สึ (เมือง)
สึ 津市 | |
---|---|
ที่ตั้งของสึ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดมิเอะ | |
พิกัด: 34°43′6.4″N 136°30′20.6″E / 34.718444°N 136.505722°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันไซ, โทไก |
จังหวัด | มิเอะ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ยาซูยูกิ มาเอบะ (ตั้งแต่พฤษภาคม ค.ศ. 2011) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 711.11 ตร.กม. (274.56 ตร.ไมล์) |
ประชากร (สิงหาคม ค.ศ. 2021) | |
• ทั้งหมด | 274,879 คน |
• ความหนาแน่น | 390 คน/ตร.กม. (1,000 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | เคยากิ, เซลโควาญี่ปุ่น (Zelkova serrata) |
• ดอกไม้ | อาซาเลีย |
• นก | นกกระจ้อยญี่ปุ่น |
โทรศัพท์ | 059-229-3110 |
ที่อยู่สำนักงาน | 23-1 Nishi-Marunouchi, Tsu-shi, Mie-ken 514-8611 |
เว็บไซต์ | www |
สึ (ญี่ปุ่น: 津市; โรมาจิ: Tsu-shi) เป็นนครและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลเมื่อ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2021[update] นครสึมีประชากรประมาณ 274,879 คน 127,273 หลังคาเรือน มีความหนาแน่นของประชากร 390 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 711.11 ตารางกิโลเมตร (274.56 ตารางไมล์) แม้ว่านครสึจะเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของจังหวัดในด้านจำนวนประชากร แต่ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเมืองหลวงของจังหวัด และจากการที่มีสำนักงานรัฐบาลส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาจำนวนมากทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางทั้งด้านการปกครองและการศึกษาของจังหวัดมิเอะ
ประวัติศาสตร์
[แก้]จุดเริ่มต้น
[แก้]เดิมทีสึได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองท่าที่เรียกว่า อานตสึ (安濃津) ในยุคนาระและยุคเฮอัง ต่อมาท่าเรือนี้ได้ถูกคลื่นสึนามิทำลายในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในนังไกโดยุคเมโอเมื่อ ค.ศ. 1498
-
คิตะบาตาเกะ อากิโยชิ
-
สวนในบ้านพักของตระกูลคิตะบาตาเกะ (ศาลเจ้าคิตะบาตาเกะ)
ยุคเอโดะ
[แก้]เมืองนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในฐานะเมืองปราสาทและสถานีพักสินค้าโดยตระกูลโทโด ไดเมียวแห่งแคว้นศักดินาสึที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ในยุคเอโดะ ที่แห่งนี้กลายเป็นจุดแวะพักยอดนิยมของนักเดินทางที่มายังศาลเจ้าอิเซะ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร
-
แผนที่ของปราสาททาเงะ หรือปราสาทคิริยามะ ในสมัยเอโดะ
สึในสมัยใหม่
[แก้]หลังจากการฟื้นฟูเมจิ สึได้กลายเป็นเมืองหลวงของจังหวัดมิเอะใน ค.ศ. 1871 และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 สึเป็นหนึ่งในเทศบาลนคร 31 แห่งแรกของประเทศญี่ปุ่น อาณาเขตของเทศบาลนครสึได้ขยายขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผนวกรวมกับหมู่บ้านทาเตเบะ และหมู่บ้านโทซะใน ค.ศ. 1909, เมืองชิมมาจิใน ค.ศ. 1934, หมู่บ้านฟูจิมิใน ค.ศ. 1936, หมู่บ้านทากาจายะใน ค.ศ. 1939 และหมู่บ้านอันโตะ หมู่บ้านคัมเบะ และหมู่บ้านคูชิงาตะใน ค.ศ. 1943
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 24 และ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ได้ทำลายเมืองส่วนใหญ่และคร่าชีวิตผู้คนไป 1,239 คน นครสึได้ผนวกกับหมู่บ้านข้างเคียง ได้แก่ หมู่บ้านคูโคซุใน ค.ศ. 1953, เมืองอิชชินเด็ง เมืองชิรัตสึกะ หมู่บ้านคูริมะ และหมู่บ้านคาตาดะใน ค.ศ. 1954, และหมู่บ้านโทโยซาโตะใน ค.ศ. 1973
วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006 เทศบาลข้างเคียง ได้แก่ นครฮิซาอิ, เมืองอาโน เมืองเกโน เมืองคาวาเงะ หมู่บ้านมิซาโตะ (ทั้งหมดอยู่ในอำเภออาเงะ), เมืองฮากูซัง เมืองอิจิชิ เมืองคาราซุ และหมู่บ้านมิซูงิ (ทั้งหมดอยู่ในอำเภออิจิชิ) ได้ผนวกเข้ากับนครสึ ผลของการควบรวมเทศบาลครั้งนี้ ทำให้นครสึนี้กลายเป็นเทศบาลที่ใหญ่เป็นอันดับสองในจังหวัดมิเอะในด้านจำนวนประชากรรองจากนครยกกาอิจิ และใหญ่ที่สุดในจังหวัดมิเอะในด้านขนาดพื้นที่นำหน้านครมัตสึซากะ
ภูมิศาสตร์
[แก้]นครสึตั้งอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรคิอิ ตอนกลางของจังหวัดมิเอะ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดมิเอะในแง่ของพื้นที่ โดยมีอาณาบริเวณตลอดความกว้างของจังหวัดมิเอะ ทางทิศตะวันออกติดกับอ่าวอิเซะ มหาสมุทรแปซิฟิก และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดนาระ บางส่วนของเมืองอยู่ในขอบเขตของกึ่งอุทยานแห่งชาติมูโร-อากาเมะ-อาโอยามะ
อาณาเขตติดต่อ
[แก้]- ทิศเหนือ: นครซูซูกะ และนครคาเมยามะ จังหวัดมิเอะ
- ทิศตะวันออก: อ่าวอิเซะ
- ทิศใต้: นครมัตสึซากะ จังหวัดมิเอะ
- ทิศตะวันตก: นครอิงะ และนครนาบาริ จังหวัดมิเอะ, หมู่บ้านโซนิ และหมู่บ้านมิตสึเอะ จังหวัดนาระ
ภูมิอากาศ
[แก้]นครสึมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (เคิพเพิน Cfa) โดยมีลักษณะเฉพาะคือฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่เย็นสบายโดยมีหิมะตกเล็กน้อยไปจนถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในนครสึอยู่ที่ 15.6 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,931 มิลลิเมตร โดยมีเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดจะอยู่ในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 26.7 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 5.0 °C[2] นครสึมีหยาดน้ำฟ้าตกตลอดทั้งปี แต่จะตกหนักที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน
ข้อมูลภูมิอากาศของสึ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะรุนแรง 1889−ปัจจุบัน) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 19.0 (66.2) |
22.8 (73) |
25.9 (78.6) |
31.0 (87.8) |
33.9 (93) |
36.7 (98.1) |
39.1 (102.4) |
39.5 (103.1) |
37.7 (99.9) |
31.0 (87.8) |
27.2 (81) |
23.7 (74.7) |
39.5 (103.1) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 9.5 (49.1) |
10.0 (50) |
13.4 (56.1) |
18.6 (65.5) |
23.1 (73.6) |
26.2 (79.2) |
30.4 (86.7) |
31.6 (88.9) |
28.0 (82.4) |
22.6 (72.7) |
17.1 (62.8) |
12.0 (53.6) |
20.2 (68.4) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 5.7 (42.3) |
5.9 (42.6) |
9.0 (48.2) |
14.2 (57.6) |
19.0 (66.2) |
22.7 (72.9) |
26.8 (80.2) |
27.9 (82.2) |
24.4 (75.9) |
18.8 (65.8) |
13.2 (55.8) |
8.1 (46.6) |
16.3 (61.3) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 2.4 (36.3) |
2.4 (36.3) |
5.2 (41.4) |
10.2 (50.4) |
15.4 (59.7) |
19.7 (67.5) |
24.0 (75.2) |
25.0 (77) |
21.4 (70.5) |
15.5 (59.9) |
9.5 (49.1) |
4.6 (40.3) |
12.9 (55.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -7.8 (18) |
-7.0 (19.4) |
-5.6 (21.9) |
-3.0 (26.6) |
3.0 (37.4) |
9.0 (48.2) |
14.6 (58.3) |
14.6 (58.3) |
8.7 (47.7) |
2.3 (36.1) |
-1.4 (29.5) |
-6.4 (20.5) |
−7.8 (18) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 48.5 (1.909) |
57.1 (2.248) |
104.5 (4.114) |
129.0 (5.079) |
167.3 (6.587) |
201.8 (7.945) |
173.9 (6.846) |
144.5 (5.689) |
276.6 (10.89) |
186.1 (7.327) |
76.4 (3.008) |
47.2 (1.858) |
1,612.9 (63.5) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 2 (0.8) |
3 (1.2) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
1 (0.4) |
6 (2.4) |
ความชื้นร้อยละ | 61 | 61 | 62 | 64 | 68 | 74 | 75 | 73 | 72 | 69 | 65 | 63 | 67 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) | 6.4 | 7.5 | 10.5 | 9.8 | 10.9 | 12.8 | 12.3 | 9.8 | 12.3 | 10.1 | 6.8 | 6.5 | 115.7 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 162.9 | 156.2 | 186.1 | 192.7 | 197.8 | 146.9 | 180.2 | 220.7 | 165.3 | 164.5 | 163.7 | 171.5 | 2,108.6 |
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[3] |
ประชากร
[แก้]ตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] จำนวนประชากรของนครสึ ค่อนข้างคงที่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1960 | 226,065 | — |
1970 | 242,000 | +7.0% |
1980 | 265,443 | +9.7% |
1990 | 280,384 | +5.6% |
2000 | 286,521 | +2.2% |
2010 | 285,728 | −0.3% |
การเมืองการปกครอง
[แก้]นครสึมีรูปแบบการปกครองแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครที่เป็นสภาเดี่ยว มีสมาชิก 34 คน ในการเมืองระดับจังหวัด นครสึเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดมิเอะจำนวน 7 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครสึเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งมิเอะ เขต 1 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตอนกลาง: สายหลักคิเซ
- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตอนกลาง: สายเมโช
- สถานี: อิเซะ-ฮาตะ – อิจิชิ – อิเซงิ – อิเซะ-โออิ – อิเซะ-คาวางูจิ – เซกิโนมิยะ – อิเอกิ – อิเซะ-ทาเกฮาระ – อิเซะ-คามากูระ – อิเซะ-ยาจิ – ฮิตสึ – อิเซะ-โอกิตสึ
- รถไฟคินเท็ตสึ: สายนาโงยะ
- สถานี: ชิซาโตะ – โทยตสึ-อูเอโนะ – ชิรัตสึกะ – ทากาดาฮนซัง – เอโดบาชิ – สึ – สึ-ชิมมาจิ – มินามิงาโอกะ – ฮิซาอิ – โมโมโซโนะ
- รถไฟคินเท็ตสึ: สายโอซากะ
- สถานี: ฮิงาชิ-อาโอยามะ – ซากากิบาระ-อนเซ็งงูจิ – โอมิตสึ – อิเซะ-อิชิบาชิ – คาวาอิ-ทากาโอกะ
- รถไฟอิเซะ: สายอิเซะ
- สถานี: อิเซะ-อูเอโนะ – คาวาเงะ – ฮิงาชิ-อิชินเด็ง – สึ
ทางหลวง
[แก้]ทางด่วน
[แก้]ทางหลวงแผ่นดิน
[แก้]- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 163
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 165
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 368
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 369
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 422
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306
ท่าเรือ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สถิติทางการของนครสึ" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศนครสึ
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ May 19, 2021.
- ↑ สถิติประชากรนครสึ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สึ
- เว็บไซต์ทางการ