วิกิพีเดีย:การใช้เนื้อหาวิกิพีเดีย
หน้านี้ประกอบนโยบายวิกิพีเดียอันมีข้อพิจารณาทางกฎหมาย |
มีหลายคนใช้เนื้อหาวิกิพีเดียซึ่งเรายินดีให้มีผู้ใช้มากขึ้น หากคุณต้องการใช้ข้อความของวิกิพีเดียในหนังสือ บทความ เว็บไซต์หรือสิ่งพิมพ์เผยแพร่อื่นของคุณเอง โดยทั่วไปคุณสามารถทำเช่นนั้นได้ ทว่า คุณต้องยอมรับสัญญาอนุญาตหนึ่งที่ข้อความของวิกิพีเดียอยู่ภายใต้ ไฟล์สื่อจำนวนมากบนวิกิพีเดียก็สามารถใช้ได้เช่นกัน ไฟล์สื่อแต่ละไฟล์มีคำแถลงสัญญาอนุญาตของไฟล์นั้นซึ่งต้องพิสูจน์ยืนยันได้ และการใช้ไฟล์สื่อใดก็ตามต้องยอมรับสัญญาอนุญาตของไฟล์นั้น
มูลนิธิวิกิมีเดียและผู้ประพันธ์เนื้อหาบนเว็บไซต์วิกิมีเดียไม่ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย วิกิพีเดียอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายสหรัฐเป็นหลัก ผู้ใช้นอกสหรัฐอเมริกาควรระลึกว่าเขาอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายประเทศตน การตัดสินว่าสัญญาอนุญาตหนึ่งใช้กับการใช้ที่ตั้งใจไว้อย่างไรเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้เอง นอกจากนี้ แม้เอกสารนี้กล่าวถึงลิขสิทธิ์ แต่อาจมีข้อจำกัดอื่นด้วย ซึ่งอาจรวมสิทธิโฆษณาการ (right of publicity) ธรรมสิทธิ์ สิทธิส่วนบุคคลและนิติเหตุอื่นใดซึ่งไม่ใช่ลิขสิทธิ์และแตกต่างกันมากตามเขตอำนาจ
เนื้อหาข้อความ
กล่าวโดยสรุป เนื้อหาข้อความของวิกิพีเดียสามารถใช้ไดภายใต้ข้อตกลงแห่งสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน (CC-BY-SA) เว้นแต่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ภายใต้ข้อตกลงแห่งสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ข้อกำหนดการใช้งานทั่วโลกกำหนดวิธีซึ่งเนื้อหาจากเว็บไซต์วิกิพีเดียสามารถถูกแสดงที่มาอย่างเหมาะสมเมื่อใช้ภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA. GFDL กำหนดข้อกำหนดต่างออกไป ซึ่งระบุชี้ในข้อความแห่งสัญญาอนุญาต ข้อความภาษาอังกฤษของสัญญาอนุญาตเหล่านี้ที่เป็นเอกสารอันมีผลผูกพันตามกฎหมาย
การใช้ข้อความภายใต้ครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน
- การแสดงที่มา
- ในการแจกจ่ายข้อความบนวิกิพีเดียใหม่ในทุกรูปแบบ ให้เครดิตแก่ผู้เขียนโดยรวม ก) ไฮเปอร์ลิงก์ (เมื่อเหมาะสม) หรือยูอาร์แอลไปยังหน้าที่คุณกำลังใช้ซ้ำ (ข) ไฮเปอร์ลิงก์ (เมื่อเหมาะสม) หรือยูอาร์แอลไปยังสำเนาออนไลน์เสถียรอื่นที่เข้าถึงได้อย่างเสรี ซึ่งเข้ากันได้กับสัญญาอนุญาต และให้เครดิตแก่ผู้เขียนในแบบที่เทียบเท่ากับเครดิตที่ให้มายังเว็บไซต์นี้ หรือ (ค) รายการผู้เขียนทุกคน (ซึ่งอาจกรองให้ไม่รวมผู้ร่วมเขียนเล็กน้อยมากหรือไม่เกี่ยวข้อง) ข้อความจากแหล่งข้อมูลภายนอกอาจแนบข้อกำหนดการแสดงที่มาเพิ่มเติมแก่งาน ซึ่งควรชี้บนหน้าของบทความหรือในหน้าพูดคุย ตัวอย่างเช่น หน้านั้นอาจมีป้ายหรือประกาศอื่นบ่งชี้ว่า เนื้อหาบางส่วนหรือทั้งหมดเดิมเคยตีพิมพ์ที่อื่นมาก่อน เมื่อประกาศนั้นมองเห็นได้ในหน้า โดยทั่วไปผู้ใช้ซ้ำควรคงไว้
- กอปปีเลฟต์/อนุญาตแบบเดียวกัน
- หากคุณดัดแปรหรือเพิ่มจากหน้าที่คุณใช้ซ้ำ คุณต้องให้สัญญาอนุญาตภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 หรือใหม่กว่า
- บ่งชี้การเปลี่ยนแปลง
- หากคุณดัดแปรหรือเพิ่ม คุณต้องระบุในรูปแบบที่สมเหตุสมผลว่า ผลงานดั้งเดิมถูกดัดแปร ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังใช้ซ้ำหน้าในวิกิ การบ่งชี้นี้ไปยังประวัติของหน้าก็ถือว่าเพียงพอ
- ประกาศสัญญาอนุญาต
- แต่ละสำเนาหรือรุ่นดัดแปรที่คุณแจกจ่าย ต้องรวมประกาศสัญญาอนุญาตที่แถลงว่า ผลงานเผยแพร่ภายใต้ CC-BY-SA และ (ก) ไฮเปอร์ลิงก์หรือยูอาร์แอลไปยังข้อความของสัญญาอนุญาต หรือ (ข) สำเนาของสัญญาอนุญาต อย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีนี้ ยูอาร์แอลที่เหมาะสมคือ https://www.creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0/
การใช้ข้อความภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู
ด้วยเหตุผลความเข้ากันได้ หน้าใดก็ตามที่ไม่มีข้อความว่าอนุญาตให้เผยแพร่เฉพาะภายใต้ CC-BY-SA หรือสัญญาอนุญาตที่เข้ากันได้กับ CC-BY-SA จะอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูเช่นกัน ในการตัดสินว่าหน้าใดอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ GFDL ให้ทบทวนด้านล่างของหน้า ประวัติหน้าและหน้าอภิปรายเพื่อหาคุณสมบัติของเนื้อหาสัญญาอนุญาตเดี่ยวซึ่งเข้าไม่ได้กับ GFDL ข้อความทั้งหมดที่จัดพิมพ์ก่อนวันที่ 15 มิถุนายน 2552 บนวิกิพีเดียเผยแพร่ภายใต้ GFDL และคุณยังสามารถใช้ประวัติหน้าเพื่อดึงเนื้อหาที่จัดพิมพ์ก่อนวันดังกล่าวเพื่อให้แน่ใจว่าข้อความนั้นเข้ากันได้กับ GFDL
หากคุณคัดลอกบทความวิกิพีเดียทั้งหมด คุณต้องปฏิบัติตาม GFDL ส่วนที่สองว่าด้วยการทำสำเนาคำต่อคำ
หากคุณสร้างผลงานดัดแปลงโดยเปลี่ยนหรือเพิ่มเนื้อหา จะมีผลตามมาดังนี้:
- งานของคุณจะอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต GFDL
- คุณต้องยอมรับผู้ประพันธ์บทความ (ส่วน 4บี) และ
- คุณต้องให้การเข้าถึง "สำเนาโปร่งใส" ของงานนั้น (ส่วน 4เจ) "สำเนาโปร่งใส" ของบทความวิกิพีเดีย คือ รูปแบบใดก็ตามที่มีอยู่จากเรา รวมทั้งข้อความวิกิ เว็บเพจเอชทีเอ็มแอล ฟีด xml ฯลฯ
คุณอาจสามารถบรรลุข้อผูกพันสองข้อหลังบางส่วนได้โดยการหาลิงก์โดยตรงที่เห็นได้ชัดเจนกลับมายังบทความวิกิพีเดียที่อยู่บนเว็บไซต์นี้ คุณยังต้องให้การเข้าถึงสำเนาโปร่งใสของข้อความใหม่ด้วย อย่างไรก็ดี พึงระลึกว่ามูลนิธิวิกิมีเดียไม่รับประกันว่าจะเก็บรักษาสารสนเทศผู้ประพันธ์และสำเนาโปร่งใสของบทความ ฉะนั้น จึงแนะนำให้คุณหาสารสนเทศผู้ประพันธ์นี้และสำเนาโปร่งใสของงานดัดแปลงของคุณ
ประกาศตัวอย่าง
ประกาศตัวอย่างสำหรับบทความที่ใช้บทความวิกิพีเดีย วิกิพีเดีย ภายใต้ CC-BY-SA อาจอ่านได้ดังนี้
บทความนี้ใช้ข้อความจากบทความวิกิพีเดีย <a href="http://th.wikipedia.org/wiki/วิกิพีเดีย">"วิกิพีเดีย"</a> ซึ่งเผยแพร่ภายใต้ <a href="http://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0/">สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0</a>
(แน่นอนว่า "วิกิพีเดีย" และยูอาร์แอลวิกิพีเดียต้องแทนที่อย่างเหมาะสม และคุณควรเปลี่ยนลิงก์ http://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0/ ให้ชี้ไปยัง "สำนเนาท้องถิ่น" ของข้อความ CC-BY-SA 3.0 บนเซิร์ฟเวอร์ของคุณ)
อีกทางหนึ่ง คุณสามารถแจกจ่ายสำเนา "วิกิพีเดีย" ของคุณร่วมกับสำเนาของ CC-BY-SA-3.0 (ดังที่ได้อธิบายในข้อความ) และรายการผู้ประพันธ์หลักอย่างน้อยห้าคน (หรือทุกคนหากน้อยกว่านั้น) บนชื่อเรื่องหน้า หรือบนสุดของเอกสาร เครื่องมือ สถิติประวัติหน้าสามารถช่วยคุณระบุผู้ประพันธ์หลักได้
"ประกาศตัวอย่าง" อีกอย่างหนึ่งสามารถยึดบนประกาศที่ให้สารสนเทศมากกว่าและยาวกว่าเล็กน้อยที่ใช้บนวิเกีย (ซึ่งใช้ได้ง่าย เพราะเป็นแม่แบบที่สั้นมาก) ดูตัวอย่างการใช้ที่ https://fisherymanagement.wikia.com/wiki/Template_talk:Taxobox_begin
ภาพและไฟล์อื่น
แม้โดยหลักการ ข้อความของวิกิพีเดียอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน และโดยทั่วไป สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู และสามารถใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในทุกวัตถุประสงค์ตราบเท่าที่เป็นไปตามข้อกำหนดการอนุญาต บางครั้งมีการระบุว่า สื่ออื่น (รวมถึงภาพ) อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตอื่น ไฟล์สื่อแต่ละไฟล์มีหน้าสารสนเทศของมันเองซึ่งรวมแหล่งที่มาและสารสนเทศสัญญาอนุญาต การคลิกที่ไฟล์สื่อจะนำไปยังหน้าสารสนเทศนี้ ไฟล์สื่อจำนวนมากสามารถใช้ได้อย่างเสรีตราบเท่าที่คุณปฏิบัติตามข้อตกลงของสัญญาอนุญาตที่ใช้กับไฟล์นั้น ในการดาวน์โหลดภาพเสรีหนึ่ง ๆ จากหน้าสารสนเทศ ขั้นแรก คลิก "ความละเอียดเต็ม" หรือชื่อที่มีลิงก์ของภาพ ต่อมา เลือกบันทึกภาพ (ตัวเลือกแน่ชัดขึ้นอยู่กับเบราว์เซอร์) สรุปภาพรวมบางงสัญญาอนุญาตที่อาจใช้ได้กับสื่อบนวิกิพีเดียสามารถดูได้ที่ วิกิพีเดีย:ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของไฟล์ สารสนเทศเพิ่มเติมพบได้ที่ Commons:Licensing ทว่า ทั้งมูลนิธิวิกิมีเดียและผู้ประพันธ์วัสดุบนเว็บไซต์วิกิมีเดียไม่ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้เองที่ต้องตัดสินว่าสัญญาอนุญาตใช้กับการใช้ซ้ำที่ตั้งใจไว้อย่างไร
หน้าสารสนเทศไฟล์สื่อรวมสารสนเทศติดต่อกับผู้ทรงลิขสิทธิ์ หากเงื่อนไขสัญญาอนุญาตของไฟล์สื่อไม่เหมาะสมกับการใช้ซ้ำที่ตั้งใจไว้ สามารถติดต่อผู้ทรงลิขสิทธิ์ของไฟล์สื่อเพื่อขอเงื่อนไขทางเลือก ซึ่งต้องเจรจากับผู้ทรงลิขสิทธิ์โดยตรง
วัสดุใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบและข้อกำหนดพิเศษ
ข้อความวิกิพีเดียดั้งเดิมทั้งหมดเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต GFDL และ CC-BY-SA บางครั้ง บทความวิกิพีเดียอาจรวมภาพ เสียงหรือการอ้างข้อความที่ใช้ภายใต้หลัก "การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ" ของกฎหมายสหรัฐอเมริกา ควรที่ไฟล์เหล่านี้ได้มาภายใต้สัญญาอนุญาตที่เสรีที่สุด (เช่น สัญญาอนุญาตเสรีหรือสาธารณสมบัติ) ในกรณีซึ่งปัจจุบันหาภาพหรือเสียงที่ว่าไม่ได้ ภาพใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบจึงยอมรับได้ (จนกว่าหาภาพเสรีได้)
ในกรณีนี้ วัสดุควรถูกระบุว่ามาจากแหล่งข้อมูลอื่น (ในหน้ารายละเอียดภาพ หรือประวัติหน้าตามความเหมาะสม) เนื่องจาก "การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ" เจาะจงกับการใช้ซึ่งคุณพิจารณาถี่ถ้วน คุณจึงควรอธิบายคำชี้แจงเหตุผลการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบสำหรับการใช้เจาะจงดังกล่าวด้วยข้อความซ่อนในบทความหรือในหน้ารายละเอียดไฟล์เป็นดีที่สุด ระลึกว่าสิ่งที่ถือว่าใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบบนวิกิพีเดียอาจไม่ถือเป็นการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบสำหรับการใช้เนื้อหาในบริบทอื่นที่คุณตั้งใจ
ตัวอย่างเช่น หากเรารวมภาพหนึ่งที่ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ คุณต้องทำให้แน่ใจว่าการใช้บทความของคุณก็มีคุณสมบัติการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบเช่นกัน (อาจไม่ใช่ในบางกรณี ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังใช้บทความวิกิพีเดียเพื่อการใช้เชิงพาณิชย์ซึ่งหลักการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบและสัญญาอนุญาตของเราไม่อนุญาตการใช้เชิงพาณิชย์) ผู้ใช้ภาพวิกิพีเดียนอกสหรัฐอเมริกายังควรระลึกว่า การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบนั้นทราบกันในสหรัฐอเมริกา แต่อาจไม่มีอยู่ในเขตอำนาจของตน ประเทศอื่นส่วนใหญ่มีข้อยกเว้นที่นิยามไว้อย่างดีสำหรับการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ต้องได้รับสัญญาอนุญาตชัดเจน ในประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ มีหลักการปฏิบัติที่เป็นธรรม (fair dealing) ประเทศที่ยอมรับอนุสัญญากรุงเบิร์นฯ มีการยกเว้นสำหรับกรณีที่นิยามอย่างแคบ ซึ่งอนุญาตให้อ้างข้อความสั้นจากงานอันมีลิขสิทธิ์ได้ หากมีการระบุแหล่งที่มาอย่างเหมาะสม และอาจมีการยกเว้นอื่นแล้วแต่กฎหมายประเทศที่คุณอยู่ (สำหรับประเทศไทย ดู พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ หมวด ๑ ลิขสิทธิ์ ส่วนที่ ๖ ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์)
วิกิพีเดียใช้บางข้อความภายใต้สัญญาอนุญาตซึ่งเข้ากันได้กับ GFDL แต่อาจต้องมีข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งไม่ต้องมีในข้อความวิกิพีเดียดั้งเดิม (เช่น หัวข้อห้ามเปลี่ยน [Invariant Section] ข้อความปกหน้าหรือข้อความปกหลัง) เมื่อใช้วัสดุเหล่านี้ คุณต้องระบุหัวข้อห้ามเปลี่ยนแบบคำต่อคำ
เราพยายามอย่างหนักเพื่อระบุแหล่งที่มาและสัญญาอนุญาตของสื่อทั้งหมด เช่น ข้อความ ภาพหรือเสียงที่ใช้ในบทความสารานุกรมของเรา กระนั้น เราไม่สามารถรับประกันได้ว่าสื่อทั้งหมดใช้หรือทำเครื่องหมายอย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น หากหน้ารายละเอียดภาพระบุว่าภาพนั้นเป็นสาธารณสมบัติ คุณก็ยังควรตรวจสอบด้วยตนเองว่าการอ้างนี้ดูถูกต้องหรือไม่ และตัดสินใจเองว่าการใช้ภาพของคุณจะเป็นไปตามกฎหมายซึ่งใช้กับคุณหรือไม่ วิกิพีเดียอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ผู้ใช้นอกสหรัฐอเมริกาควรระลึกว่าเขาอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายประเทศตนเช่นกัน ซึ่งแทบแน่นอนว่าแตกต่างจากกฎหมายสหรัฐอเมริกา ภาพที่เผยแพร่ภายใต้ GFDL หรือสัญญาอนุญาตหนึ่งของครีเอทีฟคอมมอนส์ไม่น่าก่อปัญหา เพราะเป็นสัญญาอนุญาตเจาะจงที่มีข้อกำหนดแน่ชัดทั่วโลก ผู้ใช้ซ้ำอาจต้องประเมินภาพสาธารณสมบัติอีกครั้ง เพราะสาธารณสมบัติขึ้นอยู่กับกฎหมายลิขสิทธิ์แต่ละประเทศว่าสิ่งใดเป็นสาธารณสมบัติในประเทศนั้น ไม่มีการรับประกันว่าสิ่งที่เป็นสาธารณสมบัติในสหรัฐอเมริกาและเป็นสาธารณสมบัติในประเทศของคุณเช่นกัน