นรพล ตันติมนตรี
นรพล ตันติมนตรี | |
---|---|
ไฟล์:นรพล ตันติมนตรี.jpg | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุรพล เกียรติไชยากร | |
ก่อนหน้า | สุรพล เกียรติไชยากร ผณินทรา ภัคเกษม |
ถัดไป | สุรพล เกียรติไชยากร ศรีเรศ โกฎคำลือ |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอแม่แจ่ม, อำเภอจอมทอง, อำเภอดอยหล่อ, อำเภอฮอด, อำเภอดอยเต่า และอำเภออมก๋อย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 กันยายน พ.ศ. 2515 นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ |
นรพล ตันติมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของพรรคที่ชนะการเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่ จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และนายนรพล ยังมีศักดิ์เป็นหลานชายของนายอำนวย ยศสุข[1] อดีตนักการเมืองชาวเชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และเป็นประธานกรรมการกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟอมก๋อย[2]
ประวัติ
[แก้]นายนรพล ตันติมนตรี เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2515 ชื่อเล่น ต้น ที่กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (รุ่น 138) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ระดับปริญญาตรีสาขาประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท ด้านการตลาด จาก National Unvivesity ประเทศสหรัฐอเมริกา[3]
การทำงาน
[แก้]นายนรพล ตันติมนตรี เป็นนักธุรกิจด้านการเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเสรีธรรม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เขต 8 สังกัดพรรคมหาชน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางผณินทรา ภัคเกษม จากพรรคไทยรักไทย ภายหลังจึงได้ลาออกจากพรรคมหาชน และเข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย ในกลางปี พ.ศ. 2549
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เขต 4 สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน[4] โดยนายนรพล เป็นสมาชิกในกลุ่มของนายพินิจ จารุสมบัติ[5] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ย้ายมาลงสมัครในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายศรีเรศ โกฎคำลือ จากพรรคเพื่อไทย
ในปี พ.ศ. 2561 เขาย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[6][7] และเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[8]ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่ง ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[9][10][11] ช่วยสนับสนุนงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โพลหลายสำนักชี้ชัดแล้ว ทรท.กวาดที่นั่งภาคเหนือ 13 ที่นั่งจาก 70 ที่นั่ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประวัติกาแฟอมก๋อย
- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""นรพล ตันติมนตรี" เบอร์ 10ผู้สมัครคนรุ่นใหม่ประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-16. สืบค้นเมื่อ 2012-05-17.
- ↑ 'พลังประชารัฐ' ขึ้นเหนือ วางยุทธศาสตร์ชิงเก้าอี้ส.ส.38ที่นั่ง
- ↑ พปชร.เชียงใหม่เปิดเวที อ.ฮอด คึกคัก ชาวบ้านแห่ฟังปราศรัยแน่น
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๘/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๑๖ ราย ๑. นายธวัช สุทธวงค์ ฯลฯ)
- ↑ ครม.แต่งตั้ง 'พล.อ.สมศักดิ์' เลขาสมช. - แบ่งเค้กส.ส.สอบตกปีกรัฐบาล นั่ง ขรก.การเมือง
- ↑ สนธิรัตน์ พบชาวแม่แจ่ม ย้ำ พปชร.เกาะติด เพิ่มแต้มเลือกตั้งเที่ยวหน้า
- ↑ "ดีป้า เหนือบน” จังหวัดเชียงใหม่ เปิดบ้านต้อนรับคณะที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่มที่ ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2515
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองจากกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535)
- พรรคมหาชน
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- บุคคลจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.