ปรัชญากีฬา
ปรัชญากีฬา เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งที่พยายามวิเคราะห์ประเด็นของกีฬาในเชิงมโนทัศน์ว่าเป็นกิจกรรมของมนุษย์ ประเด็นเหล่านี้ครอบคลุมปรัชญาหลายสาขา แต่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นปรัชญาห้าสาขา ได้แก่ อภิปรัชญา จริยศาสตร์และปรัชญาศีลธรรม ปรัชญากฎหมาย ปรัชญาการเมืองและสุนทรียศาสตร์ มุมมองเชิงปรัชญาเกี่ยวกับกีฬาถือกำเนิดขึ้นในยุคกรีกโบราณและต่อมาได้รับการฟื้นฟูในช่วงหลังของยุคศตวรรษที่ 20 [1] ด้วยผลงานของ Paul Weiss และ Howard Slusher [2] [3]
มุมมองเกี่ยวกับกีฬาเชิงปรัชญาได้รวมเอาความสัมพันธ์เชิงอภิปรัชญารวมเข้ากับศิลปะและการเล่น ประเด็นทางจริยศาสตร์ของคุณธรรมและความเป็นธรรมและสังคมการเมืองในวงกว้างมากขึ้น [1]
กีฬาและปรัชญาในยุคกรีกโบราณ
[แก้]กรีกโบราณถือเป็นต้นกำเนิดของปรัชญาโบราณและ กีฬาโอลิมปิก ปรัชญาเฮลเลนิสติกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการกีฬา ความกล้าหาญทางกีฬาของผู้นำตามมุมมองของเวลาสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นผู้นำ [4] (เกมส์ของ Phaeacians ในมหากาพย์ Odyssey ของ โฮเมอร์ ) กีฬาถูกมองว่าเป็นการสืบสวนเชิงญาณวิทยา เป็นกระบวนการเชิงวิธีวิทยาที่เราได้เรียนรู้ความจริงเชิงภววิสัยของศักยภาพของนักกีฬรายบุคคลโดยดำเนินการแข่งขันกีฬา กรีฑาเป็นตัวชี้วัดมูลค่าของปัจเจกบุคคลจึงถูกมองว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม กีฬาถูกมองว่าเป็นการศึกษาเชิงศีลธรรมโดยเพลโตได้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการเล่นกีฬาเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม อริสโตเติลเน้นย้ำว่าการออกกำลังกายเป็นความรับผิดชอบเชิงจริยศาสตร์ [1]
ปรัชญากีฬาร่วมสมัย
[แก้]การฟื้นตัวของความสนใจในปรัชญากีฬาได้รับการตีพิมพ์หนังสือ Sport: A Philosophical Inquiry (1969) ของ Paul Weiss นักปรัชญาชาวเยล ซึ่งถือเป็นหนังสือปรัชญากีฬาขนาดยาวเล่มแรก ในเล่มนั้น Weiss ได้อธิบายถึงความขาดแคลนในการทำงานด้านปรัชญากีฬาซึ่งเป็นภาพสะท้อนของความเป็นผู้นำทางวิชาการ กีฬาถูกมองว่าเป็นเรื่องหยาบกระด้างหรือเป็นเรื่องธรรมดาตามแนวคิดของ Weiss [5]
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้การพิจารณาเชิงปรัชญาเกี่ยวกับกีฬาและการออกกำลังกายและกิจกรรมได้รับการอภิปรายเป็นส่วนย่อยของการปฏิรูปการศึกษาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เนื่องจากความเชื่อมโยงระหว่างพลศึกษากับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีได้รับการเห็นคุณค่าในหมู่นักวิชาการ ในหลายครั้งผลประโยชน์ด้านสุขภาพและการศึกษาของการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสาธารณะ ผู้เสนอวิชาพลศึกษาที่ไม่ใช่นักปรัชญาจำนวนมากใช้เวลาไปกับตำแหน่งทางปรัชญาโดยไม่ได้ตั้งใจอันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ทวินิยมของจิตและกาย และอภิปรัชญาอันเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบของตัวแทนของมนุษย์และความเป็นบุคคล ในบริบทที่กว้างขึ้น ปรัชญาการเมืองเข้าสู่ภาพในฐานะนักคิดในยุคนั้นเพื่อตอบสนองต่อประเด็นทางสังคมและการเมืองอันเร่งด่วนประจำวันซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่พลเมือง ภาวะแห่งการเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ และคุณลักษณะทางการเมืองด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับกีฬา [3] ในขณะที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ผลงานในโลกตะวันตก แต่นักปรัชญากีฬายอมรับถึงความสำคัญของผลงานในโลกตะวันออก โดยเฉพาะญี่ปุ่น [6]
ปรัชญากีฬามีคำถามสำคัญเกี่ยวกับประเด็นคุณธรรมทางสังคมของกีฬา สุนทรียศาสตร์ของการแสดงกีฬา, ญาณวิทยาของปัจเจกบุคคลและกลยุทธ์และเทคนิคของทีม จริยศาสตร์ของกีฬา ตรรกวิทยาของกฎการเล่นกีฬา อภิปรัชญาของกีฬาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติหรือสัญชาตญาณของมนุษย์ เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม นักเขียนบางคนได้เรียบเรียงปรัชญากีฬาในส่วนของร่างกาย ศิลปะและเป็นทางแยกซึ่งเป็นกีฬาของคนรุ่นเจเนอเรชั่น X อย่างเช่น โบลเดอริง (bouldering) กีฬาโต้คลื่น (surfing) สเก็ตบอร์ด (skateboarding) [7]
ปรัชญาสาขาอื่นที่แยกตัวออกมาจากปรัชญาร่วมสมัย ได้แก่ ปรัชญาการศึกษา ปรัชญากฎหมาย ปรัชญาจิต ปรัชญากฎ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ ปรัชญาสังคม และ ปรัชญาการเมือง
ประเด็นในปรัชญากีฬา
[แก้]จริยศาสตร์
[แก้]ประเด็นทางจริยศาสตร์ในปรัชญากีฬาส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมของนักกีฬาที่เกี่ยวข้องกับกฎของเกม นักกีฬาคนอื่น ผู้ชม ปัจจัยภายนอก อย่างเช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ผู้สนับสนุนและชุมชน อีกทั้งมีประเด็นของการใช้ยาบำรุงกำลัง
ประเด็นของการใช้ยาบำรุงกำลังในการเล่นกีฬามุ่งเน้นไปที่จริยธรรมของการแทรกแซงทางการแพทย์เกี่ยวกับการแสดงกีฬา:ถูกมองว่ามันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้หรือไม่ และจะกำหนดขอบเขตได้อย่างไร การให้ความสนใจเป็นพิเศษกับคำถามที่ว่าปัจจัยใดบ้างที่ควรนำมาพิจารณาเมื่อห้ามการแทรกแซงทางการแพทย์อย่าชะงัด
โดยทั่วไปประเด็นเหล่านี้และประเด็นอื่นจะถูกเปรียบเทียบและเทียบเคียงผ่านเลนส์ของทฤษฎีทางศีลธรรมที่มีนัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ จริยศาสตร์แบบเน้นผลลัพธ์ จริยศาสตร์เชิงหน้าที่ และ จริยศาสตร์เชิงคุณธรรม [8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Reid, Heather (September 2012). Introduction to the Philosophy of Sport (Elements of philosophy). Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 0742570622.
- ↑ Quinton, Anthony (August 21, 1969) Locker Room Metaphysics. nybooks.com
- ↑ 3.0 3.1 Kretchmar, R. Scott (November 1996). "Chapter Six: Philosophy of Sport". ใน Massengale, John D.; Swanson, Richard A. (บ.ก.). The History of Exercise and Sport Science. Human Kinetics Publishers. pp. 181. ISBN 0873225244.
- ↑ Hardman, Alun; Jones, Carwyn, บ.ก. (2010). Philosophy of Sport. Cambridge Scholars Publishing. ISBN 1-4438-2516-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-12-21.
{{cite book}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Shouler, Kenneth (2003) If Life is Finite, Why am I Watching this Damn Game? Philosophy Now
- ↑ Resource Guide to the Philosophy of Sport and Ethics of Sport. Hospitality, Leisure, Sport and Tourism Network, October 2008
- ↑ Sanzaro, Francis. The Boulder: A Philosophy for Bouldering. ISBN 0954877993.
- ↑ McNamee, Mike. Ethics and Sport. philosophyofsport.org.uk
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Sport, Ethics & Philosophy (Routledge)
- Journal of the Philosophy of Sport (Routledge)
- British Philosophy of Sport Association
- European Association for the Philosophy of Sport
- International Association for the Philosophy of Sport
- University of Idaho Center for Ethics
- "Philosophy of Sport" Stanford Encyclopedia of Philosophy