การรับรู้
การรับรู้ หรือ สัญชาน[1] (อังกฤษ: Perception จาก ละติน: perceptio) เป็นการจัดระเบียบ ระบุ และแปลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัสเพื่อใช้เป็นแบบจำลองและเข้าใจข้อมูลหรือโลกรอบ ๆ ตัว[2]
การรับรู้ทุกอย่างจะต้องเกี่ยวกับสัญญาณประสาทที่ส่งไปยังระบบประสาท โดยสัญญาณก็จะเป็นผลของการเร้าระบบรับความรู้สึกทางกายภาพหรือทางเคมี[3] ยกตัวอย่างเช่น การเห็นจะเกี่ยวกับแสงที่มากระทบจอตา การได้กลิ่นจะอำนวยโดยโมเลกุลที่มีกลิ่น และการได้ยินจะเกี่ยวกับคลื่นเสียง การรับรู้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การรับสัญญาณทางประสาทสัมผัสเฉย ๆ แต่จะได้รับอิทธิพลจากการเรียนรู้ ความทรงจำ ความคาดหวัง และการใส่ใจของบุคคลนั้น ๆ[4][5] การรับรู้สามารถแบ่งเป็นสองส่วน คือ[5]
- การแปลผลข้อมูลทางประสาทสัมผัส ซึ่งแปลข้อมูลดิบเป็นข้อมูลระดับสูงขึ้น (เช่น การดึงรูปร่างจากสิ่งที่เห็นเพื่อรู้จำวัตถุ)
- การแปลผลที่เชื่อมกับทัศนคติ ความคาดหวัง และความรู้ของบุคคล โดยได้อิทธิพลจากกลไกการเลือกเฟ้น (คือการใส่ใจ) สิ่งที่รับรู้
การรับรู้จะอาศัยการทำงานที่ซับซ้อนในระบบประสาท แต่โดยอัตวิสัยจะรู้สึกว่าไม่ได้ทำอะไร เพราะการแปลผลเช่นนี้เกิดขึ้นใต้จิตสำนึก[3] ตั้งแต่การเริ่มสาขาจิตวิทยาเชิงทดลองในคริสต์ทศวรรษที่ 19 ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้ได้ก้าวหน้าโดยใช้วิธีการศึกษารวมกันหลายอย่าง[4] Psychophysics ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติทางกายภาพของข้อมูลประสาทสัมผัสต่าง ๆ กับการรับรู้ในเชิงปริมาณ[6] ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงรับความรู้สึก (Sensory neuroscience) ได้ศึกษากลไกทางสมองที่เป็นมูลฐานของการรับรู้ ระบบการรับรู้ยังสามารถศึกษาในเชิงคอมพิวเตอร์ คือโดยอาศัยข้อมูลที่ระบบแปลผล ส่วนปรัชญาในเรื่องการรับรู้ จะศึกษาขอบเขตที่ลักษณะทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น และสี มีจริง ๆ โดยปรวิสัย ไม่ใช่มีแค่ในใจคือเป็นอัตวิสัยของคนที่รับรู้[4]
แม้นักวิชาการจะได้มองประสาทสัมผัสว่าเป็นระบบรับข้อมูลเฉย ๆ แต่งานศึกษาเกี่ยวกับการแปลสิ่งเร้าผิดและภาพที่มองเห็นได้หลายแบบ ได้แสดงว่า ระบบการรับรู้ของสมองทำการอย่างแอคทีฟและภายใต้จิตสำนึกเพื่อเข้าใจสิ่งที่รับรู้[4] ยังเป็นเรื่องไม่ยุติว่า การรับรู้เป็นกระบวนการตรวจสอบสมมติฐานแบบต่าง ๆ มากแค่ไหน หรือว่าข้อมูลทางประสาทสัมผัสตามธรรมชาติสมบูรณ์พอที่จะไม่ต้องใช้กระบวนการนี้ในการรับรู้[4]
ระบบการรับรู้ในสมองทำให้บุคคลสามารถเห็นโลกรอบ ๆ ตัวว่าเสถียร แม้ข้อมูลความรู้สึกปกติจะไม่สมบูรณ์และจะเปลี่ยนไปอยู่ตลอด สมองมนุษย์และสัตว์มีโครงสร้างโดยเฉพาะ ๆ และแต่ละส่วนจะประมวลข้อมูลความรู้สึกที่ต่างกัน โครงสร้างบางอย่างจัดเหมือนกับแผนที่รับความรู้สึก คือมีการใช้ผิวสมองเป็นผังแสดงลักษณะบางอย่างของโลก (เช่นใน Somatotopy) โครงสร้างโดยเฉพาะต่าง ๆ เหล่านี้จะเชื่อมต่อกันและมีอิทธิพลต่อกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น กลิ่นจะมีอิทธิพลอย่างสูงต่อรสชาติ[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ psychopathology. ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑. (CD-ROM) พ.ศ. ๒๕๔๕. "(ปรัชญา, แพทยศาสตร์, ภาษาศาสตร์) สัญชาน, ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้".
- ↑ Schacter, Daniel (10 ธันวาคม 2010). Psychology (2nd ed.). Worth Publishers. ISBN 978-1-4292-3719-2.
- ↑ 3.0 3.1 Goldstein 2009, pp. 5–7
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Gregory 1987
- ↑ 5.0 5.1 Bernstein, Douglas A. (5 มีนาคม 2010). Essentials of Psychology. Cengage Learning. pp. 123–124. ISBN 978-0-495-90693-3. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2011.
- ↑ Fechner, Gustav Theodor (1907). Wundt, Wilhelm Max (บ.ก.). Elemente der Psychophysik. Leipzig: Breitkopf & Härtel. (Microfilm) OCLC 60803523.
- ↑ DeVere, Ronald; Calvert, Marjorie (31 สิงหาคม 2010). Navigating Smell and Taste Disorders. Demos Medical Publishing. pp. 33–37. ISBN 978-1-932603-96-5. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2011.
บรรณานุกรม
[แก้]- Goldstein, E. Bruce (2009). Sensation and Perception. Cengage Learning. ISBN 978-0-495-60149-4.
- Gregory, Richard L.; Zangwill, O. L. (1987). The Oxford Companion to the Mind. Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Arnheim, R. (1969). Visual Thinking. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-01871-0.
- Flanagan, JR; & Lederman, SJ. (2001). "Neurobiology: Feeling bumps and holes. News and Views" (PDF), Nature. 412 (6845): 389–91. eISSN 1476-4687.
- Gibson, J. J. (1966). The Senses Considered as Perceptual Systems. Boston: Houghton Mifflin. ISBN 978-0-313-23961-8.
- Gibson, J. J. (1987). The Ecological Approach to Visual Perception. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates. ISBN 978-0-8985-9958-9.
- Robles-De-La-Torre, G. (7 สิงหาคม 2006). "The Importance of the Sense of Touch in Virtual and Real Environments" (PDF). IEEE Multimedia. 13(3), Special issue on Haptic User Interfaces for Multimedia Systems, pp. 24–30. เก็บถาวร 24 มกราคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. doi:10.1109/MMUL.2006.69.
- Theories of Perception เก็บถาวร 23 ธันวาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Several different aspects on perception
- Richard L Gregory ทฤษฎีของ Richard. L. Gregory.
- Comprehensive set of optical illusions, presented by Michael Bach.
- Optical Illusions ตัวอย่างของ well-known optical illusions.