พรรคสามัคคีธรรม
พรรคสามัคคีธรรม (อังกฤษ: Justice Unity Party) เป็นพรรคการเมืองไทยที่สนับสนุนกองทัพและอนุรักษ์นิยม จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารโดยกองทัพเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534[1] ก่อตั้งโดยนายณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเอกภาพ เป็นหัวหน้าพรรคและนาวาอากาศตรีฐิติ นาครทรรพ ผู้ใกล้ชิดกับคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเป็นเลขาธิการพรรค[2] พรรคสามัคคีธรรมเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของกองทัพ ข้าราชการ และเจ้าของธุรกิจในจังหวัด[1]
พรรคสามัคคีธรรม ได้ประกาศนโยบายของพรรคไว้ว่า "จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความมั่นคงทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อความผาสุขของประชาชนโดยถ้วนหน้า ทั้งนี้ โดยอาศัยวิธีการตามหลักการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข"[3]
คณะกรรมการบริหารพรรคสามัคคีธรรม
[แก้]ลำดับที่ | ชื่อ | ตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก | ประธานที่ปรึกษาพรรค | อดีต ผู้บัญชาการทหารบก อดีต ผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตหัวหน้า พรรคปวงชนชาวไทย |
2 | ณรงค์ วงศ์วรรณ | หัวหน้าพรรค | อดีตหัวหน้า พรรครวมไทย อดีตหัวหน้า พรรคเอกภาพ |
3 | สอาด ปิยวรรณ | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 1 | |
4 | เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 2 | อดีตหัวหน้า พรรคประชาชน อดีตเลขาธิการ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการ พรรคเอกภาพ |
5 | พินิจ จันทรสุรินทร์ | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 3 | |
6 | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 4 | |
7 | ประชุม รัตนเพียร | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 5 | |
8 | สุบิน ปิ่นขยัน | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 6 | |
9 | อาทิตย์ อุไรรัตน์ | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 7 | |
10 | ประสพ บุษราคัม | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 8 | |
11 | ชัชวาลย์ ชมภูแดง | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 9 | |
12 | วีรวร สิทธิธรรม | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 10 | |
13 | กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ | รองหัวหน้าพรรคคนที่ 11 | |
14 | นาวาอากาศตรี ฐิติ นาครทรรพ | เลขาธิการพรรค | |
15 | นิคม แสนเจริญ | รองเลขาธิการพรรคคนที่ 1 | |
16 | สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ | รองเลขาธิการพรรคคนที่ 2 | |
17 | สันติ ชัยวิรัตนะ | รองเลขาธิการพรรคคนที่ 3 | |
18 | ใหม่ ศิรินวกุล | รองเลขาธิการพรรคคนที่ 4 | |
19 | รักเกียรติ สุขธนะ | รองเลขาธิการพรรคคนที่ 5 | |
20 | ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง | รองเลขาธิการพรรคคนที่ 6 | |
21 | วิมล ธิเวกานนท์ | กรรมการบริหารพรรค | |
22 | เรืองวิทย์ ลิกค์ | กรรมการบริหารพรรค | |
23 | มงคล จงสุทธนามณี | กรรมการบริหารพรรค | |
24 | ชวลิต โอสถานุเคราะห์ | กรรมการบริหารพรรค | |
25 | สมบัติ ศรีสุรินทร์ | กรรมการบริหารพรรค | |
26 | สุชาติ ตันเจริญ | กรรมการบริหารพรรคและโฆษกพรรค | |
27 | อภิชาติ หาลำเจียก | กรรมการบริหารพรรค | |
28 | เสกสรร แสนภูมิ | กรรมการบริหารพรรค | |
29 | บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ | กรรมการบริหารพรรค | |
30 | สวัสดิ์ คำประกอบ | กรรมการบริหารพรรค | |
31 | ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ | กรรมการบริหารพรรค | |
32 | จำนงค์ โพธิสาโร | กรรมการบริหารพรรค | |
33 | ประเทือง คำประกอบ | กรรมการบริหารพรรค | |
34 | สยม รามสูต | กรรมการบริหารพรรค | |
35 | สมศักดิ์ คุณเงิน | กรรมการบริหารพรรค | |
36 | เจริญ เชาวน์ประยูร | กรรมการบริหารพรรค | |
37 | ทรงยศ รามสูต | กรรมการบริหารพรรค | |
38 | ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร | กรรมการบริหารพรรค | |
39 | อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ | กรรมการบริหารพรรค | |
40 | สังวาลย์ วงศ์วรรณ | กรรมการบริหารพรรค | |
41 | สนธยา คุณปลื้ม | กรรมการบริหารพรรค | |
42 | วัลลภ สุปริยศิลป์ | กรรมการบริหารพรรค | |
43 | ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ | กรรมการบริหารพรรค | |
44 | ประทวน เขียวฤทธิ์ | กรรมการบริหารพรรค |
ความสัมพันธ์กับ รสช.
[แก้]พรรคสามัคคีธรรม ถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนแกนนำ รสช. และอาจกล่าวได้ว่า แกนนำ รสช.บางคน มีส่วนสนับสนุนพรรคนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจหลังการเลือกตั้ง จึงมีที่มาคล้ายคลึงกับพรรคเสรีมนังคศิลา ที่เคยสนับสนุน จอมพล ป.พิบูลสงคราม และพรรคสหประชาไทย ที่เคยสนับสนุน จอมพลถนอม กิตติขจร ในการรักษาอำนาจหลังการรัฐประหาร นอกจากนี้ นักการเมืองบางคนที่สังกัดพรรคนี้ ยังเคยเป็นสมาชิกพรรคเสรีนังคศิลา และพรรคสหประชาไทยอีกด้วย
การเลือกตั้ง มีนาคม พ.ศ. 2535
[แก้]ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคสามัคคีธรรม ได้รับเลือกตั้งเข้ามาจำนวน 79 คน จากจำนวน 360 ที่นั่ง เป็นอันดับที่ 1 จึงต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยการสนับสนุนจากพรรคการเมือง 4 พรรค คือ พรรคชาติไทย (74 คน) พรรคกิจสังคม (31 คน) พรรคประชากรไทย (7 คน) และพรรคราษฎร (4 คน) รวมเป็น 195 คน ขณะที่พรรคความหวังใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังธรรม พรรคเอกภาพ พรรคปวงชนชาวไทย และพรรคมวลชน ร่วมกันเป็นฝ่ายค้าน
เนื่องจากปัญหาของนายณรงค์ ที่ต่อมามีการยืนยันจาก นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในขณะนั้น ว่าเป็นผู้หนึ่งที่ต้องห้ามไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้เพราะมีความใกล้ชิดกับการค้ายาเสพติด[4] ซึ่งกรณีดังกล่าว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และว่าข่าวนี้เป็นการจงใจสร้างเรื่องขึ้นเพื่อกีดกันไม่ให้ตนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[5] แต่ในที่สุดแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ได้เลือกเสนอชื่อ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นทูลเกล้าฯ และมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 ท่ามกลางกระแสเรียกร้องจากประชาชนที่ว่า "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" ซึ่งเป็นกระแสหลักของสังคมในขณะนั้น ต่อเนื่องมาจากยุคของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และทำให้พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 ถูกขนานนามจากสื่อมวลชนยุคนั้นว่า เป็น"พรรคมาร" เพื่อเปรียบเทียบกับ "พรรคเทพ" ที่หมายถึงพรรคฝ่ายค้าน 4 พรรค
หลังการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.สุจินดา เกิดกระแสต่อต้านจากสังคมมากมาย ถึงขั้นมีประชาชนชุมนุมประท้วงจำนวนมาก และในที่สุดนำไปสู่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จนทำให้ในต้องจัดการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งในปีเดียวกัน คือในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535
การเปลี่ยนชื่อพรรค
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 พรรคสามัคคีธรรม ได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค โดยใช้ชื่อว่า "พรรคเทิดไท" มีนายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็นหัวหน้าพรรค และมีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นเลขาธิการพรรค[6] แต่ก็ต้องยุติการดำเนินงานการเมือง ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 โดยการลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคของคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งคณะ[7] โดยในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 ทางพรรคมิได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งศาลฎีกา ที่ 4098/2535 ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ยุบพรรคเทิดไท[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Connors, Michael K. (2001), "Thailand", The Southeast Asia Handbook, Fitzroy Dearborn Publishers
- ↑ Maisrikrod, Surin (1993). "THAILAND 1992: Repression and Return of Democracy". Southeast Asian Affairs. ISEAS–Yusof Ishak Institute. 1993: 327–349. doi:10.1355/SEAA93S. ISSN 0377-5437. JSTOR 27912083.
- ↑ สยามจดหมายเหตุ ปีที่ 17 พ.ศ. 2535, หน้า 20-21, 93, 100, 201, 290
- ↑ จากหนังสือร่วมกันสู้ โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หน้าที่ 3 (ISBN 974-88799-9-2)
- ↑ ชนะคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ขอปรึกษาฟ้องแพ่งค่ะ
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคสามัคคีธรรมเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ชื่อพรรค และภาพเครื่องหมายพรรค
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคเทิดไทเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบเลิกพรรคการเมือง (จำนวน 10 พรรค)