ข้ามไปเนื้อหา

ปัญญา (ศาสนาพุทธ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา

-

ปัญญา (𑀧𑀜𑁆𑀜𑀸; ปญฺญ) ในภาษาบาลี หรือ ปราชญ์ (प्रज्ञा; ปฺรชฺญฺา) ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย

ในสังคีติสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่า ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ[1]

  1. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง)
  2. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด)
  3. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอบรม)
    หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับปัญญา3อย่างคือ
  1. กาลามสูตร จัดเป็นสุตามยปัญญา
  2. โยนิโสมนสิการ จัดเป็นจินตามยปัญญา
  3. สมถะและวิปัสสนา จัดเป็นภาวนามยปัญญา

ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : สังคีติสูตร". มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 22 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษาภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]