ตำบลห้วยบง (อำเภอด่านขุนทด)
ตำบลห้วยบง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Huai Bong |
พิกัด: 15°06′46″N 101°30′22″E / 15.112891°N 101.506049°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
อำเภอ | ด่านขุนทด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 200.97 ตร.กม. (77.59 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 10,551 คน |
• ความหนาแน่น | 53 คน/ตร.กม. (140 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 30210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 300805 |
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง | |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครราชสีมา |
อำเภอ | ด่านขุนทด |
การปกครอง | |
• นายก | นายเจริญ บัวหลวงงาม |
รหัส อปท. | 06300805 |
ที่อยู่ที่ทำการ | 219 หมู่ที่ 15 ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 30210 |
โทรศัพท์ | 0 4400 2234 |
โทรสาร | 0 4400 2234 |
เว็บไซต์ | www |
ตำบลห้วยบง เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เป็นตำบลที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย ทั้งพื้นที่ของตำบลบริหารโดย องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยบง ตำบลห้วยบงตั้งขึ้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2526 โดยแยกออกจากตำบลหินดาด[2]
อาณาเขตติดต่อ
[แก้]- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองแวง อำเภอเทพารักษ์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลเขาน้อย อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลวังโรงใหญ่ ตำบลกฤษณา ตำบลดอนเมือง อำเภอสีคิ้ว
การจัดตั้งเป็นอำเภอ
[แก้]เมื่อปี พ.ศ. 2532 นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เคยมีการพยายามขอจัดตั้งกิ่งอำเภอห้วยบง โดยตำบลห้วยบง ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด และตำบลวังโรงใหญ่ ตำบลกฤษณา ตำบลดอนเมือง อำเภอสีคิ้ว แต่ไม่ถูกดำเนินการต่อ เนื่องจากเกณฑ์การจัดตั้งอำเภอในขณะนั้น ต้องเป็นตำบลจากพื้นที่อำเภอเดียวกัน[3]
เมื่อปี พ.ศ. 2563 นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงการจัดตั้งอำเภอใหม่ของจังหวัดนครราชสีมาขึ้นใหม่ 4 อำเภอ ซึ่งอำเภอห้วยบงเป็นหนึ่งในอำเภอที่ถูกเสนอจัดตั้งเป็นอำเภอแห่งใหม่ เนื่องจากตำบลห้วยบง ห่างจากตัวอำเภอด่านขุนทด เกือบ 40 กม. จึงความยากลำบากในการบริการประชาชน รวมถึงความห่างไกลของพี่น้องประชาชนที่ต้องเดินทางไปรับบริการที่อำเภอ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการของการเสนอ[4][5]
หมู่บ้าน
[แก้]หมู่บ้านเริ่มแรกที่แยกจัดตั้งตำบลห้วยบง มีทั้งหมด 9 หมู่บ้าน[2] คือ
- หมูที่ 1 บ้านห้วยบง ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 18 ตำบลหินดาด
- หมูที่ 2 บ้านหนองกราดน้อย ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 12 ตำบลหินดาด
- หมูที่ 3 บ้านป่ารังงาม ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 8 ตำบลหินดาด
- หมูที่ 4 บ้านศิลาร่วมสามัคคี ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 16 ตำบลหินดาด
- หมูที่ 5 บ้านน้อยพัฒนา ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 19 ตำบลหินดาด
- หมูที่ 6 บ้านซับพลู ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 10 ตำบลหินดาด
- หมูที่ 7 บ้านซับยาง ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 17 ตำบลหินดาด
- หมูที่ 8 บ้านหนองใหญ่ ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 15 ตำบลหินดาด
- หมูที่ 9 บ้านหินเพิง ตำบลห้วยบง เดิม คือ หมู่ที่ 11 ตำบลหินดาด
ปัจจุบันตำบลห้วยบงแบ่งการปกครองออกเป็น 25 หมู่บ้าน
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ห่างจาก ตัวตำบล (กม.) |
หลังคาเรือน | ประชากร | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ชาย | หญิง | รวม | ||||
- | ทั้งตำบล |
- | 4,055 | 5,354 | 5,197 | 10,551 |
1 | ห้วยบง |
0 | 326 | 354 | 372 | 726 |
2 | หนองกราดน้อย |
7.4 | 252 | 458 | 407 | 865 |
3 | ป่ารังงาม |
8.9 | 183 | 296 | 282 | 578 |
4 | ศิลาร่วมสามัคคี |
12 | 186 | 267 | 254 | 521 |
5 | น้อยพัฒนา |
3.5 | 200 | 238 | 233 | 471 |
6 | ซับพลู |
9.2 | 287 | 396 | 390 | 786 |
7 | ซับยาง |
16 | 175 | 250 | 240 | 490 |
8 | หนองใหญ่ |
11 | 235 | 284 | 292 | 576 |
9 | หินเพิง |
19 | 90 | 111 | 126 | 237 |
10 | ภูผาทอง |
13 | 125 | 169 | 174 | 343 |
11 | วังผาแดง |
9.2 | 124 | 150 | 144 | 294 |
12 | เสาร์ห้า |
5 | 114 | 175 | 164 | 339 |
13 | ไทยสงบ |
12 | 147 | 215 | 204 | 419 |
14 | ซับพลูน้อย |
8 | 188 | 239 | 238 | 477 |
14 | ทรัพย์สมบูรณ์ |
0 | 399 | 242 | 234 | 476 |
16 | ซับไทร |
15 | 117 | 155 | 152 | 307 |
17 | ถ้ำเต่า |
3.5 | 89 | 161 | 166 | 327 |
18 | วังไทรงาม |
22 | 83 | 135 | 128 | 263 |
19 | โนนสะอาด |
14 | 90 | 128 | 133 | 261 |
20 | โปร่งใหญ่ |
4.2 | 169 | 241 | 211 | 452 |
21 | ซับน้ำเย็น |
14 | 52 | 93 | 76 | 169 |
22 | มอสุวรรณ |
7.1 | 109 | 151 | 132 | 283 |
23 | ซับสนุ่น |
10 | 146 | 206 | 195 | 401 |
24 | ห้วยโปร่ง |
8.9 | 112 | 148 | 154 | 302 |
25 | ซับเจริญ |
12 | 57 | 92 | 96 | 188 |
ประชากร
[แก้]ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีวัด 17 แห่ง เส้นทางคมนาคมหลัก คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 (ถนนชัยบาดาล–ด่านขุนทด) ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นหมู่ที่ 15 หมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพค้าขาย
ตำบลห้วยบง มีประชากรทั้งหมด 10,551 คน แบ่งเป็น ชาย 5,354 คน หญิง 5,197 คน ข้อมูล ณ สิ้นปี 2564
|
|
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง: [6] กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย |
ทางหลวง
[แก้]- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 (ชัยบาดาล-ด่านขุนทด)
- ทางหลวงชนบท นม.3059 (ทล.201 กม.ที่15+100 อำเภอสีคิ้ว-บ้านห้วยบง)
- ทางหลวงชนบท นม.4033 (ทล.2256 กม.ที่43+650-บ้านช่องสำราญ อำเภอเทพารักษ์)
- ทางหลวงชนบท นม.3165 (ถนนสายห้วยบง-ซับยาง)
สถานที่สำคัญ
[แก้]ด้านการศึกษา
[แก้]- สถานบันอุดมศึกษา
- โครงการจัดตั้ง สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ศูนย์นครราชสีมา[7][8][9]
- สถานบันวิจัย
- โรงเรียน
ประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษา 9 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง ได้แก่
สถานศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลด่านขุนทด
สถานศึกษา/ระดับการศึกษา | จำนวนครู | จำนวนนักเรียน |
---|---|---|
สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 5 |
- |
- |
โรงเรียนบ้านหินเพิง | 7 | 49 |
โรงเรียนบ้านหนองใหญ่ | 19 | 186 |
โรงเรียนบ้านห้วยบง | 19 | 272 |
โรงเรียนบ้านซับพลู | 16 | 138 |
โรงเรียนบ้านซับยาง | 9 | 93 |
โรงเรียนบ้านป่ารังงาม | 6 | 67 |
โรงเรียนบ้านศิลาร่วมสามัคคี | 18 | 176 |
โรงเรียนบ้านหนองกราดน้อย | 10 | 87 |
โรงเรียนบ้านน้อยพัฒนา | 13 | 140 |
สังกัด อบจ. นครราชสีมา |
- |
- |
โรงเรียนมัธยมหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ | - | - |
รวม | 117 | 1,208 |
- ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564
ด้านการศาสนา
[แก้]- วัด
- วัดห้วยบง
- วัดหนองกราดน้อย
- วัดป่ารังงาม
- วัดป่าฌงโคสามัคคีธรรม
- วัดศิลาร่วมสามัคคี
- วัดบ้านน้อยพัฒนา
- วัดซับพลูใหญ่ (ซับพลู)
- วัดบ้านซับพลูน้อย
- วัดบ้านซับยาง
- วัดหนองใหญ่
- วัดวังผาแด
- วัดบ้านถ้ำเต่า
- ศาลเจ้า
- ศาลเจ้าพ่อเขาผาแดง
- ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ (แบบจีน) ตลาดห้วยบง
ด้านความปลอดภัย
[แก้]- สถานีตำรวจภูธรหินดาด
- ป้อมตำรวจห้วยบง
- ป้อมตำรวจหนองใหญ่
ด้านการสาธารณสุข
[แก้]- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยบง
- สถานีอนามัยซับพลู
- สถานีอนามัยหนองใหญ่
ด้านทัพยากรธรรมชาติ
[แก้]- อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่
- สวนป่าด่านขุนทด กรมอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] ข้อมูลประชากร ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา (ธันวาคม 2564) .จาก สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา. เข้าถึงได้จาก: [2] ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโชคชัย อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. 141 ง เล่มที่ 100 หน้า 3100-3106 .เมื่อ 30 สิงหาคม 2526
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. เข้าถึงได้จาก: [3] กระทู้ถามที่ 126 ร. เรื่อง ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอห้วยบง จังหวัดนครราชสีมา. 148 เล่มที่ 106 หน้า 6473-6474 .เมื่อ 7 กันยายน 2532
- ↑ "เปิดโฉม 4 อำเภอใหม่โคราช! ผู้ว่าฯ ดันตั้งเพิ่มเป็น 36 อำเภอ เตรียมชงเข้างบฯ ปี 2565". MGR Online.
- ↑ "โคราชชง'4อำเภอ'ใหม่ ดัน'ปกครองพิเศษ'". มติชน Online.
- ↑ "จำนวนประชากร แบ่งรายปี กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย".
- ↑ "สวบ. นำนักวิจัยลงพื้นที่ โครงการจัดตั้ง สทป.ศูนย์นครราชสีมา (สำเนาที่เก็บถาวร)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-10. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
- ↑ "สำนักวิจัยฯ ลงพื้นที่ทำประชาพิจารณ์ชาวบ้าน ณ สทป.ศูนย์นครราชสีมา (สำเนาที่เก็บถาวร)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-17. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
- ↑ "สวบ. ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาพื้นที่ศูนย์นครราชสีมา (สำเนาที่เก็บถาวร)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-22. สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.