ข้ามไปเนื้อหา

น้ำมาว

พิกัด: 23°56′49″N 96°17′0″E / 23.94694°N 96.28333°E / 23.94694; 96.28333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำมาว หรือ แม่น้ำชเวลี
น้ำมาวที่เจี่ยเกา รุ่ยลี่ ประเทศจีน
ลุ่มน้ำและลุ่มน้ำสาขาของน้ำมาว เมืองใหญ่ในลุ่มน้ำ สถานีไฟฟ้าพลังน้ำในจีนและพม่า และสถานีอุทกวิทยาในจีน
ชื่อท้องถิ่น
ที่ตั้ง
ประเทศประเทศจีน ประเทศพม่า
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำ 
 • ตำแหน่งเทือกเขาเกาหลีก้ง บริเวณเมืองหมิงกฺวัง เถิงชง
 • ระดับความสูง2,520 เมตร (8,270 ฟุต)
ปากน้ำ 
 • ตำแหน่ง
แม่น้ำอิรวดี ที่อี้นยวา
 • พิกัด
23°56′49″N 96°17′0″E / 23.94694°N 96.28333°E / 23.94694; 96.28333
 • ระดับความสูง
89 เมตร (292 ฟุต)
ความยาว630 กิโลเมตร (390 ไมล์)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายแม่น้ำหมังซื่อ, แม่น้ำ Wanding , แม่น้ำ Namba
 • ขวาแม่น้ำ Luoboba, แม่น้ำหว่าน

แม่น้ำชเวลี (พม่า: ရွှေလီမြစ်) เป็นแม่น้ำในประเทศจีนและประเทศพม่า ยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ น้ำมาว หรือ ลำน้ำมาว (ไทใหญ่: ၼမ်ႉမၢဝ်း) และเรียก แม่น้ำรุ่ยลี่ (จีน: 瑞丽江) หรือแม่น้ำหลงชฺวัน (龙川江) ในภาษาจีน ความยาวของแม่น้ำช่วงแบ่งเขตแดนระหว่างจีน-พม่าเป็นระยะทาง 26 กิโลเมตร[1] น้ำมาวเป็นแม่น้ำสาขาหนึ่งของแม่น้ำอิรวดีซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของพม่า มีต้นน้ำในมณฑลยูนนานของจีน ไหลผ่านตอนเหนือของรัฐฉานและเขตซะไกง์ และบรรจบแม่น้ำอิรวดีที่อี้นยวา ห่างจากตะก้องไปทางเหนือ 60 กิโลเมตร และทางใต้ของกะตา

ประชากร

[แก้]

ภูมิภาคนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทใหญ่เป็นหลัก ชาวกะชีนและชาวปะหล่อง และชาวจีนเล็กน้อย[2]

พืชและสัตว์

[แก้]

มีที่ลุ่มชื้นแฉะกว้างใหญ่ครอบคลุมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำมาวในที่บริเวณที่บรรจบกับแม่น้ำอิรวดี เนินเขาจำนวนมากปกคลุมไปด้วยพืชยืนต้นใบกว้างสกุลสมอ (Terminalia), สกุลพะยอม (Shorea) และกุหลาบพันปี (Rhododendron) ที่มีใบไม้และดอกไม้ที่สวยงามซึ่งมีตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีขาวอมชมพูหรือชมพู บางครั้งก็มีจุดสีเหลือง เป็นส่วนหนึ่งของการปลูกขึ้นในปี 1997 บนฝั่งน้ำมาว ช่วงกั้นแบ่งชายแดนยูนนานกับพม่า[3]

เป็ดก่า (Asarcornis scutulata) เป็ดป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ และนกกระเรียนไทย (Grus antigone) มีถิ่นกำเนิดในแม่น้ำสายนี้ ตะโขงอินเดีย (Gavialis gangeticus) พบครั้งสุดท้ายในปี 1927[4] และโลมาอิรวดีที่สามารถพบได้ไกลถึงแม่น้ำสาขาต่าง ๆ ของแม่น้ำอิรวดีซึ่งรวมทั้งน้ำมาว[5]

จากการสำรวจในปี 2003 และ 2006 มีการรวบรวมตัวอย่างปลาทั้งหมด 49 ชนิด (จากการคาดคะเน) ในแม่น้ำมาวและแควสาขาในจีน โดยการวิจัยผสมผสานระหว่างชนิดพันธุ์ที่สำรวจและตัวอย่างที่จับได้ในพิพิธภัณฑ์ของสถาบันสัตววิทยาคุนหมิง พบว่ามีทั้งหมด 60 ชนิด แบ่งได้ใน 8 อันดับ 19 วงศ์ และ 44 สกุล ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมาว โดย 16 ชนิดเป็นชนิดเฉพาะถิ่นของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอิรวดี และอีก 9 ชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ในการเปรียบเทียบสัดส่วนเชิงปริมาณ ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีจำนวนชนิดมากที่สุด ซึ่งมี 26 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 43.3 ของจำนวนชนิดพันธุ์ทั้งหมด ถัดมาคือ ต่อไปวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) ซึ่งมี 11 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 18.3 ของทั้งหมด[6]

เมืองสำคัญ

[แก้]

เมืองสำคัญริมน้ำมาวได้แก่

  1. เมืองมาว (เป็นเขตปกครองหนึ่งของเมืองรุ่ยลี่ของประเทศจีน)
  2. หมู่เจ้ (Muse) รัฐฉาน
  3. น้ำคำ (Namhkam) รัฐฉาน
  4. เมืองมีด (Momeik) รัฐฉาน
  5. เมือง Mabein (เป็นเขตปกครองหนึ่งของเมืองมีด)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "International Boundary Study No. 42 – November 30, 1964: Burma – China Boundary" (PDF). Florida State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2008.
  2. Lintner, Bertil (1990). The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). SEAP Publications. pp. 79–80. ISBN 978-0-87727-123-9. สืบค้นเมื่อ 2009-01-31.
  3. "Species Foundation Rhododendrons". The American Rhododendron Society, 1997-2002. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.[ลิงก์เสีย]
  4. "Upper Irrawaddy and Mogawng Chaung". ARCBC (ASEAN Regional Centre for Biodiversity Conservation). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
  5. "Orcaella brevirostris". ICUN Red List. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
  6. JIANG Wan-sheng; DU Li-na; JIANG Yan-e; YANG Jun-xing; CHEN Xiao-yong (2010). "瑞丽江流域鱼类组成、区系及生活史特点研究" [Fish Composition,Fauna and Life History of Ruili River Drainage]. 水生态学杂志 [Journal of Hydroecology] (ภาษาจีน). 31 (5): 1-9. doi:10.15928/j.1674-3075.2010.05.001.