ข้ามไปเนื้อหา

ยาระงับปวด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Analgesic)

ยาระงับปวด[1] ยาบรรเทาปวด หรือ ยาแก้ปวด (อังกฤษ: analgesic หรือ painkiller) เป็นยาใด ๆ ในกลุ่มยาที่ใช้ระงับความเจ็บปวด มีผลหลายทางทั้งระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ประกอบด้วย

  1. พาราเซตามอล (acetaminophen)
  2. เอ็นเซด (nonsteroidal anti-inflammatory drug-NSAIDs) เช่น ซาลิไซเลต
  3. นาร์โคติก (narcotic drugs) เช่น มอร์ฟีน
  4. ยาสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติทำให้เสพติด เช่น ทรามาดอล (tramadol)

ยาที่ไม่จัดว่าเป็นยาระงับปวดแต่ใช้รักษาอาการเจ็บทางประสาทได้แก่

  1. ไตรไซคลิก แอนตี้ดีเพรสแซนต์ (tricyclic antidepressants)
  2. แอนตี้คอนวัลแซนต์ (anticonvulsant)

ขั้นตอนของการบรรเทาปวด

[แก้]

ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อปี ค.ศ. 1990 แนะนำว่าให้ใช้ยาบรรทาปวดอย่างอ่อนก่อน จนกระทั่งใช้ไม่ได้ผลแล้วจึงค่อยใช้ยาที่แรงขึ้นเป็นขั้นบันไดดังนี้

  1. ขั้นตอนแรกให้ใช้ พาราเซตามอล (500 มิลลิกรัม ถึง 1 กรัม ทุก 4-6 ชม.)
  2. ขั้นตอนที่สองให้ใช้ยาในขั้นตอนแรกร่วมกับ เอ็นเซด (เช่น ไอบูโปรเฟน) หรือโอปิออยด์อย่างอ่อน (เช่น โคดีอีน)
  3. ขั้นตอนที่สามให้ใช้ โอปิออยด์อย่างแรง (เช่น มอร์ฟีน, ออกซิโคโดน หรือ เฟนทานิล)

กลไกการออกฤทธิ์

[แก้]

พาราเซตามอล และ เอ็นเซด

[แก้]

กลไกการออกฤทธิ์ของ พาราเซตามอล ยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน แต่ของ แอสไพริน และ เอ็นเซด คือ มันจะไปยับยั้งการทำงานของไซโคลออกซิเจเนส (cyclooxygenase) ทำให้ร่างกายลดการผลิตโปรสตาแกลนดิน เป็นผลให้ลดความเจ็บปวดและการอักเสบ ซึ่งตรงข้ามกับ พาราเซตามอล และ โอปิออยด์

โอปิแอต และ มอร์ฟิโนมิเมติกส์

[แก้]

ทรามาดอล และ บูปรีนอร์ฟิน มีผลกระตุ้นบางส่วน ที่ โอปิออยด์ รีเซพเตอร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน สาขาแพทยศาสตร์ ปรับปรุง ๖ ส.ค. ๒๕๔๔
  • Cancer pain relief and palliative care. Report of a WHO expert committee [World Health Organization Technical Report Series, 804] . Geneva, Switzerland: World Health Organization; 1990. pp. 1-75.