ข้ามไปเนื้อหา

บาลด์วินที่ 6 เคานต์แห่งฟลานเดอส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บาลด์วินที่ 6 เคานต์แห่งฟลานเดอส์กับริชิลด์ เคานเตสแห่งเอโนลต์

บาลด์วินที่ 6 เคานต์แห่งฟลานเดอส์ (อังกฤษ: Baldwin VI of Flanders, ฝรั่งเศส: Baldwin de Mons) ้เป็นขุนนางชาวแฟรงก์ ปกครองเป็นเคานต์แห่งเอโนลต์ (ด้วยสิทธิ์ของภรรยา) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1051 ถึง ค.ศ. 1070 (ในชื่อ บาลด์วินที่ 1) และสืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดาเป็นเคานต์แห่งฟลานเดอส์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1067 ถึง 1070

ประวัติ

[แก้]

บาลด์วินเป็นบุตรชายคนโตของบาลด์วินที่ 5 เคานต์แห่งฟลานเดอส์กับอาเดลาแห่งฝรั่งเศส พระธิดาของพระเจ้ารอแบต์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส[1] กับกงสต็องส์แห่งอาร์ลส์[2] ทั้งยังเป็นพี่ชายของมาทิลดาแห่งฟลานเดอส์ พระราชินีคู่สมรสแห่งอังกฤษและพระมเหสีของพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต กษัตริย์แห่งอังกฤษ[3]

เคานต์แห่งเอโนลต์

[แก้]

บิดาของเขาจับเขาแต่งงานแบบคลุมถุงชนกับริชิลด์ เคานเตสแห่งเอโนลต์[4] โดยใช้กองกำลังติดอาวุธข่มขู่ริชิลด์ที่เป็นภรรยาม่ายของแฮร์มันแห่งมงส์และทายาทหญิงแห่งเอโนลต์[4] เนื่องด้วยเอโนลต์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การแต่งงานโดยไม่ปรึกษาครั้งนี้จึงสร้างความขุ่นเคืองแก่จักรพรรดิเฮนรีที่ 3 พระองค์เดินทางมาทำสงครามกับสองพ่อลูกบาลด์วินแต่ไม่สำเร็จ[4] ระหว่างปี ค.ศ. 1050 ถึง 1054 ล็อมแบต์ที่ 2 เคานต์แห่งล็องยืนหยัดต่อสู้กับจักรพรรดิเฮนรีที่ 3 เคียงข้างบาลด์วิน เขาเป็นหนึ่งในข้าราชบริพารแถวหน้าของบาลด์วิน[5] ล็อมแบต์ถูกสังหารที่สมรภูมิลีลล์ในปี ค.ศ. 1054[6] การต่อสู้ครั้งอื่นๆ กับจักรพรรดิเฮนรีที่ 3 มีกลุ่มลอร์ดแห่งอาโลสต์มาร่วมต่อสู้ให้กับเคานต์แห่งฟลานเดอส์ทั้งสอง[7]

ริชิลด์คิดว่าบุตรชายจากการแต่งงานครั้งแรกของตน โรเฌร์ ไม่เหมาะสมที่จะเคานต์แห่งเอโนลต์คนต่อไป[1] บาลด์วินกับริชิลด์จึงจับเขาไปเป็นบิชอปแห่งชาล็องส์[1] เปิดทางให้บุตรชายจากการแต่งงานครั้งที่สอง บาลด์วิน ขึ้นเป็นเคานต์แห่งเอโนลต์แทน บุตรสาวของเธอที่เกิดจากการแต่งงานครั้งแรกกลายเป็นแม่ชี[1] บาลด์วินได้เคานตีเอโนลต์ส่วนที่เหลือเป็นที่ดินศักดินาส่วนหนึ่งและซื้ออีกส่วนหนึ่งมาเป็นที่ดินส่วนตัว การซื้อมาเป็นที่ดินส่วนตัวเป็นการเป็นเจ้าของที่ดินโดยสมบูรณ์[8] เจ้าของไม่ต้องรับใช้เจ้านายในลำดับที่สูงกว่าของที่แดนนั้นๆ[8] พวกเขามีสิทธิ์ที่จะขายต่อที่ดินเมื่อไหร่ก็ได้[8]

การเสียชีวิต

[แก้]

บาลด์วินเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1070 การเสียชีวิตเร็วของเขาทำให้ฟลานเดอส์และเอโนลต์ตกไปอยู่ในมือของบุตรชายวัยเยาว์ อาร์นูล์ฟที่ 3 โดยมีริชิลด์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน[9] อาร์นูล์ฟที่ 3 ถูกฆ่าในปีต่อมาที่สมรภูมิคาสเซล[10] ริชิลด์จึงช่วยให้บุตรชายคนรองลงมาของบาลด์วินได้เป็นบาลด์วินที่ 2 แห่งเอโนลต์[3] แต่ไม่นานตำแหน่งเคานต์ก็ถูกแย่งชิงไปโดยน้องชายของบาลด์วิน รอแบต์ชาวฟรีเซียน ที่กลายเป็นเคานต์รอแบต์ที่ 1 แห่งฟลานเดอส์[11]

บาลด์วินสร้างอารามฮาสนงขึ้นมาใหม่และยกทรัพย์สินส่วนตัวเป็นของขวัญแก่อารามเป็นการสนับสนุน[1] เขาส่งพระไปอยู่ที่นั่นและใช้มันเป็นที่ฝังศพของตนเอง[12]

ครอบครัว

[แก้]

บาลด์วินกับริชิลด์มีบุตรด้วยกัน คือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Gilbert of Mons, Chronicle of Hainaut, Trans. Laura Napran (Woodbridge: The Boydell Press, 2005), p. 4
  2. Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: Verlag von J. A. Stargardt, 1984), Tafel 187
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 5
  4. 4.0 4.1 4.2 Renée Nip, 'The Political Relations Between England and Flanders (1066–1128)', Anglo-Norman Studies 21: Proceedings of the Battle Conference 1998, ed. Christopher Harper-Bill (Woodbridge: The Boydell Press, 1989), p. 147.
  5. K. S. B. Keats-Rohan, Domesday People, A Prosopography of Persons Occurring in English Documents 1066-1166 (Woodbridge: The Boydell Press, 1999), p. 196
  6. John Carl Andressohn, The ancestry and life of Godfrey of Bouillon (Ayer Publishing, 1972), p. 20
  7. Heather J. Tanner, Families, Friends, and Allies: Boulogne and Politics in Northern France and England, c.879–1160 (Leiden: Koninklijke Brill NV, 2004), pp. 87–88
  8. 8.0 8.1 8.2 M. Guizot François, History of the Origin of Representative Government in Europe, Vol. 20, trans. Andrew R. Scoble (London: Henry G. Bohn, 1861), p. 106
  9. Renée Nip, 'The Political Relations between England and Flanders (1066–1128)', Anglo-Norman Studies 21: Proceedings of the Battle Conference 1998, Ed. Christopher Harper-Bill (Woodbridge: The Boydell Press, 1999), p. 154
  10. Renée Nip, 'The Political Relations between England and Flanders (1066–1128)', Anglo-Norman Studies 21: Proceedings of the Battle Conference 1998, Ed. Christopher Harper-Bill (Woodbridge: The Boydell Press, 1999), p. 155
  11. Gilbert of Mons, Chronicle of Hainaut, Trans. Laura Napran (Woodbridge: The Boydell Press, 2005), p. 6
  12. Herman (of Tournai), The Restoration of the Monastery of Saint Martin of Tournai, Ed. Lynn Harry Nelson (Catholic University of America Press, 1996), p. 27