พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ
พระเจ้าเฮนรีที่ 3 | |
---|---|
พระมหากษัตริย์อังกฤษ | |
ครองราชย์ | 28 ตุลาคม ค.ศ. 1216 – 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 |
รัชสมัย | 56 ปี |
ราชาภิเษก | 28 ตุลาคม ค.ศ. 1216 ที่กลอสเตอร์ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1220 ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบี |
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ |
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ |
พระราชสมภพ | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 ปราสาทวินเชสเตอร์ แฮมเชอร์ อังกฤษ |
สวรรคต | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272
(65 ปี) พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน อังกฤษ |
พระมเหสี | พระนางเอลินอร์แห่งพรอว็องส์ |
พระราชบุตร | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ |
ราชวงศ์ | แพลนแทเจเนต |
พระราชบิดา | พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ |
พระราชมารดา | พระนางอิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม |
พระเจ้าเฮนรีที่ 3[1] แห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Henry III of England) (1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 – 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งอังกฤษและกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์แพลนแทเจอนิต ลอร์ดแห่งไอร์แลนด์และดยุกแห่งอากีแตนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1216 จนกระทั่งสวรรคตในปี ค.ศ. 1272[2] เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจอห์นและอิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม พระเจ้าเฮนรีที่ 3 สืบราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อพระชนมายุได้เพียง 9 พรรษาในช่วงกลางของสงครามขุนนางครั้งที่หนึ่ง พระคาร์ดินัลกัวลา บิคคิเอรี ประกาศว่าสงครามกับพวกบารอนกบฏเป็นสงครามครูเสดทางศาสนา และกองกำลังของพระเจ้าเฮนรีที่นำโดยวิลเลียม มาร์แชล เอิร์ลที่ 1 แห่งเพ็มบรุกเอาชนะพวกบารอนกบฏในลินคอล์นและแซนด์วิชในปี ค.ศ. 1217 พระเจ้าเฮนรีที่ 3 พระองค์สัญญาว่าจะปฏิบัติตามมหากฎบัตร (ค.ศ. 1225) ซึ่งเป็นฉบับต่อมาของมหากฎบัตร ซึ่งจำกัดอำนาจของราชวงศ์และปกป้องสิทธิของเหล่าบารอน การปกครองในช่วงต้นรัชสมัยของพระองค์ถูกครอบงำโดย Hubert de Burgh และจากนั้น Peter des Roches ผู้สถาปนาอำนาจของราชวงศ์ขึ้นใหม่หลังสงคราม ในปี ค.ศ. 1230 พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงพยายามพิชิตแคว้นต่าง ๆ ของฝรั่งเศส ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นของพระราชบิดาของพระองค์ แต่การรุกรานก็ประสบความล้มเหลว การจลาจลที่นำโดยริชาร์ด บุตรชายของวิลเลียม มาร์แชล เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1232 และจบลงด้วยข้อตกลงสันติภาพ
หลังจากการจลาจล พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงปกครองอังกฤษด้วยพระองค์เอง แทนที่จะปกครองผ่านเสนาบดีอาวุโส พระองค์เดินทางน้อยกว่ากษัตริย์องค์ก่อน ๆ แต่ลงทุนอย่างมากในวังและปราสาทที่พระองค์ชื่นชอบ พระองค์อภิเษกกับอะลิอูโนแห่งพรอว็องส์ ซึ่งพระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 5 พระองค์ พระเจ้าเฮนรีที่ 3 เป็นที่รู้จักในเรื่องความเคร่งศาสนาและการบริจาคเพื่อการกุศล ในความพยายามครั้งใหม่ที่จะยึดดินแดนของราชวงศ์ในฝรั่งเศสกลับคืนมา พระองค์บุกปัวตูในปี ค.ศ. 1242 ซึ่งนำไปสู่หายนะในยุทธการที่เตเลอบูร์ก หลังจากนี้ พระองค์อาศัยการทูตโดยสร้างพันธมิตรกับจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าเฮนรีสนับสนุนพระอนุชาของพระองค์คือริชาร์ดแห่งคอร์นวอลล์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมันในปี ค.ศ. 1256 แต่ไม่สามารถให้เอ็ดมันด์ เอิร์ลที่ 1 แห่งแลงคาสเตอร์ หรือเอ็ดมันด์ หลังกางเขน พระราชโอรสของพระองค์ประทับบนบัลลังก์แห่งซิซิลีได้ แม้จะลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก พระองค์วางแผนที่จะทำสงครามครูเสดกับพวกลีแวนต์ แต่ถูกขัดขวางไม่ให้ทำเช่นนั้นเนื่องจากการก่อกบฏในกัสกอญ
ชีวิตวัยเด็ก
[แก้]เฮนรีเสด็จพระราชสมภพที่ปราสาทวินเชสเตอร์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 เป็นพระโอรสคนโตในพระโอรสห้าคนของพระเจ้าจอห์นกับพระมเหสีคนที่สอง อิซาเบลลา เคานเตสแห่งอองกูแลมตามสิทธิ์ของตนเอง ลูกคนแรกของทั้งคู่ถูกตั้งชื่อตามพระบิดาของจอห์น พระเจ้าเฮนรีที่ 2 พี่น้องของเฮนรีทุกคนมีชีวิตรอดถึงวัยผู้ใหญ่ มีการแต่งงานที่ยอดเยี่ยม และทุกคนยกเว้นโจนมีลูก
พี่น้องของเฮนรี
- ริชาร์ด เอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์ (ปี ค.ศ. 1209 – 1272) แต่งงานกับ (1) อิซาเบล มาร์แชล มีทายาท (2) ซองเจียแห่งโพรว็องซ์ มีทายาท (3) เบียทริซแห่งฟาลเกินบวร์ก ไม่มีทายาท
- โจน (ปี ค.ศ. 1210 – 1238) แต่งงานกับอเล็กซานเดอร์ที่ 2 กษัตริย์ของชาวสกอต ไม่มีทายาท
- อิซาเบลลา (ปี ค.ศ. 1214 – 1241) แต่งงานกับเฟรเดอริกที่ 2 จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มีทายาท
- เอเลนอร์ (ปี ค.ศ. 1215 – 1275) แต่งงานกับ (1) วิลเลียม มาร์แชล เอิร์ลที่ 2 แห่งเพมโบรก (2) ซิมง เดอ มงต์ฟอร์ต์ เอิร์ลที่ 6 แห่งเลสเตอร์ มีทายาท
การราชาภิเษก
[แก้]พระเจ้าจอห์นสิ้นพระชนม์เมื่อ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1216 ทิ้งให้เฮนรี วัย 9 พรรษา สืบทอดบัลลังก์ท่ามกลางสงครามบารอนครั้งที่ 1 (ปี ค.ศ. 1215 – 17) ที่กลุ่มของบารอนกบฏที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพฝรั่งเศสทำสงครามกับพระเจ้าจอห์น เพราะพระองค์ปฏิเสธที่จะยอมรับและปฏิบัติตามแม็กนาคาร์ตา เพราะพื้นที่ขนาดใหญ่ของอังกฤษตะวันออกตกอยู่ภายใต้การควบคุมของบารอนกบฏกับชาวฝรั่งเศส จึงมีความคิดว่าเฮนรีควรได้รับการสวมมงกุฎโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับสิทธิ์ในราชบัลลังก์ของพระองค์ เฮนรีจึงได้รับการสวมมงกุฎเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1216 ที่มหาวิหารกลอสเตอร์ โดยมีรัดเกล้าที่เป็นของพระมารดาเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ราชาภิเษกที่เวสต์มินสเตอร์ในลอนดอน
วิลเลียม มาร์แชล เอิร์ลที่ 1 แห่งเพมโบรกที่เคยรับใช้กษัตริย์มาสามพระองค์ คือ เฮนรีที่ 2, ริชาร์ดที่ 1 และจอห์น ถูกประกาศชื่อเป็นผู้พิทักษ์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของราชอาณาจักร ทั้งที่อายุราว 70 ปี แต่มาร์แชลมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในสงครามกับชาวฝรั่งเศสและบารอนกบฏด้วยพลังงานที่น่าเหลือเชื่อ ในสมรภูมิลินคอล์น เขาประจำการและต่อสู้ในแนวหน้าของกองทัพของกษัตริย์น้อย นำพวกเขาไปสู่ชัยชนะ เขากำลังเตรียมที่จะปิดล้อมชาวฝรั่งเศสในลอนดอนในตอนที่สงครามจบลงด้วยชัยชนะทางทะเลที่สมรภูมิโดเวอร์และสมรภูมิแซนด์วิช หลังการตายของเขาในปี ค.ศ. 1219 ที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเฮนรีน้อย มาร์แชลได้รับการยกย่องว่าเป็น "อัศวินที่ดีที่สุดที่เคยมีชีวิตอยู่" โดยสตีเฟน แลงตัน อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์บรี
ในเดือนกรกฎาคมของปี ค.ศ. 1217 พระมารดาของเฮนรี อิซาเบลลาแห่งอองกูแลม ทิ้งพระองค์ไว้ในการดูแลของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน วิลเลียม มาร์แชล เอิร์ลที่ 1 แห่งเพมโบรก และกลับไปฝรั่งเศสเพื่ออ้างสิทธิ์ในการควบคุมมรดกของพระองค์ อองกูแลม ทรงทิ้งพระโอรสธิดาที่มีกับพระเจ้าจอห์น ในปี ค.ศ. 1220 ทรงแต่งงานกับยูกที่ 10 แห่งลูซินญ็อง เคานต์แห่งลา มาร์ช ที่พระองค์มีลูกด้วยเก้าคน การศึกษาของเฮนรีถูกมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของปีเตอร์ เดอ โรช บิชอปแห่งวินเชสเตอร์ และอูแบร์ต์ เดอ เบรอะ เอิร์ลที่ 1 แห่งเคนต์กลายเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินหลังการตายของวิลเลียม มาร์แชล เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1220 เฮนรีได้รับการสวมมงกุฎครั้งที่สองในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ด้วยพิธีราชาภิเษกแบบเต็มรูปแบบ เฮนรีถูกประกาศว่าบรรลุนิติภาวะในปี ค.ศ. 1223 โดยพระสันตะปาปา แต่พระองค์ไม่ได้ครองราชย์อย่างอิสระอย่างแท้จริงจนถึงปี ค.ศ. 1227 ตอนพระชนมายุ 20 พรรษา
การอภิเษกสมรส
[แก้]เมื่อวันที่ 14 มกราคา ค.ศ. 1236 ที่มหาวิหารแคนเทอร์บรี เฮนรีวัย 29 พรรษาอภิเษกสมรสกับเอเลนอร์แห่งโพรว็องซ์วัย 13 พรรษา ลูกสาวคนที่สองในลูกสาวสี่คนของรามอน เบเรนเกร์ที่ 4 เคานต์แห่งโพรว็องซ์กับเบียทริซแห่งซาวอย ลูกสาวทั้งสี่คนแต่งงานกับกษัตริย์และได้เป็นพระราชินี
เฮนรีกับเอเลนอร์มีพระโอรสธิดา 5 คน
- พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (ปี ค.ศ. 1239 – 1307) แต่งงานกับ (1) เอเลนอร์แห่งคาสตีล มีทายาท รวมถึงทายาทของพระองค์ เอ็ดเวิร์ดที่ 2 (2) มาร์กาเร็ตแห่งฝรั่งเศส มีทายาท
- มาร์กาเร็ต (ปี ค.ศ. 1240 – 1275) แต่งงานกับอเล็กซานเดอร์ที่ 3 กษัตริย์ของชาวสกอต มีทายาท
- เบียทริซ (ปี ค.ศ. 1242 – 1275) แต่งงานกับจอห์นที่ 2 ดยุคแห่งบริตทานี มีทายาท
- เอ็ดมุนด์หลังกางเขน เอิร์ลที่ 1 แห่งแลงคาสเตอร์ (ปี ค.ศ. 1245 – 1296) แต่งงานกับ (1) อีฟลิน เดอ ฟรอซ ไม่มีทายาท (2) บล็องช์แห่งอาร์ทัวส์ มีทายาท
- แคทเธอรีน (ปี ค.ศ. 1253 – 1257)
ญาติสายซาวอยทางฝั่งแม่ของเอเลนอร์หลายคนมาที่ราชสำนักอังกฤษรวมถึงปิเอโตรกับโบนิฟิซิโอ ปิเอโตรอาศัยอยู่ในอังกฤษเป็นเวลานาน รับใช้เป็นทูต และกลายเป็นเอิร์ลแห่งริชมอนด์ ในปี ค.ศ. 1263 เขากลายเป็นเคานต์แห่งซาวอย โบนิฟิซิโอกลายเป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์บรี ในปี ค.ศ. 1247 พี่น้องชายร่วมแม่ของเฮนรีจากการแต่งงานครั้งที่สองของพระมารดา พวกลูซินญ็อง มาที่อังกฤษและช่วงชิงดินแดนและการเลื่อนตำแหน่งกับพระญาติสายซาวอยของพระราชินี แลกกับการสูญเสียครั้งใหญ่ของบารอนอังกฤษ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1236 ถึง 1258 กษัตริย์ที่อ่อนแอไขว้เขวไปมาระหว่างที่ปรึกษาหลายคน รวมถึงพระอนุชาของพระองค์ ริชาร์ดแห่งคอร์นวอลล์ กับพี่น้องชายร่วมแม่ชาวลูซินญ็อง ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างใหญ่หลวงแก่บารอนอังกฤษ บวกกับบารอนอังกฤษไม่พอใจการเรียกร้องเงินทุนเพิ่มของเฮนรีที่ 3 วิธีการบริหารปกครอง และภาวะอดอยากที่แพร่กระจายเป็นวงกว้าง
สงครามบารอนครั้งที่สอง
[แก้]ความไม่พอใจของขุนนางอังกฤษที่มีต่อกษัตริย์สุดท้ายแล้วเป็นผลให้เกิดสงครามกลางเมือง สงครามบารอนครั้งที่สอง (ปี ค.ศ. 1264 – 1267) ผู้นำของกองทัพฝ่ายตรงข้ามของเฮนรีคือพระขนิษฐภรรดา (น้องเขย) ซิมง เดอ มงต์ฟอร์ต์ เอิร์ลที่ 6 แห่งเลสเตอร์ ที่แต่งงานกับพระขนิษบาของเฮนรี เอเลนอร์ เดอ มงต์ฟอร์ต์ต้องการตอกย้ำแม็กนาคาร์ตาและบีบกษัตริย์ให้ยอมมอบอำนาจให้สภาขุนนางมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 1264 ที่สมรภูมิลูอิส เฮนรีกับพระโอรส อนาคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 พ่ายแพ้และถูกจับกุม เฮนรีถูกบีบให้เรียกประชุมรัฐสภาและให้สัญญาว่าจะปกครองโดยรับฟังคำปรึกษาของสภาขุนนาง เฮนรีถูกลดบทบาทเป็นกษัตริย์หุ่นเชิด ส่วนเดอ มงต์ฟอร์ต์ขยับขยายเป็นตัวแทนรัฐสภาที่อยู่เหนือกลุ่มขุนนาง สมาชิกของแต่ละเคานตีของอังกฤษกับเมืองสำคัญๆ สิบห้าเดือนต่อมา เอ็ดเวิร์ดนำกลุ่มผู้จงรักภักดีของกษัตริย์เข้าสู่สมรภูมิอีกครั้ง ทรงปราบและสังหารเดอ มงต์ฟอร์ต์ที่สมรภูมิอีฟชามในปี ค.ศ. 1265 ท้ายที่สุดแล้วอำนาจถูกกอบกู้คืนให้พระเจ้าเฮนรีที่ 3 และการลงโทษที่รุนแรงถูกใช้กับบารอนกบฏ ในปี ค.ศ. 1266 การประนีประนอมระหว่างกษัตริย์กับบารอนเกิดขึ้นด้วยถ้อยแถลงแห่งเคนิลเวิร์ธ ในหลายปีหลังการเสียชีวิต หลุมศพของซิมง เดอ มงต์ฟอร์ต์มักได้รับการเยี่ยมเยียนจากนักแสวงบุญ ทุกวันนี้เดอ มงต์ฟอร์ต์ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในบิดาของการบริหารปกครองผ่านตัวแทน
การสวรรคต
[แก้]พระเจ้าเฮนรีเริ่มประชวรหนักขึ้นและอ่อนแอลงในช่วงปีท้ายๆ พระโอรสและทายาทของพระองค์ เอ็ดเวิร์ด กลายเป็นผู้ดูแลของอังกฤษและเริ่มมีบทบาทอำนาจมากขึ้นในการบริการปกครอง มรดกที่สำคัญที่สุดของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 คือเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ในปี ค.ศ. 1042 เอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพเริ่มสร้างแอบบีย์ของนักบุญปีเตอร์ขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างที่ฝังพระศพหลวงให้ตนเอง เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ยุคแรก การก่อสร้างโบสถ์ในยุคที่สองและเป็นโบสถ์ปัจจุบันเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1245 โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ที่เลือกให้เป็นที่ฝังพระศพของตนเอง ในปี ค.ศ. 1269 เฮนรีกำกับดูแลพิธีการใหญ่เพื่อฝังเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพใหม่ในแท่นบูชาใหม่ที่วิจิตรงดงาม ทรงให้ความช่วยเหลือเป็นการส่วนตัวในการแบกพระศพไปสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่
พระเจ้าเฮนรีที่ 3 สวรรคตด้วยพระชนมายุ 69 พรรษาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ด้วยการกำหนดของพระองค์เอง พระเจ้าเฮนรีที่3ถูกฝังในโลงพระศพเดิมของเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ สุดท้ายแล้วหลุมฝังศพที่ใหญ่กว่าเดิมถูกสร้างขึ้นมาให้เฮนรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1209 อัฐิของพระองค์ถูกย้ายไปตำแหน่งที่ตั้งในปัจจุบันในเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ในสุสานที่อยู่ตรงไปทางเหนือของแท่นบูชาของเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 245
- ↑ Carpenter 1990, p. 262
แหล่งข้อมูล
[แก้]http://www.unofficialroyalty.com/king-henry-iii-of-england/
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 เก็บถาวร 2008-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Aurell, Martin (2003). L'Empire des Plantagenêt, 1154–1224 (ภาษาฝรั่งเศส). Paris, France: Tempus. ISBN 978-2-262-02282-2.
- Baker, David; Baker, Evelyn; Hassall, Jane; Simco, Angela (1979). "Excavations in Bedford 1967–1977: The Excavations – Bedford Castle" (PDF). Bedfordshire Archaeological Journal. 13: 7–64.
- Beeler, John (1972). "Military Developments from Prehistoric Times to 1485". ใน Higham, Robin (บ.ก.). A Guide to the Sources of British Military History. London, UK: Routledge and Keegan Paul. pp. 43–64. ISBN 978-0-7100-7251-1.
- Bolton, Jim L. (2012). Money in the Medieval English Economy: 973–1489. Manchester, UK: Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-5040-4.
- Bradbury, Jim (1998). Philip Augustus, King of France 1180–1223. London, UK: Longman. ISBN 978-0-582-06058-6.
- Carpenter, D. A. (1990). The Minority of Henry III. Berkeley, US and Los Angeles, US: University of California Press. ISBN 978-0-520-07239-8.
- Carpenter, David (1996). The Reign of Henry III. London, UK: Hambledon Press. ISBN 1-85285-137-6.
- Carpenter, David (2004). The Struggle for Mastery: The Penguin History of Britain 1066–1284. London, UK: Penguin. ISBN 978-0-14-014824-4.
- Carpenter, David (2005). "The Meetings of Kings Henry III and Louis IX". ใน Prestwich, Michael; Britnell, Richard; Frame, Robin (บ.ก.). Thirteenth Century England: Proceedings of the Durham Conference, 2004. Vol. 10. Woodbridge, UK: Boydell Press. pp. 1–30. ISBN 978-1-84383-122-8.
- Carpenter, David (2020). Henry III. London, UK: Yale University Press. ISBN 978-0-3002-3835-8.
- Clanchy, M. T. (1998). England and its Rulers: 1066–1307 (3rd ed.). Oxford, UK: Blackwell Publishing. ISBN 978-1-4051-0649-8.
- Cole, Virginia A. (2002). "Ritual Charity and Royal Children in 13th Century England". ใน Rollo-Koster, Joëlle (บ.ก.). Medieval and Early Modern Ritual: Formalized Behavior in Europe, China and Japan. Leiden, the Netherlands: BRILL. pp. 221–241. ISBN 978-90-04-11749-5.
ก่อนหน้า | พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าจอห์น | พระมหากษัตริย์อังกฤษ (ราชวงศ์แพลนแทเจเนต) (ค.ศ. 1216 – ค.ศ. 1272) |
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 |