ข้ามไปเนื้อหา

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
เกิด14 กันยายน พ.ศ. 2489 (78 ปี)
ประเทศไทย
อาชีพนักเขียน, นักวิชาการ
สัญชาติไทย ไทย
ช่วงปีที่ทำงานพ.ศ. 2511 - ปัจจุบัน

ศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (เกิด 14 กันยายน พ.ศ. 2489) เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติ

[แก้]

ศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เกิดวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2489 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ โดยได้รับทุนพระศาสนโสภณ จากวัดบวรนิเวศ จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รับทุนภูมิพล และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ด้วยคะแนนระดับ "เกียรตินิยมดีมาก" จากนั้นไปศึกษาต่อที่ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สาขาการเงินสาธารณะ หลังจากสำเร็จการศึกษา ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ กลับมาเป็นอาจารย์ประจำที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบัน และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2544 มีความเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา

นอกจากนี้ผลงานทางวิชาการทางด้านการวิจัยของ ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ ยังมีความโดดเด่นจนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเลือกให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโส พ.ศ. 2539 และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เลือกให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2540 นอกจากงานด้านการสอนหนังสือและงานด้านการวิจัยแล้ว ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ ยังมีความสามารถในการบริหาร โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลายตำแหน่ง (โปรดดูรายละเอียดในหัวข้อ "ตำแหน่งงานบริหาร") นอกจากนี้ ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ยังมีผลงานทางวิชาการออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเขียนหนังสือ การบรรยาย การแสดงปาฐกถา ฯลฯ

การศึกษา

[แก้]

ปริญญาโท 2519 - M.A.(Cantab.), Public Finance, Churchill College, Cambridge University, สหราชอาณาจักร

ปริญญาตรี 2515 - B.A. (Cantab.), Churchill College, Cambridge University

ปริญญาตรี 2511 - ศ.บ. (เกียรตินิยมดีมาก) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มัธยมศึกษา 2506 - โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

การรับทุนการศึกษา

[แก้]

พ.ศ. 2506 - ทุนพระศาสนโสภณ วัดบวรนิเวศ

พ.ศ. 2507 - 2510 - ทุนภูมิพล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2512 - 2514 ทุนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน

[แก้]

ตำแหน่งงานบริหาร

[แก้]
    • พ.ศ. 2517 - ประธานคณะกรรมการห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2518 - ประธานคณะกรรมการปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2519 - ผู้อำนวยการรับนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2523 - ประธานคณะกรรมการวางแผน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2524 - รองผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2525-2530 - ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการสร้างตำรามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2537-2538 - รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2540-2546 - ประธานสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานส่งเสริมงานวิชาการอื่นๆ

[แก้]
    • พ.ศ. 2516-2519 - บรรณาธิการ วารสารธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2518-2519 - บรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับวิชาการ 2519 คณะบรรณาธิการ วารสารเศรษฐศาสตร์
    • พ.ศ. 2524 - คณะบรรณาธิการ วารสารธรรมศาสตร์ สมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย
    • พ.ศ. 2526-2538 - บรรณาธิการ วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
    • พ.ศ. 2544 - คณะบรรณาธิการ วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์

ผลงานวิชาการ

[แก้]

ตำราและหนังสือวิชาการ

[แก้]
  • ทฤษฎีการภาษีอากร
  • ทัศนะทางการศึกษา
  • กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทย
  • เศรษฐศาสตร์การคลัง ว่าด้วยการศึกษา
  • ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
  • ระบบเศรษฐกิจไทย : ลักษณะและปัญหา
  • ภาษีอากรในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย : คลังข้อมูล และบทสำรวจสถานะทางวิชาการ
  • เงินคงคลังในระบบเศรษฐกิจไทย
  • เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยพรีเมี่ยมข้าว
  • กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย : บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง พ.ศ. 2475 - 2530
  • สังคมเศรษฐกิจไทยในทศวรรษ 2550 : ยุทธศาสตร์การพัฒนาในกระแสโลกานุวัตร
  • นโยบายเสถียรภาพเศรษฐกิจในอนาคต
  • เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ: บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

หนังสือที่เขียนร่วมกับผู้อื่น

[แก้]
  • “เศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ” ใน ประเวศ วะสี และรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ สาธารณสุขกับพุทธธรรม และเศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ
  • เศรษฐศาสตร์จุลภาคเบื้องต้น : คลังข้อทดสอบโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2522
  • เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น : คลังข้อทดสอบสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2524
  • การวางแผนและการจัดการหน่วยวิชาการ เขียนร่วมกับ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์

หนังสือที่เป็นบรรณาธิการ

[แก้]

หนังสือคลังข้อมูล

[แก้]
  • มติสำคัญของคณะรัฐมนตรีว่าด้วยเศรษฐกิจยุครัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (สิงหาคม 2531 - กุมภาพันธ์ 2534)
  • การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและมาตรการการคลังยุครัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (สิงหาคม 2531 - กุมภาพันธ์ 2534)
  • การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและมาตรการการคลังยุครัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (มีนาคม 2534-พฤษภาคม 2535)

หนังสือกึ่งวิชาการ

[แก้]

หนังสือรวมบทความจากนิตยสารและหนังสือพิมพ์

[แก้]
  • อนิจลักษณะของเศรษฐกิจไทย
  • อนิจลักษณะของการเมืองไทย : เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ว่าด้วยการเมือง
  • อนิจลักษณะของสังคมไทย
  • เศรษฐกิจการเมืองยุครัฐบาลชวน หลีกภัย
  • เศรษฐกิจการคลังกับบทบาทรัฐบาลไทย
  • สังคมเศรษฐกิจโลก โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงบริษัทสื่อเสรีจำกัด 2540
  • ระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับสงครามการค้า
  • วิกฤติการณ์การเงินและเศรษฐกิจการเงินไทย
  • ถนนหนังสือ
  • คู่มือการเมืองไทย
  • กีฬาในระบบทุนวัฒนธรรม
  • สังคมเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติการณ์ปี 2540
  • ทุนวัฒนธรรม : วัฒนธรรมในระบบทุนนิยมโลก เล่มที่ 1 และ 2

บทอภิปราย

[แก้]

ปาฐกถา

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕๘๔, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗