ลำบุษบา
ลำบุษบา หรือรู้จักกันทั่วไปว่า ปลาแดกปลาสมอ หรือเรียกรวมกันว่า กำพร้าบุษบาปลาแดกปลาสมอ เป็นนิทานพื้นบ้านที่แพร่หลายอยู่ในภาคอีสานของประเทศไทยและประเทศลาว[1]
มีชื่ออื่นอีกคือ อะลองปลาส้ม ในวรรณกรรมไทยเขิน เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า และเรื่อง อะลองปลาส้ม ในวรรณกรรมไทเหนือเขตปกครองตนเองใต้คง สาธารณรัฐประชาชนจีน[2] ชาวไทดำเรียก ปลาแดกปลาสมอ ส่วนภาคใต้ของประเทศไทยมีวรรณกรรมที่มีเนื้อเรื่องคล้ายกัน เรื่อง วันคาร[3]
ฉบับ
[แก้]ต้นฉบับลำบุษบาที่พบบันทึกด้วยอักษรธรรม แต่งเป็นร้อยแก้ว ที่พบเช่น
- ฉบับของวัดบ้านโคกศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จารเมื่อ พ.ศ. 2455 จํานวน 8 ผูก 234 หน้าลาน
- ฉบับของวัดบ้านโคกใหญ่ศรีโพธิ์ชัย เมืองอุทุมพร แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว จารเมื่อ พ.ศ. 2474 จํานวน 5 ผูก 228 หน้าลาน
- ฉบับหอสมุดแห่งชาติ จารเมื่อ พ.ศ. 2461
- ฉบับวัดบ้านโด จังหวัดมหาสารคาม จารเมื่อ พ.ศ. 2481
- ฉบับวัดยางลุ่ม จังหวัดอุบลราชธานี ไม่ปรากฏปีที่จาร
เนื้อเรื่อง
[แก้]พระโพธิสัตว์ลงมาเกิดเป็นชายกำพร้าชื่อ บุษบา อยู่กับย่ามีฐานะยากจน วันหนึ่งไปตกปลาได้ปลาสมอมากมายจึงนำไปทางปลาร้าฝากนายสำเภาไปขายต่างเมือง ในที่สุดได้ธิดาของพระราชาต่างเมืองที่มอบให้เป็นค่าปลาร้ามาเป็นภรรยา ด้วยความที่ภรรยามีรูปโฉมงดงามจึงเป็นเหตุให้พระราชาที่ท้าวกำพร้าบุษบาต้องการแย่งชิงมาเป็นเทวีของตนา จึงได้กลั่นแกล้งต่าง ๆ เพื่อให้ถึงแก่ความตาย แต่ท้าวกำพร้าบุษบาก็ได้รอดพ้นภัยทุกครั้งด้วยความช่วยเหลือจากภรรยา พร้อมทั้งได้ภรรยาเพิ่มมาอีก 3 คน
ในที่สุดพระราชาก็ถึงแก่ความตายเพราะหลงเชื่อท้าวกำพร้าบุษบาที่บอกให้เผาตนเองเพื่อไปเยี่ยมญาติที่ปรโลก ท้าวกำพร้าบุษบาจึงได้ครองเมืองแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมัย วรรณอุดร. "การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและลาวเรื่องลำบุษบา" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- ↑ "ภารกิจพิเศษ สรุปเนื้อหานิทาน เรื่อง ปลาแดกปลาสมอ".
- ↑ "วันคาร". มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-20. สืบค้นเมื่อ 2022-09-20.