ข้ามไปเนื้อหา

คริสตจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร[1] (ศัพท์คาทอลิก) (อังกฤษ: Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาป[2] ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้าย

ความหมาย

[แก้]

คำว่า church มีที่มาจากศัพท์ภาษากรีกว่า ekklesia ซึ่งแปลว่า รวมตัวกัน ที่ประชุม การประชุม[3] เมื่อนำคำนี้มาใช้ในคริสต์ศาสนา จึงหมายถึงประชาคมของผู้เชื่อในพระเยซูที่มีทั่วทั้งโลก และยังใช้หมายถึงสถานที่ประชุมของคริสตชนเพื่อประกอบพิธีนมัสการพระเจ้าด้วย คำว่าคริสตจักรในความหมายอย่างหลังนี้มักเรียกโดยทั่วไปว่า โบสถ์คริสต์

คริสตจักรต่าง ๆ ในปัจจุบัน

[แก้]

แม้ว่าคริสตชนทุกคนจะเป็นหนึ่งเดียวกันในความเชื่อเรื่องการไถ่บาปของพระเยซู แต่ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์ก็ทำให้คริสตชนมีความเชื่อปลีกย่อยอื่น ๆ พิธีกรรม และการจัดระบบองค์กรคริสตจักรไว้แตกต่างกัน ในปัจจุบันคริสตจักรจึงถูกแบ่งเป็นนิกายย่อยต่าง ๆ มากมาย โดยมีคริสตจักรสำคัญอยู่ 3 คริสตจักร คือ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์ทอดอกซ์ เฉพาะนิกายโปรเตสแตนต์ก็ประกอบด้วยหลายคริสตจักรย่อย เช่น ลูเทอแรน เพรสไบทีเรียน แองกลิคัน แบปทิสต์ เซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ เป็นต้น

คริสตจักรในประเทศไทย

[แก้]

ปัจจุบันประเทศไทย มีองค์กรคริสตจักรที่กรมการศาสนารับรองอยู่ 5 องค์กร[4] คือ

  1. สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ปกครองคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย
  2. สภาคริสตจักรในประเทศไทย ปกครองคณะเพรสไบทีเรียน คณะคริสเตียนเชิร์ช (ดิสไซเปิลส์ออฟไครส์) คณะลูเทอแรนเชิร์ชออฟอเมริกา ในประเทศไทย เป็นต้น
  3. สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ปกครองคณะคริสเตียนแอนด์มิชชันนารีอไลแอนส์ คณะเวิร์ลด์ไวด์อีแวนเจไลเซชั่นครูเสด ในประเทศไทย เป็นต้น
  4. มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ ปกครองคริสตจักรแบปทิสต์ในประเทศไทย
  5. มูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย ปกครองเซเวนต์เดย์แอดเวนทิสต์ในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมี

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติศาสตร์พระศาสนจักร
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152
  3. ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์, หลักความเชื่อคริสเตียนและศาสนศาสตร์ระบบ, สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร, 2550, หน้า 186
  4. กรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 55-64
  5. "สภาคริสตจักรลูเธอร์แรนในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-17. สืบค้นเมื่อ 2011-04-13.
  6. "มูลนิธิคริสต์ศาสนิกชนดั้งเดิมออร์โธดอกซ์ในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2011-04-13.

ดูเพิ่ม

[แก้]