ภาษาบาหลี
ภาษาบาหลี | |
---|---|
ᬪᬵᬱᬩᬮᬶ, ᬩᬲᬩᬮᬶ1 Bhāṣa Bali, Basä Bali1 | |
ภูมิภาค | เกาะบาหลี, นูซาเปอนีดา, เกาะลมบก และเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย |
ชาติพันธุ์ | |
จำนวนผู้พูด | 3.3 ล้านคน (2000)[1] |
ตระกูลภาษา | ออสโตรนีเซียน
|
รูปแบบก่อนหน้า | ภาษาบาหลีเก่า
|
ระบบการเขียน | อักษรละติน อักษรบาหลี |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | อินโดนีเซีย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | ban |
ISO 639-3 | ban |
ภาษาบาหลี (Basä Bali) เป็นภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียที่มีผู้พูด 3.3 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อ ค.ศ. 2000) ในเกาะบาหลี รวมทั้งในภาคเหนือของนูซาเปอนีดา ภาคตะวันตกของเกาะลมบก ภาคตะวันออกของเกาะชวา[2] ภาคใต้ของเกาะสุมาตรา และเกาะซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย[3] ผู้พูดชาวบาหลีส่วนใหญ่รู้ภาษาอินโดนีเซียด้วย ใน ค.ศ. 2011 สำนักงานวัฒนธรรมบาหลีประมาณจำนวนผู้ที่ยังพูดภาษาบาหลีในชีวิตประจำวันในเกาะบาหลีว่ามีน้อยกว่า 1 ล้านคน กล็อตโตล็อก จัดให้ภาษานี้มีสถานะ "ไม่อยู่ในภาวะใกล้สูญ"[4]
การจำแนก
[แก้]ภาษาบาหลีจัดอยู่ในกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภายในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ภาษานี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มย่อยภาษาบาหลี–ซาซัก–ซุมบาวา[5] ภาษาบาหลีมีวิธภาษาเด่น ๆ 3 วิธภาษา ได้แก่ บาหลีที่สูง บาหลีที่ลุ่ม และนูซาเปอนีดา[4]
ประชากร
[แก้]จากสำมะโนประชากร ค.ศ. 2000 มีผู้พูดภาษาบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย 3.3 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในเกาะบาหลีและบริเวณโดยรอบ
ใน ค.ศ. 2011 สำนักงานวัฒนธรรมบาหลีประมาณว่ายังมีผู้คนที่พูดภาษาบาหลีในชีวิตประจำวันในเกาะบาหลีไม่เกิน 1 ล้านคน เพราะในเขตเมือง พ่อแม่ใช้เพียงภาษาอินโดนีเซียหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างชาติ ในขณะที่บทสนทนาในชีวิตประจำวันหายไปจากสถาบันและสื่อมวลชนแล้ว มีผู้ไม่คุ้นชินกับภาษาเขียนของภาษาบาหลีมากขึ้น และชาวบาหลีส่วนใหญ่ใช้ภาษาบาหลีเฉพาะการสื่อสารด้วยวาจาโดยมีคำจากภาษาอินโดนีเซียปะปนอยู่บ่อยครั้ง แต่ในพื้นที่ที่มีการอพยพข้ามถิ่นนอกเกาะบาหลี กลับมีการใช้ภาษาบาหลีอย่างมากและเชื่อว่ามีบทบาทสำคัญต่อความอยู่รอดของภาษา[6]
สัทวิทยา
[แก้]สระ
[แก้]หน้า | กลาง | หลัง | |
---|---|---|---|
สูง | i | u | |
กลาง | e | ə | o |
ต่ำ | a |
การสะกดอย่างเป็นทางการใช้รูป a แทนทั้งหน่วยเสียง /a/ และ /ə/ อย่างไรก็ตาม a มักออกเสียงเป็น [ə] เมื่ออยู่ท้ายคำ และ [ə] ยังปรากฏในหน่วยคำเติมหน้า ma-, pa- และ da-[7]
พยัญชนะ
[แก้]ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | m | n | ɲ | ŋ | ||||||
เสียงหยุด/เสียงกักเสียดแทรก | p | b | t | d | t͡ʃ | d͡ʒ | k | g | ||
เสียงเสียดแทรก | s | h | ||||||||
เสียงเปิด | w | l | j | |||||||
เสียงรัว | r |
การเน้นหนัก
[แก้]คำในภาษาบาหลีจะเน้นเสียงหนักที่พยางค์สุดท้าย[7]
ระบบการเขียน
[แก้]ภาษาบาหลีมีระบบการเขียน 2 ระบบ คือ อักษรบาหลี และอักษรละตินในปัจจุบัน
อักษรบาหลี
[แก้]อักษรบาหลี (Aksara Bali, ᬅᬓ᭄ᬱᬭᬩᬮᬶ) ซึ่งเรียงลำดับแบบฮานาจารากา (ᬳᬦᬘᬭᬓ) เป็นอักษรสระประกอบที่พัฒนามาจากอักษรพราหมีในอินเดีย จารึกแรกที่สุดเท่าที่รู้จักสืบได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9[8] ปัจจุบัน มีผู้รู้จักคุ้นเคยกับอักษรบาหลีดั้งเดิมน้อยมาก[9]
อักษรละติน
[แก้]ในปัจจุบัน โรงเรียนในเกาะบาหลีสอนภาษาบาหลีโดยใช้อักษรละติน (โรมัน) ซึ่งมีชื่อว่า ตูลีซันบาลี (Tulisan Bali)[10]
ภาพ
[แก้]-
ตัวเขียนใบลานภาษาบาหลี
-
ป้ายที่วิหารปูราปูเซะฮ์ บาตูวัน บาหลี
-
คัมภีร์ไบเบิลที่เขียนด้วยอักษรบาหลี
-
ป้ายชื่อถนนที่ซีงาราจา เขียนด้วยอักษรละตินและอักษรบาหลี
-
ป้ายที่ว่าการอำเภอกลุงกุง
หมายเหตุ
[แก้]^1 ในอักษรบาหลี คำยืมจากภาษาสันสกฤตและภาษากาวีมีอักขรวิธีที่แตกต่างจากคำบาหลีดั้งเดิม อักษรบาหลีชุดแรกเริ่มได้รับอิทธิพลจากอักขรวิธีภาษาสันสกฤตและภาษากาวี ดังเช่นคำว่า บาซา แผลงมาจากคำภาษาสันสกฤตว่า भाषा (ภาษา) ในขณะเดียวกัน ไม่มีการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรในภาษาบาหลีที่เขียนด้วยอักษรละติน ดังนั้น ทั้ง ᬪᬵᬱᬩᬮᬶ และ basa Bali ต่างก็เป็นรูปสะกดมาตรฐาน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษาบาหลี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ Ethnologue.
- ↑ Clynes, Adrian (1995). Topics in the Phonology and Morphosyntax of Balinese (วิทยานิพนธ์ PhD). Australian National University. doi:10.25911/5d77865d38e15. hdl:1885/10744.
- ↑ 4.0 4.1 "Glottolog 4.3 - Balinese". glottolog.org. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
- ↑ Adelaar, K. Alexander (2005). "The Austronesian languages of Asia and Madagascar: a historical perspective". ใน Adelaar, K. Alexander; Himmelmann, Nikolaus (บ.ก.). The Austronesian languages of Asia and Madagascar. London: Routledge. pp. 1–42.
- ↑ Ni Komang Erviani (March 30, 2012). "Balinese Language 'Will Never Die'". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 7.0 7.1 Spitzing, Günter (2002). Practical Balinese: Phrasebook and Dictionary. Rutland VT: Tuttle Publishing. p. 22.
- ↑ Beratha, Ni Luh Sutjiati (1992). Evolution of Verbal Morphology in Balinese (วิทยานิพนธ์ PhD). Australian National University. doi:10.25911/5d7786429c1ff. hdl:1885/109364.
- ↑ "Balinese (Basa Bali)". Omniglot. สืบค้นเมื่อ 2021-01-30.
- ↑ Eiseman, Fred B., Jr. "The Balinese Languages". Bali Vision. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Balinese man speaking Balinese language in different Balinese dialects
- Ager, Simon. "Balinese". Omniglot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-07.
- The Balinese Digital Library.
- Widiadana R. A. & Erviani N. K. (29 January 2011). Ancient ‘lontar’ manuscripts go digital เก็บถาวร 2011-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Jakarta Post.
- Erviani N. K. (14 January 2011). US scholar brings ancient Balinese scripts to digital age. The Jakarta Post.
- Unicode website
- Paradisec open access recording of Balinese song.
- Kaipuleohone's Blust collection includes materials on Balinese, including RB2-006,RB2-009.