ธรณีวิทยา
ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (อังกฤษ: Geology จากกรีก: γη- (เก-, โลก) และ λογος (ลอกอส, ถ้อยคำ หรือ เหตุผล)) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย
นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม
วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น
วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น
วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร์
ธรณีกาล
[แก้]ตารางธรณีกาลเป็นการรวบรวมธรณีประวัติทั้งหมดไว้[1]โดยมีจุดอ้างอิงเริ่มต้นวัดจากอายุของหินโบราณที่เก่าที่สุดในระบบสุริยะซึ่งมีอายุ 4.567 Ga,[2] (gigaannum: billion years ago) โดยมีโลกซึ่งถือกำเนิดขึ้นในบรมยุคฮาเดียนเมื่อ 4.54 Ga[3][4] (gigaannum: พันล้านปีก่อน) และเดินทางมาบรรจบถึงระยะเวลาปัจจุบันซึ่งอยู่ในสมัยโฮโลซีน
เหตุการณ์สำคัญในธรณีประวัติ
[แก้]- 4.567 Ga: กำเนิดระบบสุริยะ[2]
- 4.54 Ga: ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิด[3][4]
- c. 4 Ga: สิ้นสุดยุคการถูกระดมชนอย่างหนักครั้งล่าสุด, กำเนิดสิ่งมีชีวิต
- c. 3.5 Ga: เริ่มต้นการสังเคราะห์ด้วยแสง
- c. 2.3 Ga: ออกซิเจนถูกเติมเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ, โลกลูกบอลหิมะครั้งแรก
- 730–635 Ma (megaannum: ล้านปีก่อน): โลกลูกบอลหิมะครั้งที่สอง
- 542± 0.3 Ma: การระเบิดในยุคแคมเบรียน – สิ่งมีชีวิตเปลือกแข็งเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น เป็นยุคที่พบฟอสซิลได้มากยุคแรกในช่วงเริ่มต้นของพาลีโอโซอิก
- c. 380 Ma: สัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกถือกำเนิด
- 250 Ma: การสูญพันธุ์ เพอร์เมียน-ไทรแอสสิก – การสูญพันธุ์ของ 90% ของสัตว์บกในช่วงปลายยุคพาลีโอโซอิก เริ่มต้นมีโซโซอิก
- 65 Ma: การสูญพันธุ์ ครีเทเชียส-เทอร์เชียรี่ – ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ สิ้นสุดยุคมีโซโซอิกและเริ่มต้นยุคซีโนโซอิก
- c. 7 Ma – ปัจจุบัน: ยุคของมนุษย์
- c. 7 Ma: บรรพบุรุษของมนุษย์โบราณถือกำเนิด
- 3.9 Ma: บรรพบุรุษของมนุษย์ยุคใหม่ถือกำเนิด
- 200 ka (kiloannum: พันปีก่อน): มนุษย์ยุคใหม่ (Homo sapiens) ถือกำเนิดในแอฟริกา
หน่วยงานด้านธรณีวิทยาในประเทศไทย
[แก้]ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่ศึกษา ค้นคว้าด้านธรณีวิทยาหลายหน่วยงานด้วยกัน เช่น
กรมทรัพยากรธรณี
[แก้]กรมทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่มีการทำงานและการศึกษาด้านธรณีวิทยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศตั้ง กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) นับจนถึงขณะนี้ เป็นเวลา 117 ปีแล้ว และต่อมาได้ย้ายสังกัดไปขึ้นกับกระทรวงต่าง ๆ ตามยุคสมัย 6 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตราธิราช กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทรัพยากรธรณี เมื่อครั้งสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ภายหลังจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณี ได้ย้ายมาสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เลขที่ 75/10 ถนนพระรามที่6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[แก้]เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาแรกของประเทศไทยที่เปิดให้มีการเรียนการสอนด้านธรณีวิทยาในระดับมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ โดยเปิดทำการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 มีศาสตราจารย์ ดร. แถบ นีละนิธิ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และรักษาการหัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา (สมัยนั้นเรียกแผนกวิชา) มีศาสตราจารย์ ดร. Th. H. F. Klompe ชาวฮอลันดา เป็นผู้ร่างหลักสูตร ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี (กรมโลหกิจเดิม) ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 จึงได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้จัดตั้งเป็นภาควิชาธรณีวิทยาขึ้นในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างเป็นทางการ
แนวทางการเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี
[แก้]ผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อ สาขาวิชาธรณีวิทยา จะต้องมี ความรอบรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ โดยเน้นวิชาคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และสมัครสอบเข้าศึกษาได้โดยการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรี ได้แก่
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.)
[แก้]- ภาควิชาธรณีวิทยา (Geology) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาควิชาธรณีวิทยา (Geological Sciences) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี (Geotechnology) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สาขาวิชาธรณีศาสตร์ (Geosciences) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
- ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Earth Sciences) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ (วศ.บ.)
[แก้]- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี (Geotechnology) สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
แม้ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีความหลากหลายในรายวิชาแตกต่างกันไป สังเกตได้จากชื่อของสาขาหรือภาควิชา แต่ทุกสถาบันข้างต้นจะให้ความรู้ในเนื้อหาหลักที่สำคัญของธรณีวิทยาแก่ผู้ศึกษาทุกคน รวมถึงการออกภาคสนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน[5]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลธรณีวิทยาประเทศไทย
[แก้]- ธรณีวิทยาประเทศไทย เก็บถาวร 2006-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:2,500,000 เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- คำอธิบายแผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:2,500,000 เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เว็บบอร์ดด้านธรณีวิทยาในประเทศไทย
[แก้]- เว็บบอร์ดถาม-ตอบ ความรู้ด้านธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เก็บถาวร 2006-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บบอร์ดประจำภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2009-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เก็บถาวร 2005-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- กรมทรัพยากรธรณี เก็บถาวร 2005-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน
- วิทยาศาสตร์น่ารู้ เก็บถาวร 2005-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
- โครงการลีซ่า โครงการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ โดยหอดูดาวเกิดแก้ว สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- วิชาการธรณีไทย/www.geothai.net แหล่งรวมความรู้ทางธรณีวิทยาเพื่อคนไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ International Commission on Stratigraphy
- ↑ 2.0 2.1 Amelin, Y. (2002). "Lead Isotopic Ages of Chondrules and Calcium-Aluminum-Rich Inclusions". Science. 297 (5587): 1678–1683. Bibcode:2002Sci...297.1678A. doi:10.1126/science.1073950. PMID 12215641. S2CID 24923770.
- ↑ 3.0 3.1 Patterson, C. (1956). "Age of Meteorites and the Earth". Geochimica et Cosmochimica Acta. 10 (4): 230–237. Bibcode:1956GeCoA..10..230P. doi:10.1016/0016-7037(56)90036-9.
- ↑ 4.0 4.1 Dalrymple, G. Brent (1994). The age of the earth. Stanford, CA: Stanford Univ. Press. ISBN 978-0-8047-2331-2.
- ↑ วิชาการธรณีไทย/www.geothai.net