ข้ามไปเนื้อหา

คุรุโควินทสิงห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุรุโควินทสิงห์
Guru Gobind Singh Ji
คุรุโควินทสิงห์ถือเหยี่ยว นำกองกำลังขาลสา
เกิดโควินทะ ราย
5 มกราคม ค.ศ. 1666
ตัขตะศรีปัฏนาสาหิบ นครปัฏนา (ประเทศอินเดียในปัจจุบัน)
เสียชีวิต7 ตุลาคม ค.ศ. 1708(1708-10-07) (41 ปี)
หชูรสาหิบ (ประเทศอินเดียในปัจจุบัน)
สาเหตุเสียชีวิตบาดแผล
ชื่ออื่นนานักองค์ที่ 10[1]
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งขาลสา[2]
ประพันธ์ชาปสาหิพ, จัณฑี ที วาร เป็นต้น
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนคุรุเตฆ์บะฮาดุร
ผู้สืบตำแหน่งคุรุครันถสาหิพ
คู่สมรสมาตาชีโต, มาตาสุนทรี และมาตาสาหิบทีวาน[3]
บุตรอชีตสิงห์
ชุฌารสิงห์
โชราวรสิงห์
ฟะเตฮ์ สิงห์
บิดามารดาคุรุเตฆ์บะฮาดุร, มาตาคูชรี

คุรุโควินทสิงห์ หรือ คุรุโคพินทสิงห์ (5 มกราคม ค.ศ. 1666 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 1708),[4][5] มีพระนามเดิมว่า โควินทะ ราย เป็นคุรุซิกข์องค์ที่ 10 อาจารย์ทางจิตวิญญาณ นักรบ กวี และนักปรัชญา เมื่อคุรุเตฆ์บะฮาดุรพระบิดาของท่านถูกประหารตัดพระเศียรเพราะไม่ยอมเข้ารับอิสลาม[6][7] ท่านจึงกลายเป็นผู้นำชาวซิกข์แทนทั้งที่มีพระชนมายุได้เพียง 9 พรรษา[8] โอรสทั้งสี่คนของท่านเสียชีวิตขณะท่านยังมีพระชนม์อยู่ โดยสองท่านเสียชีวิตในสงคราม อีกสองท่านถูกกองทัพจักรวรรดิโมกุลประหาร[9][10][11]

ท่านทรงสร้างคุณูปการไว้หลายประการต่อศาสนาซิกข์ รวมทั้งการสร้างกองกำลังนักรบเรียกว่า "ขาลสา" ในปี ค.ศ. 1699[2][12][13] และบัญญัติ "ก 5 ประการ" อันเป็นหลักความเชื่อที่ชาวขาลสาต้องปฏิบัติตามตลอดชีวิต นอกจากนี้ท่านยังทำให้ศาสนาซิกข์มีรูปแบบมากขึ้น ประพันธ์คัมภีร์สำคัญ ๆ ไว้หลายเล่ม[14][15] และตั้ง "คุรุครันถสาหิพ" เป็นคุรุแทนไว้ตลอดกาล[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pashaura Singh; Louis E. Fenech (2014). The Oxford Handbook of Sikh Studies. Oxford University Press. p. 311. ISBN 978-0-19-969930-8.
  2. 2.0 2.1 Arvind-Pal Singh Mandair; Christopher Shackle; Gurharpal Singh (2013). Sikh Religion, Culture and Ethnicity. Routledge. pp. 25–28. ISBN 978-1-136-84627-4.
  3. Dhillon, Dr Dalbir Singh (1988). Sikhism – Origin and Development. Atlantic Publishers and Distributors. p. 144. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กันยายน 2016.
  4. Ganda Singh. "GOBIND SINGH, GURU (1666-1708)". Encyclopaedia of Sikhism. Punjabi University Patiala. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2016.
  5. Owen Cole, William; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practice. Sussex Academic Press. p. 36.
  6. Guru Tegh Bahadur เก็บถาวร 14 เมษายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน BBC Religions (2009)
  7. Everett Jenkins, Jr. (2000). The Muslim Diaspora (Volume 2, 1500-1799): A Comprehensive Chronology of the Spread of Islam in Asia, Africa, Europe and the Americas. McFarland. p. 200. ISBN 978-1-4766-0889-1.
  8. Jon Mayled (2002). Sikhism. Heinemann. p. 12. ISBN 978-0-435-33627-1.
  9. Chris Seiple; Dennis Hoover; Pauletta Otis (2013). The Routledge Handbook of Religion and Security. Routledge. p. 93. ISBN 978-0-415-66744-9.;
    John F. Richards (1995). The Mughal Empire. Cambridge University Press. pp. 255–258. ISBN 978-0-521-56603-2.
  10. "The Sikh Review". Sikh Cultural Centre. 20 (218–229): 28. 1972.
  11. Hardip Singh Syan (2013). Sikh Militancy in the Seventeenth Century: Religious Violence in Mughal and Early Modern India. I.B.Tauris. pp. 218–222. ISBN 978-1-78076-250-0.
  12. "BBC Religions - Sikhism". BBC. 26 ตุลาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2011.
  13. P Dhavan (2011). When Sparrows Became Hawks: The Making of the Sikh Warrior Tradition, 1699-1799. Oxford University Press. pp. 3–4. ISBN 978-0-19-975655-1.
  14. Singh, Patwant; (2000). The Sikhs. Alfred A Knopf Publishing. Pages 17. ISBN 0-375-40728-6.
  15. "A Biography of Guru Guru Nanak on BBC". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2011.
  16. Christopher Shelke (2009). Divine covenant: rainbow of religions and cultures. Gregorian Press. p. 199. ISBN 978-88-7839-143-7.