ข้ามไปเนื้อหา

คิล ลา คิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คิล ลา คิล
キルラキル
(Kiru Ra Kiru)
ชื่อภาษาอังกฤษKill la Kill
แนว
สร้างโดย
อนิเมะโทรทัศน์
กำกับโดยฮิโรยูกิ อิมาอิชิ
เขียนบทโดยคาซูกิ นากาชิมมะ
ดนตรีโดยฮิโรยูกิ ซาวาโนะ
สตูดิโอสตูดิโอทริกเกอร์
เครือข่ายJNN (MBS, TBS, CBC,
BS-TBS)
ฉาย 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556 28 มีนาคม พ.ศ. 2557
ตอน24 + โอวีเอ
มังงะ
วาดภาพโดยเรียว อิกิซูกิ
สำนักพิมพ์คาโดกาวะโชเต็ง
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทยรักพิมพ์
นิตยสารยังเอช
กลุ่มเป้าหมายเซเน็ง
วางจำหน่ายตั้งแต่4 ตุลาคม พ.ศ. 25564 มีนาคม พ.ศ. 2558
จำนวนเล่ม3
icon สถานีย่อยการ์ตูนญี่ปุ่น

คิล ลา คิล (ญี่ปุ่น: キルラキルโรมาจิKiru Ra Kiru)[a] เป็นซีรีส์อนิเมะญี่ปุ่น ผลิตโดยสตูดิโอทริกเกอร์ เรื่องราวเกี่ยวกับนักเรียนหญิงพเนจรนามมาโทอิ เรียวโกะ กับการตามหาฆาตกรผู้ฆ่าพ่อ นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างเธอกับคิริวอิน ซัตสึกิ ประธานสภานักเรียนผู้ถือตนเป็นที่ตั้งแห่งโรงเรียนฮอนโนจิ และจักรวรรดิแฟชั่นของคิริวอิน ราเกียว แม่ของซัตสึกิ เรียวโกะ, ซัตสึกิ และคนอื่น ๆ ได้รับพลังพิเศษในการต่อสู้จากเสื้อผ้าซึ่งดูจะมีเจตจำนงของตนเอง

ซีรีส์อนิเมะคิล ลา คิลเป็นโครงการอนิเมะโทรทัศน์ออริจินัลโครงการแรกของสตูดิโอทริกเกอร์ กำกับโดยฮิโรยูกิ อิมาอิชิ เขียนบทโดยคาซูกิ นากาชิมะ ทั้งคู่เคยทำงานร่วมกันในซีรีส์อนิเมะ อภินิหารหุ่นทะลวงสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2550 และจะทำงานร่วมกันอีกในซีรีส์อนิเมะ Promare ในปี พ.ศ. 2562 คิล ลา คิล ออกอากาศในประเทศญี่ปุ่นทางผังรายการ Animeism ของช่อง MBS ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2557 ออริจินัลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีโอ) วางจำหน่ายในฐานะตอนที่ 25 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 มังงะดัดแปลงวาดภาพโดยเรียว อากิซูกิ ตีพิมพ์ในนิตยสารยังเอช ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2558 มังงะมีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์รักพิมพ์ วิดีโอเกมดัดแปลงชื่อว่า Kill la Kill the Game: IF วางจำหน่ายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 โดยมีความแตกต่างจากเส้นเรื่องหลักของอนิเมะเล็กน้อย

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ออกเสียง [kʲiɾɯ̟ᵝ ɾa̠ kʲiɾɯ̟ᵝ] ชื่อเรื่องเป็นการเล่นคำกับคำภาษาอังกฤษว่า kill (ออกเสียงว่า คิรุ ในภาษาญี่ปุ่น) และคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นว่า คิรุ (切る, "ตัด, หั่น, เฉือน") และ คิรุ (着る, "สวม (บนร่างกายส่วนบน)") คำว่า ระ อาจอ่านจากอักษร 裸 ("เปลือย") หรือ 羅 ("เสื้อผ้าเบาบาง, ผ้าไหม")[5][6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Harding, Xavier (February 8, 2015). "Kill La Kill English Dub Episode 1 Premiere: How Does Toonami's Attack On Titan Replacement Stack Up? [VIDEO]". iDigitalTimes. IBT Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2015. สืบค้นเมื่อ April 20, 2015.
  2. 2.0 2.1 Bailey, Kat; Sliva, Marty (January 30, 2014). "9 Anime That Would Make Great Video Games". IGN. สืบค้นเมื่อ April 20, 2015. Article was updated from its original. Bailey, Kat (January 30, 2015). "6 Animes [ตามต้นฉบับ] That Would Make Great Video Games". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2014.
  3. Logarta, Michael (April 14, 2014). "No-holds-barred insanity in 'Kill la Kill'". SciTech - GMA News Online. GMA Network.
  4. Romano, Aja (April 3, 2014). "Kill La Kill: How the year's most polarizing anime became a smash hit". The Daily Dot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2015. สืบค้นเมื่อ April 20, 2015.
  5. "Kill la Kill Is a Rare Breed of Anime". Kotaku. April 4, 2014.
  6. "Does Kill La Kill Have A Manga? & 9 Other Questions About The Series, Answered". CBR. May 18, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]