ฟาโรห์เฮดจู ฮอร์
เฮดจู-ฮอร์ | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮอร์-เฮดจู | |||||||||||||||||||
อักษรอียิปต์โบราณ "เฮดจู-ฮอร์"[1] | |||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||
ถัดไป | นิ-ฮอร์? | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ศูนย์ |
เฮดจู ฮอร์ เป็นผู้ปกครองในทางตอนเหนือของอียิปต์ตั้งแต่สมัยยุคก่อนราชวงศ์[2][3] การมีอยู่ของพระองค์เป็นที่ถกเถียงกัน พระนาม เฮดจู-ฮอร์ แปลว่า คทาแห่งฮอรัส[4]
เชื่อกันว่า รัชสมัยของพระองค์อยู่ที่ราว 3250 ปีก่อนคริสตกาล แต่แทบไม่ทราบเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์เลย เนื่องจากปรากฏจารึกที่พบในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์และเศษเครื่องปั้นดินเผาจากทูราเท่านั้น และมีการสันนิษฐานว่า พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์ล่างหรือพระองค์สุดท้าย หรือว่าพระองค์ทรงเป็นสมาชิกของราชวงศ์ที่ศูนย์[ต้องการอ้างอิง]
ฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ ทรงเป็นที่ทราบเหยือกดินสองใบที่พระนามเซเรคของพระองค์ปรากฏอยู่ คือ เหยือกใบหนึ่งจากทูรา[5] ซึ่งตั้งอยู่ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ทางตะวันออก และอีกใบจากอาบู ไซดาน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์[6]
ว็อล์ฟกัง เฮ็ลท์ค นักไอยคุปต์วิทยา ถือว่า พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่ศูนย์ และระบุว่าพระองค์คือฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์วาช ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ปกครองที่พ่ายแพ้ต่อฟาโรห์นาร์เมอร์ตามที่ปรากฏบนแผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์[7] และเป็นข้อคิดเห็นที่เอ็ดวิน ซี. เอ็ม. ฟาน เด็น บริงค์ เห็นด้วยในภายหลัง[8] ในทางตรงกันข้าม โทบี วิลกินสัน[9] และโจเชม คาห์ล ได้ต่างโต้แย้งว่าฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ทรงไม่ใช่ฟาโรห์จากสมัยยุคก่อนราชวงศ์ แต่เป็นผู้ปกครองของสังคมก่อนรัฐขนาดเล็ก ๆ ในสมัยยุคก่อนราชวงศ์และมีตำแหน่งเป็นกษัตริย์แทน
ไม่ทราบหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์เฮดจู ฮอร์ และไม่ปรากฏข้อความใดบนศิลาแห่งปาแลร์โม ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบกัน[10] ทำให้การข้อสินนิษฐานว่าพระองค์ทรงเป็นฟาโรห์นั้นทั้งของเฮ็ลท์คและฟาน เด็น บริงค์ไม่น่าจะเป็นไปได้[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Henry Georg Fischer: Varia Aegyptiaca. In: Journal of the American Research Center in Egypt, Nr. 2. Eisenbrauns, Winona Lake 1963, S. 33, Abb. 1.
- ↑ Dr. Günther Eichhorn |title=Egypt - Protodynastic Period - 3200 to 3100 BCE.
- ↑ Ludwig David Morenz: Bild-Buchstaben und symbolische Zeichen. Die Herausbildung der Schrift der hohen Kultur Altägyptens (= Orbis Biblicus et Orientalis 205). Vandenhoeck & Ruprecht, Göttingen 2004; Academic Press, Fribourg 2004, ISBN 3-7278-1486-1.
- ↑ Leprohon, Ronald J (2013). The Great Name: Ancient Egyptian Royal Titulary. SBL Press. p. 23. ISBN 978-158-983-736-2.
- ↑ "Ancient Egypt - Dynasty 0". www.narmer.pl. สืบค้นเมื่อ 2019-10-06.
- ↑ Henry Georg Fischer: Varia Aegyptiaca . In: Journal of the American Research Center in Egypt, No. 2. Eisenbrauns, Winona Lake 1963, p. 44.
- ↑ Helck, Wolfgang (1987). Untersuchungen zur Thinitenzeit. Ägyptologische Abhandlungen 45. Wiesbaden., p.98
- ↑ van den Brink, Edwin (1996). "The Incised Serekh-signs of Dynasties 0–1, Part I: Complete Vessels". ใน Spencer, Alan J. (บ.ก.). Aspects of Early Egypt. London: British Museum Press. pp. 140–158. ISBN 0714109991., p.147
- ↑ Toby A.H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt - Strategy, Security and Society. Routledge, London 1999, ISBN 0-415-18633-1. page 55-56.
- ↑ Hsu, Hsu, Shih-Wei (2010) The Palermo Stone: the Earliest Royal Inscription from Ancient Egypt, Altoriental. Forsch., Akademie Verlag, 37 (2010) 1, 68–89.