ข้ามไปเนื้อหา

ลาพิสลาซูลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Lapis lazuli)
ลาพิสลาซูลี
lapis lazuli
ตัวอย่างลาพิสลาซูลีขัดมัน
การจำแนก
ประเภทหิน
สูตรเคมีแร่ธาตุผสม
คุณสมบัติ
สีสีน้ำเงิน ประด้วยจุด calcite ขาว และ pyrite ออกทองเหลือง
รูปแบบผลึกเกาะตัวแน่น มีขนาดใหญ่
โครงสร้างผลึกNone, as lapis is a rock. Lazurite, the main constituent, frequently occurs as dodecahedra
แนวแตกเรียบไม่มี
รอยแตกUneven-Conchoidal
ค่าความแข็ง5 - 5.5
ความวาวหมอง
ดรรชนีหักเห1.5
สีผงละเอียดฟ้าอ่อน/น้ำเงินอ่อน
ความถ่วงจำเพาะ2.7-2.9
คุณสมบัติอื่นหินชนิดที่มีองค์ประกอบที่ต่างออกไปทำให้มีคุณลักษณะแตกต่างจากที่บรรยายข้างบนออกไป

ลาพิสลาซูลี[1] หรือ แลพิสแลซูลี[a] (อังกฤษ: lapis lazuli) คือรัตนชาติกึ่งสูงค่า (semi-precious stone) ถือว่าเป็นอัญมณีที่ค่อนข้างหายาก เป็นของมีค่ามาตั้งแต่โบราณเพราะมีสีน้ำเงินสด

ลาพิสลาซูลีขุดกันที่จังหวัดบาดัคห์ชานในประเทศอัฟกานิสถานมากว่า 6,000 ปี และค้ามาตั้งแต่โบราณจนปรากฏในเครื่องประดับที่พบในอียิปต์โบราณก่อนยุคราชวงศ์ นอกจากนี้ ยังพบลูกปัดลาพิสลาซูลีในที่ฝังศพที่ Mehrgarh คอเคซัส หรือแม้แต่ที่ไกลไปจากอัฟกานิสถานในมอริเตเนีย[2]

ลาพิสลาซูลีเป็นหินที่ขัดแล้วจะเป็นเงาขึ้น นำไปใช้เป็นเครื่องประดับ งานแกะสลัก กล่อง งานโมเสก เครื่องตกแต่ง และ แจกัน ในด้านสถาปัตยกรรมก็ใช้ตกแต่งประดับเสาของวังหรือศาสนสถาน

นอกจากใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งแล้ว ลาพิสลาซูลียังใช้ในการทำอัลตรามารีน (ultramarine) รงควัตถุสีน้ำเงินเข้มสำหรับสีฝุ่น และบางครั้งก็ใช้สำหรับสีน้ำมันแต่น้อย การใช้ทำเป็นส่วนผสมสำหรับสีน้ำมันหมดความนิยมลงไปเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีสารเคมีที่สามารถทำสีที่ต้องการได้

เชิงอรรถ

[แก้]

a อ่านได้หลายอย่าง คือ "แลพิสแลซูลี",[3] "แลพิสแลซูไล",[3] "แลพิสแลซิวลี",[3] "แลพิสแลซิวไล",[3] "ลาพิสลาซิวลี",[4] และ "ลาพิสลาซิวไล"[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. "ศัพท์บัญญัติ ๔๐ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (สืบค้นคำว่า lapis lazuli)". สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2024.
  2. Bowersox, Gary W.; Chamberlin, Bonita E. (1995), Gemstones of Afghanistan, Tucson, AZ: Geoscience Press.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "lapis lazuli". Dictionary.com Unabridged. Dictionary.com. 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-09.
  4. 4.0 4.1 "lapis lazuli". Lexcio Powered by Oxford. Lexico.com. 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-09. สืบค้นเมื่อ 2019-07-09.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]