นบี
เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาอิสลาม บรรดานบี ในศาสนาอิสลาม |
---|
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาอิสลาม |
---|
|
นบี[1] (อาหรับ: نبي) หมายถึง ผู้เผยพระวจนะในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า นับบะอะ หรือ อัมบะอะ แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงเป็นผู้นำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์
นบีและรอซูล
[แก้]คัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่านบีและรอซูลเหมือนหรือต่างกันอย่างไร บางครั้งมีการเรียกรอซูล หรือศาสนทูตว่านบี บางคนจึงสันนิษฐานว่านบีและรอซูลคือตำแหน่งเดียวกัน แต่นักวิชาการอิสลามบางท่านอธิบายว่านบีกับรอซูลต่างกันที่ นบีเป็นผู้ที่รับเทวโองการให้มาปฏิบัติหน้าที่เฉพาะ แต่รอซูลคือผู้ที่อัลลอฮ์แต่งตั้งให้มาสั่งสอนมนุษย์โดยทั่วไป โดยนัยนี้นบีจัดเป็นรอซูลประเภทหนึ่ง[2]
แต่บางตำราก็อธิบายว่านบีคือผู้ที่ได้รับคำสั่งสอนจากอัลลอฮ์ แต่ไม่ได้ทรงอนุญาตให้นำไปเผยแพร่ แต่รอซูลเป็นผู้ที่รับคำสั่งสอนแล้วทรงให้นำไปเผยแพร่ต่อ[3] ผู้ที่เป็นรอซูลจึงต้องเป็นนบีมาก่อน[4]
รายนามบรรดานบีและรอซูล
[แก้]ชาวมุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์ได้ประทานนบีแก่ประชาชนทุกชนชาติ จึงมีนบีอยู่มากมาย นบีมุฮัมมัดกล่าวว่านบีมีอยู่ถึง 124,000 คน[5] โดยนบีมุฮัมมัดเป็นนบีคนสุดท้าย คัมภีร์อัลกุรอานระบุชื่อของนบีไว้ 25 คน[5] บุคคลที่กล่าวไม่เจาะจงมี 3 คน [6] และบุคคลต้องสงสัย 9 คน และนบีที่ถูกกล่าในหะดีษ และเรื่องเล่าชาวอิสรออีลมี 6 คน
นบีที่ถูกกล่าวนามอย่างเจาะจง
[แก้]- นบีอาดัม
- นบีอิดรีส บุตรอัลยาริด (เอโนค บุตรยาเรด)
- นบีนูห์ บุตรลามัก (โนอาห์ บุตรลาเมค)
- นบีฮูด บุตรอับดุลลอฮ์
- นบีศอลิห์ บุตรอุบัยด์
- นบีอิบรอฮีม บุตรอาซัร (อับราฮัม บุตรเทราห์)
- นบีลูฏ บุตรฮัรรอน (โลท บุตรฮาราน)
- นบีอิสมาอีล บุตรนบีอิบรอฮีม (อิชมาเอล บุตรอับราฮัม)
- นบีอิสหาก บุตรนบีอิบรอฮีม (อิสอัค บุตรอับราฮัม)
- นบียะอ์กูบ บุตรนบีอิสหาก (ยาโคบ บุตรอิสอัค)
- นบียูสุฟ บุตรนบียะอ์กูบ (โยเซฟ บุตรยาโคบ)
- นบีอัยยูบ บุตรมูศ (โยบ บุตรอาโมส)
- นบีชุอัยบ์ บุตรมีกาอีล (เยโธร บุตรมิคาเอล)
- นบีมูซา บุตรอิมรอน (โมเสส บุตรอัมราม)
- นบีฮารูน บุตรอิมรอน (อาโรน บุตรอัมราม)
- นบีดาวูด บุตรอัยชา (ดาวิด บุตรเยสซี)
- นบีสุลัยมาน บุตรนบีดาวูด (ซาโลมอน บุตรดาวิด)
- นบีอิลยาส บุตรยาซีน (เอลียาห์ บุตรยาซีน)
- นบีอัลยะสะอ์ บุตรอะดีย์ (เอลีชา บุตรชาฟัท)
- นบียูนุส บุตรมัตตา (โยนาห์ บุตรอามิททัย)
- นบีซูลกิฟล์ บุตรบูซีย์ (เอเสเคียล บุตรบุซี)
- นบีซะกะรียา สืบเชื้อสายจากนบีฮารูน (เศคารียาห์ สืบเชื้อสายมาจากอาโรน)
- นบียะห์ยา บุตรนบีซะกะรียา (ยอห์น บุตรเศคารียาห์)
- นบีอีซา บุตรมัรยัม (เยซู บุตรมารีย์)
- นบีมุฮัมมัด บุตรอับดุลลอฮ์
นบีที่ถูกกล่าวนามอย่างไม่เจาะจง
[แก้]- นบียูชะอ์ บุตรนูน (โยชูวา บุตรนูน)
- นบีเคาะฎิร สืบเชื้อสายจากซาม
- นบีเศาะมูอีล บุตรอัลกอนะห์ (ซามูเอล บุตรเอลคานาห์)
- นบีอิรมียา บุตรฮิลกียา (เยเรมีย์ บุตรเฮลคียาห์)
ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นนบี
[แก้]- อัสบาฏ บุตรนบียะอ์กูบ (ต้นตระกูลอิสราเอล 12 ตระกูล บุตรยาโคบ)
- ฏอลูต บุตรกีช (ซาอูล บุตรคีช)
- ลุกมาน สืบเชื้อสายจากฮาม
- อุซัยร์ สืบเชื้อสายจากนบีฮารูน (เอสรา สืบเชื้อสายจากอาโรน)
- ซูลก็อรนัยน์ สืบเชื้อสายจากซาม (กษัตริย์ไซรัส สืบเชื้อสายจากเชม)
- อิมรอน สืบเชื้อสายจากนบีสุลัยมาน (เฮลี สืบเชื้อสายจากซาโลมอน)
- เราะสูลแห่งชาวยาซีน สืบเชื้อสายจากวงศ์วานอิสรออีล (อัครทูตแห่งอันติโอก สืบเชื้อสายอิสราเอล)
- อะบูกัรบ์ อัสอ๊าด อัลกามิล บุตรฮัสซาน มาลิกีกะริบยุฮามิน
- นบีชีษ บุตรนบีอาดัม (เสท บุตรอาดัม)
- นบีฮันเซาะละห์ บุตรศ็อฟวาน
- นบีชะอ์ยา บุตรอัมซียา (อิสยาห์ บุตรอามอส)
- นบีฮะบะกูก สืบเชื้อสายจากนบีสุลัยมาน (ฮาบากุก สืบเชื้อสายจากซาโลมอน)
- นบีอูบดียา สืบเชื้อสายจากอิศ (โอบาดีห์ สืบเชื้อสายจากเอซาว)
- นบีดานียาล สืบเชื้อสายจากนบีสุลัยมาน (ดาเนียล สืบเชื้อสายจากซาโลมอน)
เมื่อจะออกชื่อนบีเหล่านี้ ชาวมุสลิมจะขอพรอัลลอฮ์แก่ท่านด้วยการลงท้ายชื่อแต่ละท่านท่านว่า “อะลัยฮิสสลาม” แปลว่า ขอสันติจงมีแด่ท่าน ยกเว้นนบีมุฮัมมัดจงลงท้ายว่า “ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม” แปลว่า ขออัลลอฮ์โปรดประทานเมตตาและสันติแก่ท่าน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 368
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 452
- ↑ ตำราฟัรดูอัยน์ เล่ม 3 วิชา อัตตารีค (ศาสนประวัติ)
- ↑ ชมรมผู้บริหารมัสยิดเขตหนองจอก กรุงเทพฯ, คู่มือมุอัลลัฟ, 2549, หน้า 21
- ↑ 5.0 5.1 บรรจง บินกาซัน, สารานุกรมอิสลาม ฉบับเยาวชนและผู้เริ่มสนใจ", 2547, หน้า 80-1
- ↑ "List of Bird Names Mentioned in the Text", The Ruff, Poyser, สืบค้นเมื่อ 2022-11-13
- ↑ "List of people in both the Bible and the Quran", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-08-15, สืบค้นเมื่อ 2022-11-14
- ↑ "Table of prophets of Abrahamic religions", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-10-18, สืบค้นเมื่อ 2022-11-14
- ↑ "Stories of The Prophets", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-07-23, สืบค้นเมื่อ 2022-11-14
- ↑ หนังสืออัลบิดายะห์ วันนิฮายะห์ โดย อิมาม อัลฮาฟีซ อิบน์ กะษีร (ร.ฮ.)