ข้ามไปเนื้อหา

คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ESCAP)
คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก
ชื่อย่อESCAP
ก่อตั้ง28 มีนาคม 1947; 77 ปีก่อน (1947-03-28)
ประเภทเสาหลัก – ย่อยภูมิภาค
สถานะตามกฎหมายดำเนินการอยู่
สํานักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เลขานุการบริหาร
อินโดนีเซีย อาร์มิดา ซัลเซีย อาลีเชียบานา
องค์กรปกครอง
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
เว็บไซต์www.unescap.org

คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (อังกฤษ: Economic And Social Commission For Asia And The Pacific) หรือ แอสแคป (ESCAP) เป็นหนึ่งในห้าคณะกรรมการส่วนภูมิภาคของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อแรกก่อตั้ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งเอเซียและตะวันออกไกล (Economic Commission For Asia And The Far East, ECAFE)[1] ภารกิจ คือ การให้ความช่วยเหลือเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) ได้เปลี่ยนชื่อองค์กรเป็นคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอชียและแปซิฟิกดังในปัจจุบัน และเพื่อการพัฒนา คณะกรรมการฯ ได้ขยายการครอบคลุมไปยังประเทศในโอเชียเนีย คณะกรรมการฯ มีส่วนในการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank, ADB) และทางหลวงสายเอเชียหรือเครือข่ายทางหลวงแห่งเอเชีย (Asian Highway Network) ตลอดถึงคณะกรรมการพัฒนาแม่น้ำโขง (The Mekhong River Commission) เมื่อแรกตั้ง มีสำนักงานอยู่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐจีน ในปี พ.ศ. 2492 ได้ย้ายสำนักงานอยู่ ณ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ปัจจุบันเลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟิกคือ Armida Salsiah Alisjahbana ชาวอินโดนิเซีย ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา [1]

รายนามอดีตเลขาธิการคณะกรรมการฯ

[แก้]
  • นางสาว Shamshad Akhtar (ปากีสถาน) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 2014 – 2018)
  • นาง Noeleen Heyzer (สิงคโปร์) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 2007 – 2014)
  • นายคิม ฮัก ซู (เกาหลีใต้) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 2000 – 2007)
  • นาย Adrianus Mooy (อินโดนีเซีย) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1995 – 2000)
  • นาย Ahmed Rafeeuddin (ปากีสถาน) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1992 – 1994)
  • นาย SAMS Kibria (บังกลาเทศ) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1981 – 1992)
  • นาย JBP Maramis (อินโดนีเซีย) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1973 – 1981)
  • นาย U Nyun (พม่า) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1959 – 1973)
  • นาย Chakravarthi V. Narasimhan (อินเดีย) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1956 – 1959)
  • นาย PS Lokanathan (อินเดีย) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1947 – 1956)

อ้างอิง

[แก้]


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. ใช้คำเรียกตามเว็บไซต์หลักของโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ "ประวัติเขื่อนอุบลรัตน์". โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-08-16.