ข้ามไปเนื้อหา

คูนิตาจิ

พิกัด: 35°41′2.1″N 139°26′29″E / 35.683917°N 139.44139°E / 35.683917; 139.44139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คูนิตาจิ

国立市
ถนนไดงากุหน้าสถานีรถไฟคูนิตาจิ, ศาลาว่าการนครคูนิตาจิ, ศาลเจ้ายาโบะเท็มมังงู
ธงของคูนิตาจิ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของคูนิตาจิ
ตรา
ที่ตั้งของคูนิตาจิ (เน้นสีชมพู) ในมหานครโตเกียว
ที่ตั้งของคูนิตาจิ (เน้นสีชมพู) ในมหานครโตเกียว
คูนิตาจิตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
คูนิตาจิ
คูนิตาจิ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°41′2.1″N 139°26′29″E / 35.683917°N 139.44139°E / 35.683917; 139.44139
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดโตเกียว มหานครโตเกียว
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีคาซูโอะ ซาโตะ (ตั้งแต่เมษายน 2011)
พื้นที่
 • ทั้งหมด8.15 ตร.กม. (3.15 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (เมษายน 2021)
 • ทั้งหมด76,423 คน
 • ความหนาแน่น9,400 คน/ตร.กม. (24,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
• ต้นไม้แปะก๊วย
• ดอกไม้บ๊วย
• นกนกติ๊ดใหญ่ (Great tit)
โทรศัพท์042-576-2111
ที่อยู่2-47-1 Fujimi-dai, Kunitachi-shi, Tokyo 186-0501
เว็บไซต์www.city.kunitachi.tokyo.jp

คูนิตาจิ (ญี่ปุ่น: 国立市โรมาจิKunitachi-shi) เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในส่วนตะวันตกของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 8.15 ตารางกิโลเมตร (3.15 ตารางไมล์) ข้อมูลเมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 2021 (2021 -04-01) มีจำนวนประชากรประมาณ 76,423 คน 38,825 หลังคาเรือน และมีความหนาแน่นของประชากร 9,400 คนต่อตารางกิโลเมตร ประมาณ 41.9% ของประชากรทั้งหมดของคูนิตาจิมีอายุมากกว่า 65 ปี[1]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

คูนิตาจิตั้งอยู่บนที่ราบสูงมูซาชิโนะ อยู่บริเวณกึ่งกลางของมหานครโตเกียว คูนิตาจิเป็นที่รู้จักจากถนนกลางเมืองสายหนึ่งที่ชื่อ ไดงากุโดริ (ถนนมหาวิทยาลัย) ซึ่งเป็นถนนที่มีต้นซากูระเรียงรายทอดยาวจากสถานีรถไฟคูนิตาจิของทางรถไฟสายหลักชูโอ ไปจนถึงสถานีรถไฟยาโฮะของทางรถไฟสายนัมบุ

เทศบาลโดยรอบ

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

คูนิตาจิมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (เคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่เย็นสบาย โดยมีหิมะตกน้อยไปจนถึงไม่มีหิมะตก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในคูนิตาจิอยู่ที่ 13.9 °C ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1,647 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงที่สุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 25.4 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 2.5 °C[2]

ประชากร

[แก้]

จากข้อมูลสำมะโนของญี่ปุ่น[3] ประชากรของคูนิตาจิค่อนข้างคงที่ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1920 2,611—    
1930 3,814+46.1%
1940 10,052+163.6%
1950 14,679+46.0%
1960 32,609+122.1%
1970 59,709+83.1%
1980 64,144+7.4%
1990 65,833+2.6%
2000 72,187+9.7%
2010 75,505+4.6%

ประวัติศาสตร์

[แก้]

บริเวณที่เป็นคูนิตาจิในปัจจุบันตั้งอยู่ตามเส้นทางสายประวัติศาสตร์ที่มีชื่อว่า โคชูไกโด ซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมเอโดะกับโคฟุในแคว้นคาอิ (ปัจจุบันคือจังหวัดยามานาชิ) บริเวณนี้ขึ้นชื่อเรื่องแหล่งน้ำแร่ที่อุดมสมบูรณ์

ในช่วงที่มีการจัดตั้งระบบเทศบาลขึ้นในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการก่อตั้งหมู่บ้านยาโฮะ อาโอยางิ และยาโบะ โดยอยู่ภายในอำเภอทามะ ต่อมา ค.ศ. 1893 อำเภอทามะได้โอนย้ายจากจังหวัดคานางาวะไปอยู่ภายใต้การปกครองของโตเกียว ใน ค.ศ. 1920 โคจิโระ สึตสึมิ ผู้ก่อตั้งบริษัทเซบุโฮลดิงส์ ได้ครอบครองที่ดินส่วนใหญ่ในบริเวณนี้ และได้เริ่มพัฒนาชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งเขาตั้งใจจะให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยโดยมีเกิททิงเงิน ประเทศเยอรมนี เป็นต้นแบบ มหาวิทยาลัยพาณิชยการโตเกียว (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิ) ได้ย้ายจากใจกลางโตเกียวมาตั้งอยู่ที่บริเวณนี้ และได้เปิดสถานีรถไฟหนึ่งแห่งบนเส้นทางสายหลักชูโอใน ค.ศ. 1926 ชื่อว่า "คูนิตาจิ" โดยนำคันจิตัวหน้าจากชื่อสถานีก่อนหน้าและถัดไปมาประกอบเป็นชื่อ ซึ่งได้แก่ สถานีรถไฟโคกูบุนจิ และสถานีรถไฟทาจิกาวะ

หมู่บ้านทั้งสามหมู่บ้านดังกล่าวได้ควบรวมกันเพื่อก่อตั้งเป็นเมืองคูนิตาจิเมื่อ ค.ศ. 1951 และได้ยกฐานะเป็นนครคูนิตาจิเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1967

การเมืองการปกครอง

[แก้]

เทศบาลนครคูนิตาจิมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครซึ่งเป็นสภาเดี่ยวมีสมาชิก 22 คน นครคูนิตาจิและนครโคกูบุนจิ ประกอบกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภามหานครโตเกียวจำนวน 2 ที่นั่ง ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครคูนิตาจิเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งโตเกียวที่ 21 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

[แก้]

คูนิตาจิเป็นเมืองมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังเป็นเมืองที่อยู่อาศัยของผู้ไปกลับเป็นประจำระหว่างคูนิตาจิกับใจกลางโตเกียว จากการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2015 พบว่ามีประชากรประมาณ 25.1% ที่เดินทางไปใจกลางโตเกียวในแต่ละวัน

การศึกษา

[แก้]
  • มหาวิทยาลัยฮิตตสึบาชิ
  • คูนิตาจิมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนคร ได้แก่ โรงเรียนประถม 8 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 3 แห่ง โรงเรียนเอกชน ได้แก่ โรงเรียนประถม 3 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 1 แห่ง
  • คูนิตาจิมีโรงเรียนมัธยมปลาย 2 แห่งที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษามหานครโตเกียว และมีโรงเรียนมัธยมปลายเอกชน 3 แห่ง
  • คูนิตาจิเดิมเคยเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยดนตรีคูนิตาจิ แต่ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ทาจิกาวะ

การขนส่ง

[แก้]

รถไฟ

[แก้]

ทางหลวง

[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สถิติทางการของนครคูนิตาจิ" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-04. สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
  2. ข้อมูลภูมิอากาศคูนิตาจิ
  3. สถิติประชากรคูนิตาจิ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]