (คอลัมน์บันเทิง นสพ.คม-ชัด-ลึก)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ 2013-08-04.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ของโดราเอมอนอย่างเป็นทางการ (ญี่ปุ่น)
- เว็บทางการโดราเอมอนฉบับทีวีของทีวีอาซาฮิ (ญี่ปุ่น)
- โดราเอมอนในดวงใจ เก็บถาวร 2007-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดราเอมอน โดยน้าชาติ ประชาชื่น น.ส.พ.ข่าวสด
- ไทยโดรา ข้อมูลโดราเอมอน รายชื่อของวิเศษ รวมชื่อตอนฉบับการ์ตูน รวมชื่อตอนแอนิเมชัน
- โดราเอมอน - นิตยสารผู้จัดการ
- http://modernine.mcot.net/cartoon/content_view.php?id=26&t=3 เก็บถาวร 2009-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Youtube - Love Doraemon