แฮ็กฟิช
แฮ็กฟิช ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคย่อยเพนซิลเวเนียน–ปัจจุบัน | |
---|---|
แฮ็กฟิชแปซิฟิก (Eptatretus stonti) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้นใหญ่: | Agnatha |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Craniata |
ชั้น: | Myxini |
อันดับ: | Myxiniformes |
วงศ์: | Myxinidae Rafinesque, 1815 |
สกุล | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
แฮ็กฟิช (อังกฤษ: hagfish, slim eel) เป็นปลาในชั้นปลาไม่มีขากรรไกรเพียงหนึ่งในสองจำพวกที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน (อีกหนึ่งจำพวก คือ ปลาแลมป์เพรย์) ที่อยู่ในชั้น Myxini ซึ่งมีเพียงอันดับเดียว คือ Myxiniformes และวงศ์เดียว คือ Myxinidae
แฮ็กฟิชเป็นปลาที่อยู่ในทะเล โดยการกินปลาตาย หรือใกล้ตายรวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม เช่น หนอนปล้อง มอลลัสคาและครัสเตเชียนเป็นอาหาร จึงต่างจากปลาแลมป์เพรย์ที่ใช้ชีวิตเหมือนเป็นปรสิต และไม่ได้เป็นสัตว์ล่าเหยื่อ แต่ค่อนมาทางกินซากสัตว์มากว่า
แฮ็กฟิชมีต่อมเมือกทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่กระจายอยู่ที่ผิวหนังและมีต่อมเมือกเรียงตัวเป็นแนวอยู่ทางด้านข้างตลอดความยาวของลำตัว มีคำกล่าวว่า แฮ็กฟิช 1 ตัว สามารถทำให้น้ำ 1 ถัง แปรสภาพเป็นก้อนวุ้นสีขาวภายใน 1 นาที จากเมือกของตัวที่ปล่อยออกมา ซึ่งมีความเหนียวมากกว่าใยแมงมุมด้วยซ้ำ สามารถใช้ในการห้ามเลือดได้ และนักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาเพื่อที่นำไปพัฒนาในการสร้างใยสังเคราะห์[1]
แฮ็กฟิชมีประมาณ 67 ชนิด[2] ชนิดที่รู้จักกันดีในทวีปอเมริกาเหนือ ในมหาสมุทรแอตแลนติก คือ ชนิด Myxine glutinosa และในมหาสมุทรแปซิฟิก คือ แฮ็กฟิชแปซิฟิก (Eptatretus stonti)
แฮ็กฟิชจะกินปลาตายหรือปลาใกล้ตายโดยการกัดไชเข้าไปทางทวารหรือถุงเหงือก ซึ่งปากของแฮ็กฟิชจะอยู่ส่วนล่างของหัวต่ำลงมาเมื่อเปรียบเทียบกับปลาแลมป์เพรย์ แล้วกินส่วนของตัวปลาที่อ่อนนุ่มเหลือไว้แต่หนังและกระดูก นอกจากนี้แฮ็กฟิชยังกินปลาที่ติดอวนลอยอยู่ ทำความเสียหายให้แก่ชาวประมง แต่หลังจากมีการประมงโดยใช้อวนลากขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ปัญหาที่เกิดจากแฮ็กฟิชจึงลดลง[3]
และในบางประเทศ ก็มีการปรุงแฮ็กฟิชรับประทานเป็นอาหารเช่นเดียวกับปลาแลมป์เพรย์ เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นต้น[4]
ในน่านน้ำไทยเคยมีรายงานพบแฮ็กฟิชด้วย ในฝั่งทะเลอันดามันในเขตที่ลึกกว่า 200 เมตร[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ปลาทะเลตอนที่ 2, แฟนพันธุ์แท้ รายการ: ศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2549 ทางช่อง 5
- ↑ จาก Fishbase.org (อังกฤษ)
- ↑ "ปลาไม่มีขากรรไกร (SuperClass Agnatha)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-13. สืบค้นเมื่อ 2011-09-24.
- ↑ Kawakoshi, A., Hyodo, S., Yasuda, A., & Takei, Y. (2003). A single and novel natriuretic peptide is expressed in the heart and brain of the most primitive vertebrate, the hagfish (Eptatretus burgeri). Journal of Molecular Endocrinology, 31 (1), 209"220.
- ↑ ชวลิต วิทยานนท์ ดร., ปลาน้ำจืดไทย (กรุงเทพ พ.ศ. 2544) หน้า 17 ISBN 974-475-655-5