เวอร์จินแอตแลนติก
| |||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1984 (40 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 22 มิถุนายน ค.ศ. 1984 (40 ปี) | ||||||
AOC # | 534 (VAA) 2435 (VAI) | ||||||
ท่าหลัก | ลอนดอน-ฮีทโธร์ว แมนเชสเตอร์ | ||||||
สะสมไมล์ | ฟลายอิงคลับ | ||||||
พันธมิตรการบิน | สกายทีม | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 41 | ||||||
จุดหมาย | 32 | ||||||
บริษัทแม่ | บริษัท เวอร์จินแอตแลนติก จำกัด | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ครอว์ลีย์, ประเทศอังกฤษ | ||||||
บุคลากรหลัก | ริชาร์ด แบรนสัน (ผู้ก่อตั้ง) ชายย์ ไวส์ (ซีอีโอ) ปีเตอร์ นอร์ริส (ประธาน) | ||||||
รายได้ | 2,854.1 ล้านปอนด์ (2022) | ||||||
สินทรัพย์ | 3,439.7 ล้านปอนด์ (2022) | ||||||
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 564.8 ล้านปอนด์ (2022) | ||||||
พนักงาน | 6,532 คน (2022) | ||||||
เว็บไซต์ | www |
เวอร์จินแอตแลนติก (อังกฤษ: Virgin Atlantic) เป็นสายการบินสัญชาติอังกฤษ โดยมีฐานการบินในท่าอากาศยานฮีทโธร์วและท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ เวอร์จินแอตแลนติกทำการบินไปยังจุดหมายปลายทาง 31 แห่งในแอฟริกา เอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ เวอร์จินแอตแลนติกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1984 ในชื่อ บริติชแอตแลนติกแอร์เวย์ โดยเดิมแรนดอล์ฟ ฟิลด์สและอาลัน เฮลลารี ผู้ก่อตั้งสายการบิน มีแผนที่จะทำการบินในเส้นทางลอนดอน-หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นเวอร์จินแอตแลนติกแอร์เวย์ หลังจากฟิลด์สขายหุ้นส่วนทั้งหมดให้แก่ริชาร์ด แบรนสัน หลังจากเกิดข้อโต้แย้งในการบริหารสายการบิน[ต้องการอ้างอิง] สายการบินได้ดำเนินการเที่ยวบินแรกจากลอนดอนสู่นวร์กในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1984
กิจการองค์กร
[แก้]กรรมสิทธิ์บริษัท
[แก้]เวอร์จินกรุ๊ปได้ขายหุ้น 49% ให้กับสิงคโปร์แอร์ไลน์ในปี 1999 เป็นเงิน 600 ล้านปอนด์[1] ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ประกาศเสนอขายหุ้นเวอร์จินแอตแลนติก และยอมรับต่อสาธารณะว่าสัดส่วนการถือหุ้นในสายการบินนั้น "มีประสิทธิภาพต่ำ"[2]
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 มีรายงานว่าเวอร์จินแอตแลนติกได้มอบหมายให้ด็อยท์เชอบังค์ในการทบทวนแผนการเชิงกลยุทธ์สำหรับสายการบินภายหลังการร่วมมือกันระหว่างบริติชแอร์เวย์และอเมริกันแอร์ไลน์[3] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ได้มีการยืนยันว่าสมาชิกของพันธมิตรสกายทีม แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็มและเดลตาแอร์ไลน์ได้ให้โกลด์แมน แซคส์ เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางที่เป็นไปได้ร่วมกันสำหรับเวอร์จินแอตแลนติก และมีสายการบินเอทิฮัดและอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์กรุ๊ปที่มีรายงานความสนใจในข้อตกลงอีกด้วย[4] โดยวิลลี วอลช์ ซีอีโอของไอเอจีสนใจเฉพาะช่องบินที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์เท่านั้น[5]
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2012 เดลตาแอร์ไลน์ยืนยันการซื้อหุ้น 49% ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ในเวอร์จินแอตแลนติกในราคา 224 ล้านปอนด์ โดยมีแผนจะพัฒนากิจการร่วมค้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก การโอนย้ายการถือหุ้นนี้ได้รับการอนุมัติจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2013[6] และการซื้อเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 24 มิถุนายน
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 เวอร์จินกรุ๊ปตกลงที่จะขายหุ้น 31% ในสายการบินให้กับแอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม ในราคา 220 ล้านปอนด์ ด้วยอัตราการถือหุ้น 20%[7] ข้อตกลงดังกล่าวล้มเหลวในปลายปี 2019[8]
สำนักใหญ่
[แก้]สำนักงานใหญ่ของเวอร์จินแอตแลนติก หรือที่รู้จักในชื่อ เดอะวีแอชคิว ตั้งอยู่ในเขตธุรกิจในเมืองครอว์ลีย์ ประเทศอังกฤษ ใกล้กับท่าอากาศยานแกตวิก[9] ซึ่งก็เป็นที่ตั้งของเวอร์จินแอตแลนติกฮอลิเดย์อีกด้วย[10] บริษัทดำเนินงานสำนักงานและศูนย์รับเรื่องหลายแห่งทั่วสหราชอาณาจักร รวมถึงสำนักงานขนาดใหญ่ในเมืองสวอนซี เวลส์ ซึ่งเป็นฐานสำหรับการจอง การขาย การเคลมสัมภาระและการติดตาม การสนับสนุนทางเว็บไซต์ และแผนกลูกค้าสัมพันธ์
เวอร์จินแอตแลนติกมีสำนักงานระหว่างประเทศในแอตแลนตา บาร์เบโดส เกรทเทอร์เดลี โจฮันเนสเบิร์ก เลกอส และเซี่ยงไฮ้[ต้องการอ้างอิง]
จุดหมายปลายทาง
[แก้]เวอร์จินแอตแลนติกให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 32 แห่งในสหรัฐอเมริกา แคริบเบียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย
ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 เวอร์จินแอตแลนติกได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[11]
- แอโรเม็กซิโก
- แอร์ฟรานซ์ (คู่กิจการร่วมค้า)
- แอร์นิวซีแลนด์
- เดลตาแอร์ไลน์ (คู่กิจการร่วมค้า)
- อินดิโก[12]
- เคแอลเอ็ม (คู่กิจการร่วมค้า)
- โคเรียนแอร์[13]
- กลุ่มสายการบินลาตัม
- มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- เวอร์จินออสเตรเลีย
- เวสต์เจ็ต[14]
ข้อตกลงระหว่างสายการบิน
[แก้]ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 เวอร์จินแอตแลนติกได้ทำข้อตกลงกับสายการบินดังต่อไปนี้:[11]
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินปัจจุบัน
[แก้]ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 เวอร์จินแอตแลนติกมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[15][16][17]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ที่นั่ง | อ้างอิง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
F | C | Y | ทั้งหมด | |||||
แอร์บัส เอ330-300 | 10 | — | 31 | 48 | 185 | 264 | [18] | จะถูกปลดประจำการและทดแทนด้วยแอร์บัส เอ330-900[19] |
แอร์บัส เอ330-900 | 4 | 12 | 32 | 46 | 184 | 262 | [20] | เดิมสั่งซื้อ 14 ลำพร้อม 6 ตัวเลือก เปลี่ยน 2 ตัวเลือกเป็นคำสั่งซื้อในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2022 เริ่มส่งมอบในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2022 เพื่อทดแทนแอร์บัส เอ330-300[21] |
แอร์บัส เอ350-1000 | 10 | 4 | 44 | 56 | 235 | 335 | [22] | เดิมสั่งซื้อ 12 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016[23] สั่งซื้อเพิ่ม 2 ลำในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021, ส่งมอบในปี 2023 และ 2024. |
16 | 56 | 325 | 397 | [24] | ||||
โบอิง 787-9 | 17 | — | 31 | 35 | 198 | 264 | [25] | |
รวม | 41 | 16 |
เวอร์จินแอตแลนติกมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 7 ปี
ฝูงบินในอดีต
[แก้]เวอร์จินแอตแลนติกเคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
เครื่องบิน | รวม | เริ่มประจำการ | ปลดประจำการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
แอร์บัส เอ320-200 | 2 | 1995 | 2000 | หนึ่งลำเช่าสำหรับทำการบินเส้นทางลอนดอน-เอเธนส์ ; ทดแทนด้วยเอ321-200 ในปี 2000 |
4 | 2013 | 2015 | เช่าจากแอร์ลิงกัสสำหรับบริการลิตเติลเรด | |
แอร์บัส เอ321-200 | 1 | 2000 | 2001 | ชื่อ เฮเลนิกบิวตี เช่าสำหรับทำการบินเส้นทางลอนดอน-เอเธนส์เพื่อทดแทนเอ320-200 |
แอร์บัส เอ330-200 | 4 | 2018 | 2022 | ทั้งหมดโอนย้ายมาจากแอร์เบอร์ลิน นำออกจากการบริการในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 ช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19, ปลดประจำการในปี 2022. |
แอร์บัส เอ340-300 | 10 | 1993 | 2015 | |
แอร์บัส เอ340-600 | 20 | 2002 | 2020 | ลูกค้าเปิดตัว รวม G-VATL เครื่องบินต้นแบบลำที่สาม G-VNAP สวมลวดลาย "ขอบคุณ" ปลดประจำการก่อนแผนจากการระบาดทั่วของโควิด-19 |
โบอิง 747-100 | 1 | 1990 | 2000 | |
โบอิง 747-200บี | 14 | 1984 | 2005 | G-VIRG เป็นเครื่องบินลำแรกของเวอร์จินแอตแลนติก |
โบอิง 747-400 | 13 | 1994 | 2020 | ปลดประจำการก่อนแผนจากการระบาดทั่วของโควิด-19 |
โบอิง 767-300อีอาร์ | 1 | 1996 | 1997 | เช่าจากมาร์ตินแอร์ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "BBC News | BUSINESS | Branson sells 49% of Virgin Atlantic". news.bbc.co.uk.
- ↑ "SIA invites offers for its 49% stake in Virgin Atlantic - Channel NewsAsia". web.archive.org. 2011-09-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.
- ↑ "Sir Richard Branson begins strategic review of Virgin Atlantic". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2010-11-05.
- ↑ "Air France and Delta to target Virgin Atlantic". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2011-02-20.
- ↑ Max Kingsley-Jones (24 February 2011). "IAG 'very interested' in Virgin, but only for slots: Walsh". Flightglobal. Retrieved 1 August 2013.
- ↑ "Regulators Clear Virgin Atlantic/Delta Deal". Sky News. 20 June 2013. Retrieved 23 June 2013.
- ↑ "Air France-KLM is buying 31% of Virgin Atlantic". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-07-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.
- ↑ Powley, Tanya (2019-12-04). "Air France-KLM drops plan to buy third of Virgin Atlantic". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.
- ↑ "Book flights with Virgin Atlantic". www.virginatlantic.com.
- ↑ "Contact us". Virgin Holidays. 2020. Archived from the original on 20 August 2013. Retrieved 14 October 2020.
- ↑ 11.0 11.1 "Our partner airlines | Virgin Atlantic". flywith.virginatlantic.com.
- ↑ "Virgin Atlantic Launches New IndiGo Codeshare Agreement". Simple Flying. 1 September 2022.
- ↑ "Virgin Atlantic to Launch Codeshare with Korean Air". ARGS. 24 March 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-25. สืบค้นเมื่อ 24 March 2023.
- ↑ Finlay, Mark (19 November 2019). "WestJet Secures Virgin Atlantic Codeshare Agreement". Simple Flying. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
- ↑ "Virgin Atlantic Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-19.
- ↑ "Search the G-INFO aircraft register | Civil Aviation Authority". www.caa.co.uk.
- ↑ "Virgin Atlantic Fleet | Aircraft Seat Map And Layout | Virgin Atlantic". flywith.virginatlantic.com.
- ↑ "Meet our Airbus A330-300". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ "When Will Virgin Atlantic Get Its First Airbus A330neo?". Simple Flying. 4 May 2021.
- ↑ "Meet our Airbus A330neo". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 15 July 2022.
- ↑ Bailey, Joanna (2020-11-12). "Virgin Atlantic's New A330neo Fleet To Enter Service From 2022". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Meet our Airbus A350-1000". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ Mutzabaugh, Ben. "Virgin Atlantic buys Airbus A350 to be its 'future flagship'". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "All about The Booth. Our unique social space for leisure customers". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 3 September 2021.
- ↑ "Meet our Boeing 787-9". Virgin Atlantic. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.