ข้ามไปเนื้อหา

เอสจีเอแอร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นกมินิ)
นกมินิ
IATA ICAO รหัสเรียก
5E SGN SIAM
ก่อตั้งพ.ศ. 2544
เลิกดำเนินงานพ.ศ. 2557
ท่าหลักท่าอากาศยานดอนเมือง
ขนาดฝูงบิน6
จุดหมาย5
บริษัทแม่สยาม เจนเนอรัล เอวิเอชั่น (Siam General Aviation Co., Ltd.)
สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ ประเทศไทย
บุคลากรหลักเจน ชาญณรงค์ (CEO)
เว็บไซต์www.nokmini.com

เอสจีเอแอร์ไลน์ (SGA Airlines ย่อมาจาก Siam General Aviation) เป็นสายการบินที่เดิมเปิดให้บริการในนาม นกมินิ โดยความร่วมมือกับนกแอร์ มีศูนย์กลางการบินอยู่ที่ ท่าอากาศยานดอนเมือง และ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ทั้งนี้ สายการบิน นกมินิ ยังเปิดบริการซ่อมอากาศยานขนาดเล็กของค่ายเซสน่า ด้วยที่ท่าอากาศยานดอนเมือง

สายการบิน นกมินิ (เอสจีเอแอร์ไลน์) เป็นสายการบินขนาดเล็กที่ให้บริการเชื่อมต่อและส่งผู้โดยสารเข้าสู่เมืองขนาดเล็ก ที่มีปริมาณผู้โดยสารไม่มาก หรือเรียกว่าเส้นทางการบินที่มีปริมาณความหนาแน่นผู้โดยสารต่ำ เมืองขนาดเล็กที่สวยงามเหล่านี้คือเมืองที่สายการบินขนาดใหญ่ไม่สามารถดำเนินการการบินได้ ด้วยเหตุผลของจำนวนผู้โดยสารหรือเหตุผลทางด้านเทคนิคการบิน อาทิ สนามบินมีขนาดเล็กเกินไป หรือไม่มีอุปกรณ์นำร่องสำหรับเครื่องบินขนาดใหญ่ สายการบิน นกมินิ จึงได้เข้ามาเพื่อให้บริการการบินแก่เมืองขนาดเล็กที่มีศักยภาพเหล่านี้ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกเหนือจากการเดินทางด้วยรถยนต์ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร

เอสจีเอถอนความร่วมมือกับนกแอร์เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2557 โดยนกแอร์นำเส้นทางบางส่วนของเอสจีเอไปดำเนินการเอง และเอสจีเอเคยอยู่ระหว่างการเจรจาขอซื้อกิจการโดยไทยแอร์เอเชีย[1][2] อย่างไรก็ตามในที่สุดเอสจีเอแอร์ไลน์ก็ได้ยุติการบินลง

บริษัท สยาม เจนเนอรัล เอวิเอชั่น จำกัด

[แก้]

บริษัท สยาม เจนเนอรัล เอวิเอชั่น จำกัด (Siam General Aviation Co., Ltd.) ผู้ประกอบการสายการบินในนาม "สายการบิน นกมินิ'" เดิมชื่อ บริษัท สยาม จีเอ จำกัด (Siam GA Co., Ltd.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 โดย เจน ชาญณรงค์ เพื่อให้บริการขนส่งทางอากาศ

พันธกิจ นกมินิมุ่งมั่นสร้างสายการบินระดับภูมิภาคภายใต้การเป็นพันธมิตรกับนกแอร์ ที่ให้บริการด้วยความเป็นมิตร ปลอดภัย เชื่อถือได้ สะดวก โดยเห็นความสำคัญของบุคลากร และปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

ความเป็นมาของบริษัท

[แก้]

กุมภาพันธ์ 2544 : จัดตั้งบริษัทขึ้นเพื่อให้บริการขนส่งทางอากาศ ด้วยคุณภาพระดับสากลด้วยเครื่องบินขนาดเล็ก

กุมภาพันธ์ 2545 : บริษัทได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

กรกฎาคม 2545 : บริษัทได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสายการบิน แบบไม่ประจำ จากกรมการขนส่งทางอากาศ (Airline Operation Certificate).

พฤษภาคม 2546 : บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานให้เป็นตัวแทนศูนย์ซ่อมอากาศยานของบริษัท เซสน่า แอร์คราฟท์ จำกัด ประจำประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (บริษัท เซสน่า แอร์คราฟท์ จำกัด สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตเครื่องบินที่จำนวนเครื่องบินมากที่สุดในโลก ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cessna.com)

สิงหาคม 2547 : บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2000

พฤศจิกายน 2547 : บริษัทเริ่มเปิดเส้นทางการบินกรุงเทพ-หัวหิน ด้วยเที่ยวบินประจำ

มีนาคม 2548 : บริษัทเริ่มให้บริการจองตั๋วแบบออนไลน์

มีนาคม 2549 : บริษัทได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสายการบิน แบบประจำ จากกรมการขนส่งทางอากาศ (Airline Operation Certificate)

ปีพุทธศักราช 2550 : บริษัทเริ่มเปิดเส้นทางการบินสู่เมืองขนาดเล็กในภาคเหนือ

  • กุมภาพันธ์ : เริ่มให้บริการบินเส้นทางบินเชียงใหม่-ปาย, เชียงใหม่-แพร่
  • มีนาคม : เริ่ม Code share และ Co-brand กับสายการบินนกแอร์
  • เมษายน : เริ่มให้บริการบินเส้นทางบินเชียงใหม่-เชียงราย
  • ตุลาคม : เริ่มให้บริการบินเส้นทางบินเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน

กันยายน 2551 : บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 200 ล้านบาท

ธันวาคม 2552 : เริ่มให้บริการบินเส้นทางบินเชียงใหม่-น่าน

ปีพุทธศักราช 2553 :

  • มกราคม : เริ่มให้บริการบินเส้นทางบินเชียงใหม่-อุดรธานี โดยเครื่องบินประเภท SAAB 340
  • กุมภาพันธ์ : เริ่มให้บริการบินเส้นทางบินเชียงใหม่-ขอนแก่น
  • พฤศจิกายน : อัพเกรดใบรับรองมาตรฐานเป็น ISO 9001:2008

ปีพุทธศักราช 2554 :

  • กุมภาพันธ์ : ฉลองครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งบริษัทฯ
  • กุมภาพันธ์ : อัพเกรดประเภทของเครื่องบินเป็น SAAB 340B Plus [HS-GBC, HS-GBD]
  • มีนาคม : เริ่มโครงการเช่าเหมาลำโดยสายการบินนกแอร์
  • ตุลาคม : บริษัทฯ ได้เพิ่มเครื่องบินลำที่ 3 เข้าสู่ฝูงบิน [HS-GBE]

ปีพุทธศักราช 2555 :

  • พฤษภาคม : บริษัทฯ ได้เพิ่มเครื่องบินลำที่ 4 เข้าสู่ฝูงบิน [HS-GBF]
  • ตุลาคม : บริษัทฯ ได้เพิ่มเครื่องบินลำที่ 5 เข้าสู่ฝูงบิน [HS-GBG]

ปีพุทธศักราช 2556 :

  • เมษายน : บริษัทฯ ได้เพิ่มเครื่องบินลำที่ 6 เข้าสู่ฝูงบิน [HS-GBH]
  • กันยายน : เริ่มให้บริการบินเส้นทางบินต่างประเทศ เส้นทางแรก แม่สอด-มะละแหม่ง (ประเทศพม่า)
  • ตุลาคม : เริ่มให้บริการบินเส้นทางบินต่างประเทศ แม่สอด-ย่างกุ้ง (ประเทศพม่า)

โลโก้ของสายการบิน

[แก้]

สายการบินนกมินิ ใช้สัญลักษณ์ตัวหนังสือสีเหลืองที่เหมือนกับการวาดด้วยพู่กัน เป็นคำว่า nok ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับ nok ของนกแอร์ และตัวหน้งสือสีเทาคำว่า mini เป็นรูปแบบตรงๆ ขนาดเล็กกว่าอยู่ข้างใต้

ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้โลโก้นี้ สายการบิน นกมินิ เคยใช้โลโก้ที่เป็น อักษรภาษาอังกฤษ SGA Airlines สีดำตัวใหญ่ และมีอักษร Nok Air's Alliance สีเหลืองแต่ตัวเล็กกว่าอยู่ข้างล่าง

เครื่องที่ใช้บิน

[แก้]

ก่อนปิดกิจการลง ได้ใช้เครื่องบินประเภท SAAB 340B plus (SF34) ความจุที่นั่งโดยสาร 34 ที่นั่ง จำนวน 6 ลำ (HS-GBC, HS-GBD, HS-GBE, HS-GBF, HS-GBG, HS-GBH)

อดีตเคยใช้เครื่องของ เซสน่า 208B คาราวาน จุผู้โดยสารได้เที่ยวละ 12 คน รวมนักบินเป็น 14 คน จำนวน 2 ลำ เครื่องบินเซสน่า 208B แกรนด์ คาราแวน เป็นเครื่องบินที่มีชื่อเสียงในการใช้บินเพื่อชมทิวทัศน์ทางอากาศ และใช้ในการเดินทางเข้าสู่เมืองเล็ก ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในต่างประเทศ ดังนั้นนกมินิจึงเลือกใช้เครื่องบินรุ่นนี้ในการให้บริการ และจากประวัติความปลอดภัยของอากาศยานดังกล่าวและเครื่องยนต์ของ แพรท แอนด์ วิทนีย์ จึงทำให้เซสน่าแกรนด์ คาราวาน เป็นอากาศยานที่เหมาะสมสำหรับภารกิจ การเดินทางเชื่อมต่อเมืองเล็กภายในประเทศด้วยรูปแบบการบินที่มีความสูงของเพดานบินไม่มาก และผู้โดยสารสามารถชมทิวทัศน์ที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยการเดินทางแบบอื่น

เส้นทางที่เคยให้บริการในอดีต

[แก้]

บริการพิเศษ

[แก้]
  • เปิดบริการเช่าเครื่องบิน เช่าบินไปยังทั่วประเทศไทย หรือ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทุกที่
  • วงเงินประกันอุบัติภัย 500 ล้านบาท [ต้องการอ้างอิง]

อุบัติการณ์

[แก้]
  • วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เครื่องบินซาบ 340บี ของนกมินิ/เอสจีเอแอร์ไลน์ ทะเบียน HS-GBG เที่ยวบินที่ DD8610 (ทำการบินแทนนกแอร์) เส้นทางเชียงใหม่ไปยังอุดรธานี เมื่อมาถึงท่าอากาศยานอุดรธานีเกิดลื่นไถลตกทางขับ (แท็กซี่เวย์) เนื่องจากระบบบังคับล้อมีปัญหา ทั้งนี้ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ และท่าอากาศยานยังคงเปิดทำการได้ตามปกติเนื่องจากไม่ได้มีการกีดขวางรันเวย์แต่อย่างใด[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kositchotethana, Boonsong (March 21, 2014). "Nok Air, SGA split, as TAA waits". Bangkok Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-26. สืบค้นเมื่อ June 16, 2014.
  2. "Nok Air to end Nok Mini cooperation with Siam General Aviation". ch-aviation. February 11, 2014. สืบค้นเมื่อ June 16, 2014.
  3. "เปิดสถิติ "นกแอร์" เกิดอุบัติเหตุภาคพื้นดิน 3 ครั้ง ในปีนี้". ไทยพีบีเอส. 6 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]