ข้ามไปเนื้อหา

นินเท็นโด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Nintendo)
บริษัท นินเท็นโด จำกัด
ประเภทบริษัทร่วมทุน
TYO: 7974
NASDAQNTDOY
FWB: NTO
SET:NINTENDO19
ISINJP3756600007 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมการ์ดเกม วิดีโอเกม
ก่อตั้ง23 กันยายน พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889)
ผู้ก่อตั้งฟูซาจิโร ยามาอูจิ
สำนักงานใหญ่ญี่ปุ่น เกียวโต
ในต่างประเทศ:
สหรัฐอเมริกา เรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน
แคนาดา ริชมอนด์ บริติชโคลัมเบีย
ยุโรป กรอสโซสไฮม์ เยอรมนี
ออสเตรเลีย สกอร์บี้ วิกตอเรีย
จีน ซูโจว (ในนาม iQue, Ltd.)
เกาหลีใต้ โซล
ปานามา กอสตา เดล เอสเต (ในนาม Latamel Inc.)
ไลบีเรีย มอนโรเวีย ไลบีเรีย
บุคลากรหลักชุนตาโร ฟูรูกาวะ (ประธานบริษัท)
ชิเงรุ มิยาโมโตะ
ผลิตภัณฑ์วิดีโอเกม เกมบอย นินเท็นโด 64 เกมคิวบ์ นินเท็นโด DS วี นินเท็นโด 3DS วียู นินเท็นโด สวิตช์ อะมีโบ ฯลฯ
รายได้16.2 พันล้านดอลลาร์ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2551)
พนักงาน
6,200 (ข้อมูลปี พ.ศ. 2563)
เว็บไซต์นินเท็นโด-ญี่ปุ่น
นินเท็นโด-สหรัฐ
นินเท็นโด-ยุโรป
นินเท็นโดออสเตรเลีย
นินเท็นโด-ไทย

นินเท็นโด (ญี่ปุ่น: 任天堂 หรือ ニンテンドーโรมาจิNintendō; อังกฤษ: Nintendo) เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) โดย ฟูซาจิโร ยามาอูจิ เริ่มแรกทำธุรกิจเกี่ยวกับการ์ดเกมและของเล่น รวมถึงธุรกิจอื่น เช่น โรงแรมและแท็กซี่ ใน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) นินเท็นโดได้ผันตัวเองมาเป็นบริษัทวิดีโอเกม ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับวิดีโอเกมที่มีอายุยาวนานที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

พ.ศ. 2432 - พ.ศ. 2512 ยุคแรกธุรกิจ การ์ดเกมและของเล่น

[แก้]
สำนักงานใหญ่เดิมของนินเท็นโด แขวงชิโมะเงียว จังหวัดเกียวโต พ.ศ. 2432 - พ.ศ. 2493
โปสเตอร์นินเท็นโดผลิตภัณฑ์การ์ดเกมคารุตะและไพ่ ช่วงสมัยยุคเมจิ

พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน ยุคสู่อุตสาหกรรมเกมคอนโซล

[แก้]

ฮาร์ดแวร์

[แก้]

นินเท็นโดได้วางจำหน่ายเครื่องเล่นเกมคอนโซล 6 รุ่น ได้แก่ คัลเลอร์ ทีวี เกม ฟามิคอม ซูเปอร์ฟามิคอม นินเท็นโด 64 เกมคิวบ์ วี วียู และ นินเทนโดสวิตช์ สำหรับเครื่องเล่นเกมพกพา ได้วางจำหน่ายเกมบอย 7 รุ่น เวอร์ชวลบอย นินเท็นโด DS นินเท็นโด 2DS นินเท็นโด 3DS นิว นินเท็นโด 3ดีเอส นินเทนโด สวิช และ เกมกดและ วิดีโอเกม อื่น ๆ อีกมาก

ซอฟต์แวร์

[แก้]

นินเท็นโดมีเกมที่มีชื่อเสียงหลายเกม เช่น เกมชุดมาริโอ โปเกมอน แอนิมอลครอสซิง ดองกี้คอง เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ไฟร์เอมเบลม เมทรอยด์ เอฟ-ซีโร่ สตาร์ฟ็อกซ์ พิกมิน สแพล็ตตูน และ เคอร์บี้ และ พนักงานหลายคนของนินเท็นโดมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการเกม เช่น ชิเงรุ มิยาโมโตะ ผู้ให้กำเนิดมาริโอ เป็นต้น

สถานที่ตั้ง

[แก้]

นินเท็นโดสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเกียวโต จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น นินเท็นโดอเมริกาตั้งอยู่ที่ เรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน (สำนักงานใหญ่สาขาอเมริกา), นอร์ธเบนด์ รัฐวอชิงตัน และ แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย นินเท็นโดแคนาดาตั้งอยู่ที่ ริชมอนด์ บริติชโคลัมเบีย และโทรอนโต นินเท็นโดออสเตรเลียตั้งอยู่ที่เมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย นินเท็นโดยุโรปตั้งอยู่ที่เมือง Großostheim ประเทศเยอรมนี นินเท็นโดจีนได้ร่วมกับ iQue และล่าสุดนินเท็นโดเกาหลี ก่อตั้งเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

นินเท็นโดในประเทศไทย

[แก้]

ก่อน พ.ศ. 2562 นินเท็นโดไม่มีผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ร้านขายเกมบางแห่งนำเข้าเครื่องคอนโซลจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะขาย 2 โซนใหญ่ ๆ คือจากญี่ปุ่นและสหรัฐ ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562 นินเท็นโดได้มีตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการโดย Maxsoft จากประเทศสิงคโปร์[1][2] และในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทางนินเท็นโดได้เปิดเว็บไซต์ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และเป็นเว็บไซต์แห่งที่ 2 ต่อจากเว็บไซต์ของประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งผู้จัดจำหน่ายในไทยคือเจดีเซ็นทรัล[3][4] ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2566 ทางนินเท็นโดได้เปลี่ยนผู้จัดจำหน่ายในไทยคือซินเน็คแทนที่เจดีเซ็นทรัล[5]เนื่องมาจากทางเจดีเซ็นทรัลได้ประกาศว่าจะยุติการให้บริการในประเทศไทยโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566[6] ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ทางนินเท็นโดและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศซื้อขายหลักทรัพย์ในไทยเป็นทางการ ตลาดหลักทรัพย์จัดหมวดหมู่ประเภท DR NINTENDO19 เริ่มซื้อขายทั่วไปในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[7][8][9]

โลโก้

[แก้]

คำว่า Nintendo นั้นคาดกันว่ามาจากคำว่า Nintendou ซึ่งแปลว่า “ปล่อยให้เรื่องของโชคขึ้นกับสวรรค์เบื้องบน”

โลโก้แรกของนินเท็นโด เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 จนถึง พ.ศ. 2493
โลโก้แรกของนินเท็นโด เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 จนถึง พ.ศ. 2493 
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึง พ.ศ. 2508
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึง พ.ศ. 2508 
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2513
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2513 
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จนถึง พ.ศ. 2518
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จนถึง พ.ศ. 2518 
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 จนถึง พ.ศ. 2518
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 จนถึง พ.ศ. 2518 
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึง พ.ศ. 2518
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึง พ.ศ. 2518 
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึง พ.ศ. 2549
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 จนถึง พ.ศ. 2549 
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2559
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึง พ.ศ. 2559 
โลโก้ปัจจุบันของนินเท็นโด เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559
โลโก้ปัจจุบันของนินเท็นโด เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Nintendo Switch กำลังจะมีเครื่องศูนย์ไทยอย่างเป็นทางการ !!".
  2. "เปิดราคา Nintendo Switch เครื่องไทย 11,990 บาท เครื่องหิ้วเข้าศูนย์ไม่ได้ และไขอนาคตนินเทนโดในไทย".
  3. "มาแล้ว!! Nintendo เปิดตัวเว็บไซต์ภาษาไทย พร้อมเปิดร้านออนไลน์แรกในประเทศไทย".
  4. "ปู่มาแล้ว! Nintendo เปิดเว็บไซต์ภาษาไทยอย่างเป็นทางการ".
  5. "SYNNEX จะเข้ามาดูแลการตลาดในไทยให้ Nintendo แทน JD Central".
  6. "JD CENTRAL สู้ไม่ไหว! ประกาศยุติให้บริการในไทย มีผลตั้งแต่ 3 มีนาคม 2566".
  7. "ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับ DR "NINTENDO19" เริ่มซื้อขาย 20 พ.ค. นี้".
  8. "เริ่มซื้อขาย DR อ้างอิงหุ้น nintendo บริษัทผลิตเกมญี่ปุ่น 20 พ.ค. 67".
  9. "เอาใจนักลงทุนสายเล่นเกม หุ้น DR อ้างอิง NINTENDO เทรดกระดานหุ้นไทย 20 พ.ค. นี้".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]