ข้ามไปเนื้อหา

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก WWF)
กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล
ก่อตั้ง29 เมษายน 1961; 63 ปีก่อน (1961-04-29)
ผู้ก่อตั้ง
ประเภทองค์กรนอกภาครัฐระหว่างประเทศ
วัตถุประสงค์
สํานักงานใหญ่Gland, รัฐโว, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ภูมิภาค
ทั่วโลก
วิธี
  • การวิ่งเต้น
  • การวิจัย
  • ที่ปรึกษา
ประธาน
พาวัน สุขเทพ
ประธานกิตติมศักดิ์
เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ (†)
ผู้อำนวยการ
มาร์โค แลมเบอตินี่
รายได้
654 ล้านยูโร (2013)
เว็บไซต์wwf.panda.org
worldwildlife.org (สหรัฐ)

กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (อังกฤษ: World Wide Fund for Nature - WWF)[4] เป็นองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยยับยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้พลังงานทดแทน ปัจจุบันเน้นการทำงานในด้าน ป่าไม้ ระบบนิเวศวิทยาของพื้นน้ำ มหาสมุทรรวมทั้งชายฝั่งทะเล สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การบำบัดสารพิษที่เกิดจากสารเคมี องค์การแห่งนี้เป็นองค์กรอนุรักษ์อิสระใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีผู้สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านรายจากทั่วโลก ดำเนินโครงการอนุรักษ์ต่างๆ 12,000 โครงการ ใน 153 ประเทศ [5] องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลมีสถานะเป็นมูลนิธิ[6] ใน ค.ศ. 2010 ได้เกิดกองทุนที่มาจากเงินทุนของประชาชนรวมถึงการยกมรดกให้ที่ 57 เปอร์เซ็นต์ และ 17 เปอร์เซ็นต์จากแหล่งรัฐบาล (เช่น ธนาคารโลก, กระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศ, องค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา) และ 11 เปอร์เซ็นต์จากสถาบันการเงินต่างๆ[7]

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลก่อตั้งเมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2504 ที่เมืองมอร์เกส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในไทยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ซอยพหลโยธิน 5 มีสำนักงานสาขา เพื่อดำเนินการและกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เชิงปลุกจิตสำนึก และให้ความรู้อยู่หลายแห่ง

ประวัติ

[แก้]

WWF (World Wide Fund For Nature) ก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดเริ่มต้นจากความห่วงใยของ “เซอร์ จูเลียน ฮักซ์ลี่ย์” (Sir Julian Huxley) ในเรื่องการล่าสัตว์ป่าที่เกิดขึ้นในวงกว้าง

ในปี พ.ศ. 2503 ฮักซ์ลี่ย์ เดินทางไปยังอัฟริกาตะวันออก ในการประชุมของ ESO ว่าด้วยเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งทำให้เขาได้พบว่าสัตว์ป่าหลายชนิดกำลังถูกล่าอย่างหนัก และหากไม่มีการจัดการใดในอีก 20 ปี ข้างหน้า สัตว์ป่าเหล่านี้คงสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้หลังจากที่ฮักซ์ลี่ย์เดินทางกลับสู่อังกฤษ เขาได้เขียนบทความตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวอังกฤษตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น บทความของเขาได้สร้างกระแสให้คนอ่านหันมาตระหนักถึงความจริงที่ว่า การอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นเรื่องที่ต้องจริงจังและให้ความสำคัญ

ภายหลังจากบทความของฮักซ์ลี่ย์ได้รับการแผยแพร่ มีจดหมายแสดงความห่วงใยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหลายฉบับถูกส่งกลับมาถึงเขา ซึ่งรวมถึงจดหมายของนักธุรกิจคนสำคัญอย่าง "วิกเทอร์ สโทแลน (Victor Stolan)" ที่ได้แนะนำประเด็นสำคัญในการอนุรักษ์ไว้อย่างน่าสนใจว่า สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนในเวลานี้ก็คือ การจัดตั้งองค์กรนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

จากคำแนะนำดังกล่าว ฮักซ์ลี่ย์ ได้หารือกับ "แม็ก นิกโคลสัน (Max Nicholson)" ประธานองค์กรพิทักษ์ธรรมชาติของอังกฤษ (Britain’s Nature Conservancy) เพื่อหาแนวทางในการจัดตั้งองค์กรดังกล่าว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 นิกโคลสันได้รวบรวมคนรุ่นใหม่หัวก้าวหน้าจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งองค์กรนานาชาติด้านการอนุรักษ์ขึ้น ในนาม ESO (World Wildlife Fund) ประธานคนแรกของ ESO ได้แก่ เซอร์ ปีเตอร์ สกอตต์ (Sir Peter Scott) ซึ่งในอดีตเคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (World Conservative Union : IUCN)

WWF มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองกล๊องด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้ใช้รูปแพนด้าเป็นโลโก้ขององค์กรมาจนถึงปัจจุบัน

สัญลักษณ์

[แก้]

สัญลักษณ์หมีแพนด้าได้รับแรงบันดาลใจมาจากชิชิ แพนด้ายักษ์เพศเมียที่อยู่ในสวนสัตว์เมืองลอนดอน เมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่ WWF ได้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นมา เนื่องจากแพนด้าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ รูปร่างสวย ผู้คนต่างให้ความสนใจ รัก และพร้อมที่จะปกป้อง WWF จึงใช้สัญลักษณ์แพนด้าแทนสัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์ที่สามารถสร้างการจดจำ ก้าวพ้นกำแพงของภาษา สามารถสื่อสารได้ นอกจากนี้สีดำ-ขาว ยังช่วยประหยัดต้นทุนในการพิมพ์ด้วย

พันธกิจ

[แก้]
  • ลดการบุกรุกและยับยั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของโลก
  • สร้างอนาคตใหม่ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน
  • ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  • ผลักดันให้เกิดการลดมลภาวะ และลดการบริโภคอย่างสิ้นเปลือง

ความสำเร็จขององค์กร

[แก้]
  • WWF จัดพิมพ์รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก ภายใต้ชื่อ "Living Planet Report" เพื่อแสดงให้เห็นว่าภายในระยะเวลาเพียง 30 ปี โลกได้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าไปมากถึง 1 ใน 3 ของที่มีอยู่
  • WWF นำเสนอพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติ 200 แห่งทั่วโลก ภายใต้ชื่อ "Global 200" ให้เป็นพื้นที่เป้าหมาย ที่ความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินการอนุรักษ์ และได้ริเริ่มโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 200 แห่งไปพร้อมๆ กันทั่วโลก
  • WWF รณรงค์ โครงการ "ของขวัญเพื่อโลก" (Gift to the Earth) ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างพันธกิจในการพิทักษ์พื้นที่ที่โดดเด่นของโลก และภายในปีพ.ศ. 2545 ได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่ 56 แห่งให้เป็นของขวัญแก่โลก นับตั้งแต่กฎหมายด้านการอนุรักษ์ของประเทศเอกวาดอร์ เพื่อพิทักษ์ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าในหมู่เกาะกาลาปาโกส ไปจนถึงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่ในประเทศแคนาดา กาบอง มองโกเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และแอฟริกาใต้
  • พ.ศ. 2551 - WWF ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ตั้งมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO)
  • พ.ศ. 2552 - เดือนพฤษภาคม ผู้นำจาก 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์ตะวันออก ให้คำมั่นว่าจะดำเนินแผนงานอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรชายฝั่งและใต้น้ำอย่างยั่งยืน ในเขตสามเหลี่ยมปะการัง (Coral Triangle) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของปะการังกว่าร้อยละ 76 ของปะการังที่มีอยู่บนโลก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งทำประมงทูน่าของโลกอีกด้วย
  • พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน จากความมุ่งมั่นสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม งานรณรงค์ Earth Hour ปิดไฟให้โลกพัก ของ WWF มีผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากและได้เป็นต้นแบบในการรณรงค์สร้างจิตสำนึกประหยัดพลังงาน กิจกรรม Earth Hour ที่จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2550 ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีบ้านเรือนและอาคารสำนักงานทั่วโลกถึง 2.2 ล้านหลัง ในปี 2553 มีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลกกว่าหลายร้อยล้านคน ในการผลักดันให้นักการเมือง รัฐบาลและผู้นำโลกปฏิบัติตามสนธิสัญญาเกียวโต (Kyoto Protocol) และลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกในประเทศของตน

บทวิจารณ์

[แก้]

WWF โดนกล่าวหาโดยผู้รณรงค์ของคอร์ปอเรทวอทช์ (Corporate Watch) ว่าการรณรงค์มีการใกล้ชิดกับธุรกิจต่างๆ มากเกินไป[8][9] WWF อ้างว่าการเป็นพันธมิตรกับบริษัทอย่างโคคา-โคล่า, ลาฟาร์จ (Lafarge), บริษัทของการ์โลส สลิม และ อิเกีย จะช่วยลดผลกระทบของบริษัทเหล่านี้ ต่อสิ่งแวดล้อม[10] WWF ได้รับเงิน 56 ล้านยูโร (80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2,260 ล้านบาท) จากบริษัทต่างๆ ในพ.ศ. 2553 (เพิ่มขึ้น 8% จากพ.ศ. 2552) นับเป็น 11% ของรายได้ทั้งหมดในหนึ่งปี[7]

โครงการ"ล็อก"

[แก้]

ในพ.ศ. 2531 เจ้าชายแบร์นฮาร์ด อดีตประธานบริษัทคนแรกของ WWF ขายรูปวาดในราคา 700,000 ปอนด์ เพื่อระดมทุนให้ WWF เงินถูกฝากไว้ที่บัญชีธนาคารสวิสของ WWF ในพ.ศ. 2532 Charles de Haes ซึ่งคณะนั้นเป็นอธิบดีของ WWF โอนเงิน 500,000 ปอนด์ กลับไปให้แบร์นฮาร์ด สำหรับสิ่งที่เขาเรียกว่า "โครงการส่วนตัว" จากนั้นในพ.ศ. 2534 จึงถูกเปิดเผยว่าเจ้าชายแบร์นฮาร์ดใช้เงินจ้าง KAS International ซึ่งมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ (SAS) เป็นเจ้าของ และเดวิด สเตอร์ลิง (David Stirling) เป็นผู้ก่อตั้ง เพื่อดำเนินโครงการ"ล็อก" ที่ทหารรับจ้าง (ส่วนใหญ่เป็นคนอังกฤษ) ต่อสู้กับผู้บุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์ป่า[11]

รายงานปลาโลมาในแม่น้ำโขง

[แก้]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ทัช แสง ธนา ประธานคณะกรรมการสำหรับการอนุรักษ์และพัฒนาเขตท่องเที่ยวโลมาแม่น้ำโขงเชิงนิเวชประเทศกัมพูชา กล่าวว่า WWF ทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ของโลมาอิรวดี เพื่อเพิ่มยอดบริจาค[12] เขาเรียกรายงาน WWF ว่าไม่เป็นวิทยาศาสตร์และอันตรายต่อรัฐบาลกัมพูชา รวมไปถึงขู่ว่าจะสั่งปิด WWF ประเทศกัมพูชาชั่วคราว หากไม่มาพบเขาเพื่อคุยเกี่ยวกับข้อกล่าวหานี้[13] ต่อมาทัช แสง ธนา กล่าวว่าเขาจะไม่ตั้งข้อหาในการให้ข้อมูลผิดๆ และจะไม่พยายามปิดกั้น WWF จากงานในประเทศกัมพูชา หลักจากนั้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ทัช แสง ธนาเซ็น "คำประกาศการอนุรักษ์โลมาอิรวดีแห่งแม่น้ำโขงของจังหวัดกระแจะ" (Kratie Declaration on the Conservation of the Mekong River Irrawaddy Dolphin) ร่วมกับ WWF และฝ่ายปกครองกรมประมงประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นข้อตกลงที่จะช่วยกันจัดการกับการอนุรักษ์โลมาในแม่น้ำโขง[14]

แพนด้าลีกส์

[แก้]

ในพ.ศ. 2555 นักข่าวแนวสืบสวนชาวเยอรมัน วิลฟรายด์ ฮุสแมน (Wilfried Huissmann) ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า "ความเงียบของแพนด้า" (The Silence of the Pandas) โดยแม้กลายเป็นหนังสือขายดีติดอันดับในประเทศเยอรมัน กลับถูกห้ามขายในประเทศอังกฤษ จนพ.ศ. 2557 ได้ถูกปล่อยออกมาในชื่อ "แพนด้าลีกส์" (Pandaleaks) หลังพ้นคำสั่งห้ามและคำสั่งศาล[15] หนังสือวิจารณ์ WWF ว่ามีความเกี่ยวข้องกับบริษัทซึ่งมีส่วนในการทำลายธรรมชาติในปริมาณมาก เช่น โคคา-โคล่า และยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับสโมสรลับ 1001 และอ้างว่าสมาชิกของสโมสรนี้ยังคงสร้างผลกระทบต่อการสร้างนโยบายของ WWF[15] อย่างไรก็ตาม WWF ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านั้น[16]

การล่าสัตว์

[แก้]

สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนเคยเป็นประธานบริษัทเกียรติคุณของ WWF ในประเทศสเปน[17] และเป็นผู้ที่ชื่นชอบการล่าสัตว์ ในพ.ศ. 2505 ขณะอายุ 24 ปี เขาถูก Baron Werner von Alvensleben ชาวเยอรมันเชิญชวนไปล่าสัตว์ที่ประเทศโมซัมบิก[18] ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ได้ร่วมล่าสัตว์ในทวีปแอฟริกาและยุโรปตะวันออก ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 เขาเป็นสมาชิกกลุ่มกล่าสัตว์ในประเทศโรมาเนียซึ่งฆ่าหมาป่าหนึ่งตัว และหมีสีน้ำตาลถึงเก้าตัว รวมไปถึงตัวที่กำลังตั้งท้อง ตามรายงานของหนังสือพิมพ์โรมาเนีย (Romania Libera).[19] เขายังถูกกล่าวหาโดยเจ้าหน้าที่ชาวรัซเซียว่าได้ทำการฆ่าหมีที่ชื่อว่า มิโทรฟาน (Mitrofan) หลังจากให้วอดก้ากับมัน เรื่องนี้จุดประเด็นในประเทศสเปนแม้ความจริงจะไม่เคยถูกพิสูจน์ก็ตาม[20] ในปีเดียวกัน เดอะการ์เดียน ระบุว่ารัฐบาลประเทศโปแลนด์อนุญาตให้เขาฆ่าควายป่ายุโรป (European bison) ในป่าBiałowieżaได้ แม้มันจะอยู่ในสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์[21] ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 พระองค์เข้าร่วมล่าช้างในประเทศบอตสวานา ซึ่งตกเป็นข่าวเนื่องจากต้องบินกลับประเทศสเปนฉุกเฉินหลังลื่นล้มจนกระดูกที่เอวแตก[22] กลุ่มนักธรรมชาติวิทยาและพรรคฝ่ายซ้ายวิจารณ์งานอดิเรกของพระมหากษัตริย์[23] และ WWF ได้ทำการถอนตำแหน่งเกียรติคุณในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยได้รับผลโหวดจากสมาชิกถึง 94%[24]

เจ้าชายชาลส์ หัวหน้าของ WWF สหราชอาณาจักร[25] ชอบล่าสัตว์เช่นเดียวกัน[26]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "WWF in the 60s". World Wide Fund for Nature. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2011. สืบค้นเมื่อ 19 August 2012.
  2. In Memoriam: Godfrey A. Rockefeller เก็บถาวร 14 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, World Wildlife Fund, 29 January 2010.
  3. "WWF – Who We Are – History". Worldwildlife.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2012. สืบค้นเมื่อ 19 August 2012.
  4. ชื่ออย่างเป็นทางการขององค์การใช้ชื่อ ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ (WWF) โดยเปลี่ยนจากชื่อเดิม World Wildlife Fund
  5. WWF - WWF conservation projects around the world
  6. "How is WWF run?". สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
  7. 7.0 7.1 WWF-INT Annual Review (PDF). World Wide Fund for Nature. 2010. p. 43. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
  8. "PANDA-ING TO THE SOYA BARONS?". Corporate Watch. 2009-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-12-09.
  9. Fred Pearce (2009-04-02). "Ikea – you can't build a green reputation with a flatpack DIY manual". London: Guardian UK. สืบค้นเมื่อ 2009-12-09.
  10. "Changing the nature of business". World Wide Fund for Nature. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.
  11. "Pretoria inquiry confirms secret battle for the rhino". The Independent. London. 18 January 1996.
  12. "Cambodia Rejects CNN, WWF Reports about Mekong Dolphin". CRIEnglish.com. 2009-06-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2013-03-02.
  13. "Cambodia threatens to suspend WWF after dolphin report". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-27. สืบค้นเมื่อ 2009-08-16.
  14. "Authors of report on dolphins will not face charges official says". สืบค้นเมื่อ 2009-08-22.[ลิงก์เสีย]
  15. 15.0 15.1 http://www.theguardian.com/environment/2014/oct/04/wwf-international-selling-its-soul-corporations
  16. http://wwf.panda.org/wwf_news/press_releases/a_quick_guide_to_the_silence_of_the_pandas_documentary.cfm
  17. WWF. "Desde nuestros comienzos hasta hoy". สืบค้นเมื่อ 2012-04-15.
  18. WWF. "Cazador blanco, sangre azul". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-18. สืบค้นเมื่อ 2012-04-15.
  19. Romania: Elite Hunting Spree Sparks Calls For Better Animal Protection, RFE/RL, 27 January 2005
  20. "Royal row over Russian bear fate", BBC News, 20 October 2006.
  21. WWF (2004-03-24). "King's bison shoot stirs anger of conservation groups". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2012-04-15.
  22. WWF. "El Rey es opera trap rompers la camera en un via de caza en Botswana". สืบค้นเมื่อ 2012-04-15.
  23. WWF. "La izquierda ve "una falta de respeto" en el viaje del rey a Botsuana". สืบค้นเมื่อ 2012-04-15.
  24. Roberts, Martin (2012-07-21). "King no longer president". London: Telegraph.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.
  25. Press Association (2011-09-08). "Prnce Charles - President of UK WWF". London: Guardian. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.
  26. Stephen Bates (2004-11-06). "Charles enjoys hunting". London: Guardian. สืบค้นเมื่อ 2012-08-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]