วงมังคละ
วงมังคละ หรือ ปี่กลอง[2], ปี่กลองมังคละ เป็นดนตรีชั้นสูงสำหรับพระพุทธศาสนาของอาณาจักรสุโขทัยโบราณ โดยปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 และศิลาจารึกวัดช้างล้อม สันนิษฐานว่าดนตรีมังคละนั้นรับธรรมเนียม "มงคลเภรี" มาจากศรีลังกา[3][4] ก่อนที่จะกลายมาเป็นดนตรีพื้นบ้าน ในชุมชนกลุ่มคนที่ใช้สำเนียงอาณาจักรสุโขทัยโบราณ ปัจจุบันพบการละเล่นอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง[1] จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ รวมทั้งพบร่องรอยการละเล่นมังคละในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ (วงตุ๊บเก่ง) รวมทั้งวงกาหลอ[5]
วงมังคละ มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่ใช้สำเนียงอาณาจักรสุโขทัยโบราณ[6] โดย สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ บันทึกไว้ในคราวตรวจการที่หัวเมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2444 ได้ยินดนตรีดังกล่าวบริเวณวัดสะกัดน้ำมันจึงได้เรียกมาแสดงให้ดู ได้ให้ทัศนะต่อดนตรี "มังคละ" ว่า "เครื่องมังคละนี้เป็นเครื่องเบญจดุริยางค์แท้" [7]
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดนตรีปี่กลองมังคละเสื่อมความนิยมในสมัยหลัง เนื่องจากการเข้ามามีบทบาทของดนตรีกลองยาว แตรวง และดนตรีสมัยใหม่ ตามลำดับ[6] ทำให้ปัจจุบัน วงมังคละ ได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขาศิลปะการแสดง[8] เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์และสืบทอดให้เป็นการละเล่นพื้นบ้านดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์ 3 จังหวัด ของทั้งจังหวัดสุโขทัย[9] จังหวัดพิษณุโลก [10]และอุตรดิตถ์[6] ได้ต่อไป
ประวัติ
[แก้]ดนตรีมังคละกับพระพุทธศาสนา
[แก้]- ในรัชสมัยพญาลิไท (ครองราชย์ พ.ศ. 1897 - พ.ศ. 1919) ได้นำพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์จากลังกาเข้ามา โดยเฉพาะองค์พระมหาสวามีสังฆราชและพระผู้ใหญ่อีกหลายรูปก็มีการไปมาหาสู่กันระหว่างสุโขทัยกับลังกา การที่พระมหาสวามีสังฆราชเสด็จมา จารึกระบุว่ามาเป็นขบวนเสด็จ ซึ่งสมัยโบราณจะต้องมีกองทหารเกียรติยศและจะต้องมีปีมีกลองตามฐานันดร
จากหลักฐานดังกล่าว มีผู้สันนิษฐานว่าพระมหาสวามีสังฆราชน่าจะเสด็จมาพร้อมกับกองเกียรติยศทหารลังกา ประโคมมาตลอดทาง หรือแม้กระทั่งสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลงกาทีปมหาสามี (หลัก 1 กับหลัก 11) ไปทำบุญในเกาะลังกา ขากลับมาสยามอาจจะได้รับพระราชทานจากพระเจ้าลังกาให้มีกองเกียรติยศและดนตรีประดับพระคุณ[11]
ดังนั้นหากนิยามตามทัศนะดังกล่าว มังคละจึงเป็นดนตรีชั้นสูงสำหรับพระพุทธศาสนาของอาณาจักรสุโขทัย และพระมหากษัตริย์สุโขทัย มีพระราชนิยมในการพระราชทานอุทิศเครื่องประโคมมังคละเภรีถวายแด่ปูชนียสถานสำคัญต่าง ๆ ในพระราชอาณาจักร เช่นเดียวกับธรรมเนียมลังกา ทำให้มังคละเภรีได้เผยแพร่สู่ประชาชนทั่วไปในอาณาจักรสุโขทัย จนกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านของอาณาจักรสุโขทัยในระยะต่อมา[12]
ดนตรีปี่กลองมังคละ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวอาณาจักรสุโขทัยมาช้านาน ด้วยเหตุนี้สำเนียงการพูดดั้งเดิมแบบสุโขทัย (ภาษาถิ่นสุโขทัย) และการละเล่นดนตรีมังคละ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการชี้วัดความเป็นชุมชนดั้งเดิมที่สืบทอดมาตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยในเขตภาคเหนือตอนล่างในปัจจุบันอีกด้วย[6]
หลักฐานในศิลาจารึกและจดหมายเหตุ
[แก้]มังคละ เป็นกลองชนิดหนึ่ง ขึงด้วยหนัง มีรูปกลมรี ใช้ตีด้วยไม้ คำว่า “มังคละ” หมายถึง มงคล หรืองานที่เจริญก้าวหน้า มังคละจึงเป็นดนตรีที่เป็นมงคล การเล่นมังคละมีมาช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณกาลครั้งกรุงสุโขทัย มีหลักฐานในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่ว่า
“ | ...เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน มีบริพารกฐิน โดยท่านแล้ปี แล้ญิบล้าน ไปสูดญัติกฐินถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงวังเท้าหัวลาน ดํบงคํกลอง ด้วยเสียงพาดเสียงพิน เลื่อนขับ ใครจักมักเล่นเล่น ใครจักมักหัวหัว ใครจักมักเลื่อนเลือน..." | ” |
ซึ่งคำว่า "ดํบงคํกลอง" เป็นคำโบราณที่มีใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แปลว่า เป็นการประโคม หรือตีกลองที่ขึงด้วยหนัง ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าเป็นกลองมังคละเภรี[13] นอกจากนี้ ยังปรากฏธรรมเนียมการถวายข้าพระไว้ประโคมมังคละเภรีสมโภชพระบรมธาตุ เฉกเช่นเดียวกับธรรมเนียมลังกา ในจารึกวัดช้างล้อม เมืองเก่าสุโขทัย พ.ศ. 1927 ความว่า
“ | ...พาทย์คู่หนึ่ง ให้ข้าสองเรือนตีบำเรอแก่พระเจ้า ฆ้องสองอัน กลองสามอัน แตร... แต่งให้ไว้แก่พระเจ้า (พระพุทธรูป)..."[14] | ” |
จากความในศิลาจารึกดังกล่าว ระบุถึงอุปกรณ์ในวงมังคละ คือฆ้อง 2 และกลอง 3 สันนิษฐานว่าคือฆ้องคู่ในวงมังคละ และกลองดังกล่าว คือกลองยืน กลองหลอน และกลองมังคละในวงมังคละเภรี ตามธรรมเนียมกษัตริย์ลังกาแต่โบราณนั่นเอง[15] ดนตรีมังคละจึงเป็นดนตรีชั้นสูงสำหรับพระพุทธศาสนาของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะกลายเป็นดนตรีพื้นบ้าน ในชุมชนกลุ่มคนที่ใช้สำเนียงอาณาจักรสุโขทัยโบราณ ปัจจุบันพบการละเล่นอยู่ในเขตจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ รวมทั้งพบร่องรอยการละเล่นมังคละในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งดนตรีมังคละ มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่ใช้สำเนียงอาณาจักรสุโขทัยโบราณ
เมื่อครั้งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือเมื่อปี พ.ศ. 2444 พระองค์ท่านบันทึกถึงกลองมังคละขณะที่ผ่านเมืองพิษณุโลกว่า
“ | ...ลืมเล่าถึงมังคละไป...เครื่องมังคละนี้ เป็นเครื่องเบญจดุริยางค์แท้ มีกลองเล็กรูปเหมือนเถิดเทิงแต่สั้นขึงหนังหน้าเดียว มีไม้ตียาวๆ ตรงกับ "อาตต" ใบหนึ่ง...เสียงเพลงนั้นเหมือนกลองมลายู..." | ” |
พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ว่าดนตรีมังคละนี้คือ “เบญจดุริยางค์แท้” ประกอบด้วย วาตฺต วิตตํ อาตฺตวิตฺตํ สุริสํ และ ฆนํ ครบบริบูรณ์ ซึ่งหมายความว่า ดนตรีมังคละนี้ คือ ดนตรี Classic ตามที่กำหนดไว้ในวรรณกรรมบาลีสันสกฤตโบราณ[16] ซึ่งการละเล่นมังคละ เป็นการละเล่นที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของท้องถิ่นในอาณาจักรสุโขทัยมาแต่โบราณ
การประสมวงมังคละ
[แก้]เครื่องดนตรีในวง
[แก้]- 1. กลองมังคละ เป็นกลองหนังหน้าเดียวขนาดเล็ก ทำจากไม้ขนุน หน้ากลองมีเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 5 นิ้ว หุ้มด้วยหนัง กลองยาวประมาณ 10 นิ้ว
- 2. ปี่ มีลักษณะคล้ายปี่ชวา 1 เลา
- 3. กลองสองหน้า 2 ขนาด ขนาดใหญ่ เรียกว่า กลองยืน ขนาดเล็กเรียกว่า กลองหลอน ตีจังหวะ ขัดล้อกัน
- 4. ฆ้องโหม่ง
- 5. เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฆ้อง 3 ใบ แขวน อยู่บนคานหาม ฉิ่ง และฉาบใหญ่ 2
ตัวอย่างโน้ตเพลงดนตรีมังคละ
[แก้]- เพลงไม้หนึ่ง
/---ป๊ะ /- เท่ง -ป๊ะ/
- เพลงไม้สี่
/---ปะ/---เท่ง/---เท่ง/ ---ปะ/---เท่ง/---เท่ง/ ---ปะ/
ขั้นตอนการบรรเลง
[แก้]- 1. ไหว้ครู
- 2. บรรเลงเพลงไม้สี่ (นักดนตรีมังคละถือว่าเป็นเพลงครู)
- 3. บรรเลงเพลงตามความถนัดไปเรื่อย ๆ
- 4. จบการบรรเลงด้วยเพลงไม้สี่ เพื่อเป็นสิริมงคล
วิธีการบรรเลง
[แก้]แต่ละเพลงมี ลักษณะเฉพาะ ดังนี้
- 1. เริ่มบรรเลงขึ้นต้นด้วยการตีรัว กลองมังคละ
- 2. ปี่ เป่าทำนองรัวโหนเสียงไปกับกลองมังคละ
- 3. กลองยืนตีนำขึ้นเพลงเป็นไม้ กลองเพื่อบอกให้นักดนตรีในวงตีตามในเพลงนั้นๆ
- 4. เครื่องดนตรีอื่นๆ จึงตีตามพร้อมกันทั้งวง
- 5. ลงจบด้วยการตีรัวกลองมังคละ พร้อมทั้งปี่เป่ารัวเพื่อเป็นสัญญาณในการลง จบเพลงในจังหวะสุดท้ายอย่างพร้อมเพรียงกัน
เพลงที่ใช้บรรเลง
[แก้]เพลงที่ใช้บรรเลง มีชื่อดังนี้ ไม้หนึ่ง, ไม้สอง, ไม้สาม, ไม้สี่, บัวลบ, ไทรย้อย, ตกปลักเล็ก, ตกปลักใหญ่, ถอยหลังลงคลอง, พญาโศก, ลมพัดชายเขา, ย่ำค่ำ, จูงนางเข้าห้อง, กบเข่นเขี้ยว, แม่หม้ายกระทบแป้ง, สาวน้อยปะแป้ง, อีกาจับหลัก, เวียนเทียน, พระฉันภัตตาหาร, และเพลงนางหงส์ ที่ใช้สำหรับแห่ศพ [17]
ส่วนข้อมูลที่เรียบรวมโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก[18] ให้ข้อมูลเพลงที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาอาทิ เพลงไม้สามกลับ เพลงไม้สามถอยหลัง เพลงไม้สี่ เพลงกระทิงเดินดง เพลงกระทิงนอนปลัก เพลงกระทิงกินโป่ง เพลงเก้งตกปลัก เพลงข้ามรับ – ข้ามส่ง
เพลงข้าวต้มบูด เพลงคางคกเข็ดเขี้ยว เพลงคลื่นกระทบฝั่ง เพลงคุดทะราดเหยียดกรวด เพลงตกปลัก (อีเก้งตกปลัก)เพลงตกตลิ่ง เพลงตุ๊กแกตีนปุก เพลงถอยหลังลงคลอง (ถอยหลังเข้าคลอง) เพลงนมยานกระทกแป้ง เพลงนารีชื่นชม เพลงบัวโรย เพลงบัวลอย
เพลงใบไม้ร่วง (ใบไผ่ร่วง) เพลงปลักใหญ่ เพลงพญาเดิน เพลงแพะชนกัน เพลงแม่หม้ายนมยาน เพลงรักซ้อน เพลงรักแท้ เพลงรักเร่ (สาวน้อยประแป้ง เพลงรำ) เพลงรักลา เพลงลมพัดชายเขา เพลงเวียนเทียน เพลงเวียนโบสถ์ เพลงสาลิกาลืมดง เพลงไม้สาม เพลงสาวน้อยประแป้ง เพลงหิ่งห้อยชมสวน
โอกาสที่ใช้บรรเลงดนตรีมังคละ
[แก้]การบรรเลงดนตรีมังคละใช้ในโอกาส ดังนี้ แห่พระ แห่นาค ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน งานประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง ทำ บุญกลางนา แห่แม่โพสพบรรเลงประกอบการแสดงต่างๆ งานแห่ศพ เป็นต้น
วงดนตรีมังคละ/ผู้สืบทอดในปัจจุบัน
[แก้]หน่วยงานราชการ/สถานศึกษา
[แก้]- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
- วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย
- โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) จังหวัดสุโขทัย
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
- โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ตำบลไกรกลาง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
- องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต หมู่ 10 ตำบล กกแรต อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
- โรงเรียนบ้านไร่พิทยาคม หมู่ 7 บ้านไร่ ตำบล บ้านไร่ อำเภอ ศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
- โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา เลขที่ 147 ตำบล ไกรกลาง อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
- โรงเรียนไกรในวิทยาคมฯ หมู่ 2 บ้านหนองตะแบก ตำบล ไกรใน อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
- โรงเรียนพรหมพิรามวิทยา ตำบล พรหมพิราม อำเภอ พรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนวัดกระบังมังคลาราม หมู่ 2 ตำบล หอกลอง อำเภอ พรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนวัดหางไหล หมู่ 4 ตำบล มะต้อง อำเภอ พรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนศรีรัตนาราม วัดยางเอน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนบ้านเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนวัดโบสถ์ ตำบลวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนวังมะด่าน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนบ้านทุ่งน้อย ตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนวัดจอมทอง ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนเทศบาล 2 วัดคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนเทศบาล 3 วัดท่ามะปราง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก
- โรงเรียนชุมชนวัดย่านขาด(ประชาสงเคราะห์) อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
- โรงเรียน บ้านป่า (บิลอาสาประชาสรรค์) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คณะบุคคล
[แก้]- ชมรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละ คณะทองอยู่ มังคละ เลขที่ 34/4 หมู่ 4 ตำบล จอมทอง อำเภอ เมือง จังหวัดพิษณุโลก มี พ.อ.อ.ประโยชน์ ลูกพลับ เป็นหัวหน้าคณะ
- คณะ ก นพเก้า เลขที่ 86 หมู่ 8 ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีนายวิเชียร สวัสดิเทพ เป็นหัวหน้า
- คณะล้อมมังคละ เลขที่ 86/1 หมู่ 8 ตำบลวัด โบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีนายล้อม ยิ้มดี เป็นหัวหน้า
- คณะกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ 7 วัดโบสถ์ เลขที่ 181/6 หมู่ 7 ตำ บลวัดโบสถ์ อำ เภอวัดโบสถ์ โดยมีนายฟุ้ง ยิ้มดี เป็นหัวหน้า
- คณะพรเมือง พรหม เลขที่ 31 หมู่ 5 ตำบล พรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม โดยมีนายย้วน เขียวเอี่ยม เป็นหัวหน้าคณะ
- คณะเปรื่อง รุ่งเรือง เลขที่ 13 หมู่ 3 ตำบล มะตูม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยมีนายเปรื่อง คงรอด เป็นหัวหน้า
- คณะเจริญไผ่ขอดอน เลขที่ 72 หมู่ 5 ตำบลไผ่ ขอดอน อำเภอเมือง โดย มีนายถนัด ทองอินทร์ เป็นหัวหน้าคณะ
- คณะวังจันทน์ ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อำเภอเมือง โดยมีนายขัน แก้ว สมบูรณ์ เป็นหัวหน้าคณะ
- คณะบุญธรรมศิลป์ไทย หมู่ 6 บ้านกรับพวงเหนือ ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
- คณะลูกสองแคว เลขที่ 21/53 ถนนเอกาทศรถ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
- คณะกระทรวง สินหลักร้อย หมู่ 3 บ้านกองโค ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
- นายประชุม วงพิณิต อายุ 72 ปี ผู้สืบทอดภูมิปัญญามังคละเภรีคนสุดท้าย แห่งบ้านพระฝางสวางคบุรี หมู่ 4 บ้านพระฝาง ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์
- คณะบุญเตือน จวนอาจ เลขที่ 79 ถนน ประชาบูรณะ หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ 53140
- คณะนกขมิ้น(มังคละ) บ้านตาล ม.4 ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ โดยมีนายจีรวัฒน์ น้อยทิม เป็นหัวหน้าคณะ (ในอุปถัมภ์ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละฯ วัดคุ้งตะเภา)
เชิงอรรถ
[แก้]หมายเหตุ 1: เป็นข้อค้นพบจากการศึกษาของสมชาย เดือนเพ็ญ ข้าราชการและนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2553 ภายใต้สมมุติฐานว่า มังคละ เป็นดนตรีพื้บบ้านของชาติพันธ์กลุ่มชนภาษาถิ่นสุโขทัยโบราณ โดยค้นพบหลักฐานการมีอยู่ของมังคละใต้สุดที่ จ.นครสวรรค์ ตะวันออกสุดที่ ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ และเหนือสุดที่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มชนภาษาถิ่นสุโขทัยโบราณ[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ณัฐชยา นัจจนาวากุล. "สัตว์เลื้อยคลาน ว่าด้วยตำนาน ศาสตร์และศิลป์ในงานดนตรี" ใน สูจิบัตรพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปี ๒๕๕๘. คณะมนุษยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร. ๒๕๕๘. หน้า ๖๘-๖๙
- ↑ นุชนาฎ ดีเจริญ,รายงานการวิจัยเรื่องรำมังคละในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ = Mangkala dance in the provinces of Phitsanulo, พิษณุโลก : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.2542.
- ↑ เป็นข้อมูลที่ไมเคิล ไรท์ให้ทัศนะไว้ว่า ดนตรีชนิดนี้ภาษาสิงหลเรียกว่า “มคุล เพเร” ตรงกับบาลี “มังคละเภรี” และไทย “กลองมังคละ”เป็นดนตรีที่ใช้ตีเพื่อประโคมต่อการแสดงความเคารพบูชาที่วัดพระธาตุเขี้ยวแก้วเมืองแคนดี้ในปัจจุบัน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ไมเคิล ไรท์ . ฝรั่งคลั่งสยาม. กรุงเทพ ฯ : มติชน.2541. (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ) หน้า 172-175 และ หน้า 180-183.
- ↑ http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/wmank.htm เก็บถาวร 2010-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน .
- ↑ / วงดนตรีกาหลอวัฒนธรรมทางดนตรีของภาคใต้
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 เทวประภาส มากคล้าย. "มังคละเภรี วิถีท่าเหนือที่สาบสูญ สืบค้นรากเหง้าคนลุ่มน้ำน่านภาษาถิ่นสุโขทัยตอนบน ในจังหวัดอุตรดิตถ์" ใน สูจิบัตรพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปี ๒๕๕๘. คณะมนุษยศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร. ๒๕๕๘. หน้า ๔๖-๔๘.
- ↑ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ "จดหมายเหตุระยะทางไปพิษณุโลก" พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานฉลองวันประสูติ ครบ 100 ปี 28 เมษายน 2516.
- ↑ กรมส่งเสริมวัฒนรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2556). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2016-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). หน้า 16
- ↑ เป็นข้อมูลที่ไมเคิล ไรท์ ได้มาเก็บข้อมูลวงดนตรีมังคละที่ตำบลบ้านสวนและเขียนเป็นหนังสือ ไมเคิล ไรท์ . ฝรั่งคลั่งสยาม. กรุงเทพ ฯ : มติชน.2541. (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ) หน้า 172-175 และ หน้า 180-183.
- ↑ แก้วกร เมืองแก้ว. มังคละ : กรณีศึกษาวงดนตรีพื้นบ้านของนายพรต คชนิล, ปริญญานิพนธ์ (ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2544.
- ↑ เป็นข้อมูลเชิงทัศนะที่ไมเคิล ไรท์เขียนเป็นหนังสือ ใน ไมเคิล ไรท์ . ฝรั่งคลั่งสยาม. กรุงเทพ ฯ : มติชน.2541. (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ) หน้า 172-175 และ หน้า 180-183.
- ↑ พระมหาเทวประภาส มากคล้าย. “แนวทางการเสริมสร้างสมานฉันท์โดยใช้กลไกอัตลักษณ์วัฒนธรรมปี่กลองมังคละ : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนภาษาถิ่นสุโขทัย ลุ่มน้ำน่านตอนบน ในจังหวัดอุตรดิตถ์”. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๓ (กันยายน – ธันวาคม ๒๕๕๘) : ๒๔๙-๒๖๖.
- ↑ ไมเคิล ไรท์ . ฝรั่งคลั่งสยาม. กรุงเทพ ฯ : มติชน.2541. (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ) หน้า 172-175 และ หน้า 180-183.
- ↑ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2558). จารึกวัดช้างล้อม. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=250
- ↑ ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี วัดคุ้งตะเภา. (2558). มังคละเภรี ดนตรีศรีพระพุทธศาสนา. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/watkungtaphao/kitchakam/mungkala/sawangkabury เก็บถาวร 2016-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ไมเคิล ไรท์ . ฝรั่งคลั่งสยาม. กรุงเทพ ฯ : มติชน.2541. (ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ) หน้า 172-175 และ หน้า 180-183.
- ↑ (ข้อมูล นายสมศักดิ์ ดวงเกิด ในหนังสือ อนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูวิมลกิจโกศล (เกียว โกวิโท) ณ เมรุวัดคุ้งยางใหญ่ ต.บ้านสวน อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 13 กุมภาพันธ์ 2537 http://www.bansuan.net/3/Wattanatom.htm เก็บถาวร 2010-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ http://www.phitsanulokculture.com/cd/ เก็บถาวร 2011-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก
- ↑ ศูนย์อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านมังคละเภรีศรีสวางคบุรี วัดคุ้งตะเภา. (2558). มังคละเภรี ดนตรีศรีพระพุทธศาสนา. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/watkungtaphao/kitchakam/mungkala เก็บถาวร 2016-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
[แก้]- กรมส่งเสริมวัฒนรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2556). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2016-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). หน้า 16
- ดิเรก ด้วงลอย พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2563). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านสวน สุโขทัย-Local History of Bansuan Sukhothai Province เก็บถาวร 2020-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สุโขทัย : กองทุนพระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร/อานใหญ่). ISBN : 978-616-568-180-3
ข้อมูลเกี่ยวเนื่อง
[แก้]- สารานุกรมกาญจนาภิเษก ว่าด้วยเรื่องกลองมังคละ เก็บถาวร 2011-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กลองมังคละที่ตำบลบ้านสวน จังหวัดสุโขทัย วงของลุงมุ่ย เกษดิษฐ์[ลิงก์เสีย]
- การเล่นพื้นบ้าน และศิลปการแสดง ของตำบลบ้านสวน จังหวัดสุโขทัย จากเว็บบ้านสวนดอตเน็ต โดยดิเรก ด้วงลอย(พลอยบุตร) เก็บถาวร 2010-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โรงเรียนวัดจอมทอง ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก เก็บถาวร 2011-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย เก็บถาวร 2010-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ตัวอย่างคลิปดนตรีมังคละ
- ตัวอย่างคลิปดนตรีมังคละ วงช่อแก้ว Mangkla Chor Kaew Dance
- ตัวอย่างคลิปดนตรีมังคละ โรงเรียนบ้านกล้วย