ฉ่ำ จำรัสเนตร
ฉ่ำ จำรัสเนตร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 มกราคม พ.ศ. 2441 อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช |
เสียชีวิต | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2521 (80 ปี) |
พรรคการเมือง | พรรคสหภูมิ |
ฉ่ำ จำรัสเนตร เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 5 สมัย ระหว่างห้วงปี พ.ศ. 2480 จนถึงปี พ.ศ. 2500
ประวัติ
[แก้]นายฉ่ำเกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2441 ที่ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นได้เข้ารับราชการเป็นครูประชาบาลโรงเรียนเทศบาลวัดชนะสงคราม ต่อมาได้โอนไปรับราชการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เนื่องจากมีโอกาสคุ้นเคยกับหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เมื่อครั้งเกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[1]
ฉ่ำ จำรัสเนตร เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2480 และได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2481 โดยกลวิธีของนายฉ่ำคือทำตัวเสมือนคนบ้า ด้วยการสร้างเรื่องแปลก เช่น การขี่ควายเข้าสภาฯ ถอดเสื้อในสภาฯ หรือตีลังกาเดินเอาหัวลง โดยมีความนัยแฝง อาทิ การตีลังกาเดินเอาหัวลงเพื่อแสดงว่าบ้านเมืองนั้นเกิดวิกลวิกาลขึ้นแล้ว ถึงกับคนเดินเอาหัวลง[1]
ฉ่ำ กลับมาได้รับเลือกเป็น ส.ส. อีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 ซึ่งการทำหน้าที่ ส.ส.ในสภาชุดนี้เองที่นายฉ่ำ มีบทบาทสำคัญในการตั้งกระทู้ถามรัฐบาลในขณะนั้นว่า “ทำไมรัฐบาลจึงซื้อเครื่องใช้ในการสงครามเกินสมควร เพราะเหตุใด และได้ซื้อเครื่องใช้เกี่ยวกับการสงครามจากต่างประเทศเป็นจำนวนเงินเท่าใด”[2]
ฉ่ำ ได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัยติดต่อกันในปี พ.ศ. 2500 คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคธรรมาธิปัตย์ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคสหภูมิ
คดีความ
[แก้]นายฉ่ำ ถูกจำคุกครั้ง 1 ข้อหาสนับสนุน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในคดีอาชญากรสงคราม (พ.ศ. 2488-2489) ณ เรือนจำลาดยาว และครั้ง 2 ข้อหากบฏ (พ.ศ. 2503-2509) ณ เรือนจำลาดยาว และคุกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[3]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ดูไม้เด็ดคนบ้า ปรมาจารย์การเลือกตั้ง “ฉ่ำ จำรัสเนตร” ทำไมเป็นส.ส.เมืองนครฯถึง 5 สมัย
- ↑ 2493 ฉ่ำ จำรัสเนตร ส.ส.เมืองคอนถามรัฐบาล ซื้อรถถัง 250 คัน เป็นเงินเท่าไร เสียค่านายหน้าเท่าไร?
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๐๖, ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๗, ๑๖ กันยายน ๒๔๘๔