ขุนนางฝรั่งเศส
ขุนนางฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: la noblesse française) เป็นชนชั้นทางสังคมที่ได้รับอภิสิทธิ์ในฝรั่งเศส ตั้งแต่ยุคกลางจนกระทั่งมีการยกเลิก เมื่อวันที่ 23 มิถุยายน ค.ศ. 1790 ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
ตั้งแต่ ค.ศ. 1808[1] ถึง ค.ศ. 1815 ในช่วงจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์[2] ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นขุนนางใหม่ตามกฎบัตร เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1814 ซึ่งได้รับการยินยอมจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส[3]
ตั้งแต่ ค.ศ. 1814 ถึง ค.ศ. 1848 (การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงในฝรั่งเศสและราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม) และตั้งแต่ ค.ศ. 1852 ถึง ค.ศ. 1870 (จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง) ขุนนางฝรั่งเศสได้รับการฟื้นฟูในฐานะผู้ที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ที่ได้รับการสืบทอดทางสายเลือดโดยปราศจากอภิสิทธิ์และผู้ที่มียศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้รับการสืบทอดทางสายเลือดรุ่นใหม่ที่ได้รับการยินยอม ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870 ขุนนางฝรั่งเศสนั้นแทบจะไม่มีอยู่เลยและไม่มีสถานะทางกฎหมาย[4][5][6][7]
ครอบครัวตระกูลขุนนางฝรั่งเศสนั้นอาจมีจุดกำเนิดอยู่สองประการตามหลักการของขุนนาง: ครอบครัวตระกูลขุนนางเก่าแก่ และครอบครัวตระกูลขุนนางที่ได้รับการแต่งตั้ง[8]
แหล่งข้อมูลที่แตกต่างเกี่ยวกับจำนวนที่แท้จริงของครอบครัวชาวฝรั่งเศสที่มีเชื้อสายขุนนาง แต่เห็นพ้องต้องกันว่ามันเป็นสัดส่วนระหว่างชนชั้นขุนนางที่เล็กที่สุดในยุโรป ในปี ค.ศ. 1789 นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสนามว่า ฟร็องซัว บลูเช ได้ให้จำนวนตัวเลขของขุนนางประมาณ 140,000 คน (ครอบครัวตระกูลขุนนางจำนวน 9,000 ตระกูล) และระบุว่าประมาณ 5% ของขุนนางที่กล่าวอ้างสิทธิ์จากการสืบเชื้อสายจากขุนนางศักดินาก่อนช่วงศตวรรษที่ 15[9] ด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด 28 ล้านคน เช่นนี้จึงคิดเป็นเพียง 0.5% นักประวัติศาสตร์นามว่า กอร์ดอน ไรต์ ได้ให้จำนวนตัวเลขของขุนนางประมาณ 300,000 คน (โดยมีจำนวน 80,000 คน ที่มาจากขุนนางแห่งดาบ(noblesse d'épée)มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล)[10] ซึ่งได้รับเห็นชอบกับการคาดคะเนของนักประวัติศาสตร์นามว่า ฌ็อง เดอ วิเกอรี[11] หรือมากกว่าเพียงเล็กน้อย 1% ในเรื่องของการถือครองที่ดิน ในช่วงเวลาของการปฏิวัติ อสังหาริมทรัพย์ของขุนนางประกอบด้วยประมาณหนึ่งในห้าของที่ดิน[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bulletin des lois de la République française, 1808, page 177.
- ↑ Thierry Lentz, Le Premier Empire: 1804 – 1815, Fayard 2018, page 342.
- ↑ Charter of 4 June 1814.
- ↑ Répertoire général alphabétique du droit français, 1901, page 533.
- ↑ Régis Valette, Catalogue de la noblesse française au XXIe siècle, Robert Laffont, 2007, pages 12-13.]
- ↑ Didier Lancien, Monique de Saint-Martin, Anciennes et nouvelles aristocraties de 1880 à nos jours, Les Editions de la MSH, 2014, page 232.
- ↑ William Stearns Davis, A History of France from the Earliest Times to the Treaty of Versailles, 1919, page 537.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อClinchamps13
- ↑ Bluche, 84.
- ↑ Wright, 15.
- ↑ Viguerie, 1232.
- ↑ Hobsbawm, 57, citing Henri Eugène Sée's Esquisse d'une histoire du régime agraire en Europe aux XVIIIe et XIXe siècles (1991).