ข้ามไปเนื้อหา

นางาซากิ

พิกัด: 32°47′N 129°52′E / 32.783°N 129.867°E / 32.783; 129.867
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางาซากิ

長崎市
นครนางาซากิ
นางาซากิยามพลบค่ำ
นางาซากิยามพลบค่ำ
ธงของนางาซากิ
ธง
ที่ตั้งของเมืองนางาซากิ ในจังหวัดนางาซากิ
ที่ตั้งของเมืองนางาซากิ ในจังหวัดนางาซากิ
นางาซากิตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
นางาซากิ
นางาซากิ
 
พิกัด: 32°47′N 129°52′E / 32.783°N 129.867°E / 32.783; 129.867
ประเทศญี่ปุ่น
ภูมิภาคคีวชู
จังหวัดนางาซากิ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโทมิฮิซะ ทาอูเอะ (2007-)
พื้นที่
 • ทั้งหมด406.35 ตร.กม. (156.89 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน241.20 ตร.กม. (93.13 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ165.15 ตร.กม. (63.76 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ค. 2014)
 • ทั้งหมด434,257 คน
 • ความหนาแน่น1,070 คน/ตร.กม. (2,800 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
- ต้นไม้ต้นไข
- ดอกไม้ไฮเดรนเยีย
หมายเลขโทรศัพท์095-825-5151
ที่อยู่2-22 Sakura-machi, Nagasaki-shi, Nagasaki-ken
850-8685
เว็บไซต์www.city.nagasaki.lg.jp
นางาซากิ
นางาซากิในคันจิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ長崎
ฮิรางานะながさき
คาตากานะナガサキ
การถอดเสียง
โรมาจิNagasaki

เมืองนางาซากิ (ญี่ปุ่น: 長崎市โรมาจิNagasaki-shi) (ฟัง) เป็นเมืองเอกและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ เพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว"

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 นางาซากิเป็นเมืองที่สองถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ และเป็นเมืองสุดท้ายของโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์จนถึงปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์

ยุคกลางและยุคใหม่

นางาซากิ เดิมเป็นหมู่บ้านชาวประมงขนาดเล็ก และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เพียงเล็กน้อย จนกระทั่งได้เริ่มติดต่อกับนักสำรวจชาวโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1543 ซึ่งผู้นำของคณะสำรวจแรกนั้น คือ เฟอร์เนา เมนเดส ปินโต ที่เดินทางมาด้วยเรือโดยเทียบท่าใกล้ ๆ กับทาเนงาชิมะ เกาะในหมู่เกาะโอซูมิ

โปรตุเกสนั้นได้ออกสำรวจโลกและค้าขายกับชาติต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ จีน ซึ่งก่อนหน้าที่โปรตุเกสจะเข้ามา ญี่ปุ่นได้หยุดการค้าขายกับจีนอันเนื่องมาจากการปล้นชิงทรัพย์ที่บ่อยครั้งของโจรสลัด วอโก้ว ในทะเลจีนใต้ การเข้ามาของโปรตุเกสทำให้โปรตุเกสสามารถเป็นตัวกลางด้านการค้าขายให้กับทั้งสองชาติได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ด้วยระยะเวลาที่ไม่นานนัก โปรตุเกสก็ได้รับความไว้วางใจจากเหล่าชาติตะวันออก อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนท่าเรือที่มีประสิทธิภาพในคีวชู ได้เป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับโปรตุเกสตลอดจนบรรดาเจ้าเมืองในคีวชู ที่คาดหวังผลประโยชน์จากปริมาณการค้าขายที่มากขึ้น

ขณะเดียวกัน เหล่ามิชชันนารีคณะเยสุอิตจากราชอาณาจักรนาวาร์ นำโดยบาทหลวงฟรันซิสโก คาเบียร์ ก็ได้เดินทางมาถึงคาโงชิมะ หมู่บ้านทางตอนใต้ของคีวชู ในปี 1549 และเริ่มการเผยแผ่คำสอนของพระคริสตเจ้าไปทั่วเกาะญี่ปุ่น ผู้ติดตามของบาทหลวงคาเบียร์ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการที่ไดเมียวจำนวนมากเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ หนึ่งในนั้นคือไดเมียวโอมูระ ซูมิตากะซึ่งได้รับผลประโยชน์มหาศาลจากส่วนแบ่งทางการค้า จากการที่เขานับถือศาสนาคริสต์อย่างลับ ๆ โดยในปี 1569 โอมูระได้รับอนุญาตจากเบื้องบนให้จัดตั้งท่าเรือสำหรับเรือโปรตุเกสในนางาซากิ ซึ่งแล้วเสร็จในปี 1571 โดยท่าเรืออยู่ภายใต้การกำกับของคณะเยสุอิต กัสปาร์ วีเลลาร์ และเรือตรีทริสเตา วาซ เดอ เวกา ผู้ว่าการแห่งมาเก๊า โดยการช่วยเหลือส่วนตัวจากโอมูระ[1]

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของเมืองนางาซากิ (ค.ศ. 1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 21.3
(70.3)
22.6
(72.7)
24.4
(75.9)
29.0
(84.2)
34.6
(94.3)
36.4
(97.5)
37.7
(99.9)
37.6
(99.7)
36.1
(97)
33.7
(92.7)
27.4
(81.3)
23.8
(74.8)
37.7
(99.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 10.4
(50.7)
11.7
(53.1)
14.8
(58.6)
19.7
(67.5)
23.5
(74.3)
26.4
(79.5)
30.1
(86.2)
31.7
(89.1)
28.6
(83.5)
23.8
(74.8)
18.3
(64.9)
13.1
(55.6)
21.0
(69.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 3.8
(38.8)
4.4
(39.9)
7.3
(45.1)
11.6
(52.9)
15.8
(60.4)
20.0
(68)
24.3
(75.7)
25.1
(77.2)
21.8
(71.2)
16.1
(61)
10.8
(51.4)
5.9
(42.6)
13.9
(57)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −5.2
(22.6)
−4.8
(23.4)
−3.6
(25.5)
0.2
(32.4)
5.3
(41.5)
8.9
(48)
15.0
(59)
17.0
(62.6)
11.1
(52)
4.9
(40.8)
−0.2
(31.6)
−3.9
(25)
−5.2
(22.6)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 64.0
(2.52)
85.7
(3.374)
132.0
(5.197)
151.3
(5.957)
179.3
(7.059)
314.6
(12.386)
314.4
(12.378)
195.4
(7.693)
188.8
(7.433)
85.8
(3.378)
85.6
(3.37)
60.8
(2.394)
1,857.7
(73.138)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 2
(0.8)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
1
(0.4)
4
(1.6)
ความชื้นร้อยละ 66 64 66 68 72 79 80 75 73 67 67 66 70
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 11.1 9.9 12.5 10.8 10.6 13.5 11.6 9.8 9.7 6.2 9.0 10.0 124.7
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 1.2 0.9 0.2 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.0 0.2 2.5
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 102.8 119.7 148.5 174.7 184.4 135.3 178.7 210.7 172.8 181.4 137.9 119.1 1,866
แหล่งที่มา 1: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[2]
แหล่งที่มา 2: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (รายงาน)[3]

การคมนาคม

รถไฟระหว่างเมือง โดย คีวชู
รถรางในเมือง
อากาศยาน

เมืองพี่น้อง

อ้างอิง

  1. Boxer, The Christian Century In Japan 1549-1650, p. 100-101
  2. "平年値(年・月ごとの値)". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 2011-12-02.
  3. "観測史上1~10位の値(年間を通じての値)". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 2011-12-02.

แหล่งข้อมูลอื่น