วิจารณ์ พลฤทธิ์
วิจารณ์ พลฤทธิ์ | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | 26 เมษายน พ.ศ. 2519 อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | ||||||||||||||||||||
อาชีพ | |||||||||||||||||||||
คู่สมรส | จุฬาพร พลฤทธิ์ | ||||||||||||||||||||
บุตร | 1 คน | ||||||||||||||||||||
อาชีพนักมวย | |||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | ||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
| |||||||||||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||||||||||||||
รับใช้ | ไทย | ||||||||||||||||||||
แผนก/ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ | ||||||||||||||||||||
ประจำการ | พ.ศ. 2539–ปัจจุบัน | ||||||||||||||||||||
ชั้นยศ | พันตำรวจโท | ||||||||||||||||||||
หน่วย | กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 | ||||||||||||||||||||
พันตำรวจโท วิจารณ์ พลฤทธิ์ นักมวยเหรียญทองโอลิมปิกชาวไทยคนที่ 2 ต่อจาก สมรักษ์ คำสิงห์ โดยชนะการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่น ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 27 ณ นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย
ประวัติ
[แก้]วิจารณ์เกิดในเวลาเย็นของวันพฤหัสที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2519 ที่ ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยเป็นลูกคนที่ 3 ในจำนวนลูกทั้งหมด 4 คนของนายจิ้มและนางทองม้วน พลฤทธิ์ โดยพ่อจิ้มมีอาชีพเป็นควาญช้างลากซุง แต่ชื่นชอบในกีฬามวย จึงให้ลูกชายของตนคนนี้ไปฝึกซ้อมมวยไทยกับลูกชายของตนอีกคน ซึ่งก็คือพี่ชายของวิจารณ์นั่นเอง ต่อมา ครูงาน ซึ่งเป็นครูมวยของพี่ชายวิจารณ์ได้ฝึกหัดมวยไทยให้แก่วิจารณ์อย่างจริงจังพร้อม ๆ กับลูกชายของตนเอง โดยวิจารณ์ขณะนั้นอายุได้ 10 ขวบ ใช้ชื่อในการชกมวยครั้งแรกว่า "แสนเชิง ลูกเมืองดัง"
ต่อมา วิจารณ์ย้ายมาอยู่ในกรุงเทพฯ ใช้ชื่อว่า "คมเคียวเล็ก ศิษย์ครูงาน" โดยมี ร.ท.ไฉน ผ่องสุภา เป็นผู้ดึงมาให้อยู่ในค่าย พันธ์ยุทธภูมิ ของ ยุทธภูมิ แจ้งโพธิ์นาค พ่อของ ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค เนื่องจาก คมเคียวเล็ก ต้องเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดด่านสำโรง ซึ่งเห็นว่าอยู่ใกล้กับค่ายพันธุ์ยุทธภูมินั่นเอง โดยคมเคียวเล็ก เปลี่ยนมาใช้ชื่อเป็น สุโขทัย ตามจังหวัดเกิด เมื่อแสนเชิง ลูกบ้านดัง หรือ วิจารณ์ พลฤทธิ์ เห็นพี่ชายมาก็ย้ายมาเรียนที่จังหวัดสมุทรปราการซึ่งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ตัวเองก็อยากจะมาอยู่ด้วย เมื่อราวปี พ.ศ. 2530 วิจารณ์อายุได้ 11 ขวบ จึงย้ายมา และก็ได้อาศัยอยู่ที่ค่ายพันธ์ยุทธภูมิ โดยเรียนหนังสือไปด้วย ซ้อมมวยไปด้วย โดยเปลี่ยนชื่อมาเป็น สุโขทัยเล็ก ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น ศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นอำเภอเกิด จนกลายเป็นนักมวยไทยที่ชื่อว่า "ศรีสัชนาลัย แท็กซี่มิเตอร์"
วิจารณ์ชกมวยจนกระทั่งปี พ.ศ. 2535 ชกที่เวทีราชดำเนินครั้งแรกได้ค่าตัว 2,000 บาท ต่อมาอีกไม่นาน เมื่อ พ.ต.อ.เสวก ปิ่นสินชัย ได้แต่งตั้งเป็นโปรโมเตอร์ของเวทีราชดำเนินใช้ชื่อ "ศึกอัศวินดำ" ได้รับการโอนสิทธิ์ขาดในความเป็นผู้จัดการ และหัวหน้าคณะแต่เพียงผู้เดียวจาก ร.ท. ไฉน ผ่องสุภา โดยถือเป็น "มวยแถม" หลังจากที่ได้มีการตกลงเจรจากันเรื่องสิทธิ์ของ "ขุนเข่าไร้น้ำใจ" หลังสวน พันธ์ยุทธภูมิ ซึ่ง พ.ต.อ.เสวก รับจัด ศรีสัชนาลัยมาโดยตลอดจนกระทั่งได้เป็นแชมป์มวยไทยรุ่น จูเนียร์แบนตัมเวทหรือพิกัด 115 ปอนด์ ที่เวทีรังสิต แต่ภายหลังเมื่อ พ.ต.อ.เสวก ไม่ได้เป็นโปรโมตอร์ ของเวทีราชดำเนิน แต่ยังคงมีรายการถ่ายทอดสดทางช่อง 9ทุกสัปดาห์ ก็เกรงว่า ศรีสัชนาลัย จะหาเงินจากการชกมวยไม่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องจึงสนับสนุนให้ ศรีสัชนาลัย รับราชการตำรวจ จนได้รับยศ สิบตำรวจตรี (ส.ต.ต.) ซึ่งในช่วงเวลานี้เอง พ.ต.อ. เสวก ได้นำศรีสัชนาลัยมาชกมวยสากลสมัครเล่นให้กับทีมสโมสรตำรวจโดยสลับกับการชกมวยไทย ก่อนที่วิจารณ์จะติดทีมชาติ เพราะเหตุว่า ประมวนศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ นักมวยทีมชาติคนก่อนขอแขวนนวม ซึ่ง วิจารณ์ ถือเป็นนักมวยนอกสายตา หรือนักมวยในระดับเกรดบีเท่านั้น เพราะเพิ่งชกมวยสากลได้ราว 2 ปี เท่านั้น คือ ครั้งแรกชิงแชมป์ประเทศไทยปี พ.ศ. 2542 ตกรอบแรก ก่อนที่จะได้แชมป์กีฬากองทัพไทย และเป็นแชมป์ซีเกมส์ปีเดียวกัน
โอลิมปิก 2000
[แก้]เมื่อต้นปีนี้เองในเดือนเมษายน วิจารณ์ถูกเรียกตัวติดทีมชาติ อันมาจากประมวลศักดิ์ได้แขวนนวมไป พ.ต.อ.เสวก ยอมมอบให้ แต่ในเดือนเมษายน จะขอให้กลับมาชกรับใช้สโมสรต้นสังกัด สโมสรตำรวจในศึกสี่เหล่าทัพและคัดเลือกได้แชมป์เลกที่ 3 ที่ไทยในการคัดเลือกเป็นตัวแทนไปแข่งโอลิมปิกฤดูร้อนที่นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2543 แม้วิจารณ์จะเป็นนักมวยที่ชกได้ชาญฉลาด จนได้ฉายาว่า "อิ๊กคิวซัง" แต่วิจารณ์ก็มิได้เป็นนักมวยตัวเก็งเหรียญทองหรือเหรียญรางวัลใดเลย เหตุเพราะมีประสบการณ์ในการชกมวยสากลสมัครเล่นน้อยมาก โดยที่นักมวยตัวเก็งเหรียญทองในครั้งนั้นก็คือ สมรักษ์ คำสิงห์ นั่นเอง แต่ทว่าสมรักษ์ได้ตกรอบ 2 โดยแพ้ ร็อกกี ฮัวเรซ นักมวยชาวอเมริกันไปแล้ว นักมวยคนอื่น ๆ ก็ทะยอยตกรอบ แต่ว่าการชกของวิจารณ์กลับทำได้ดีและดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งทะลุขึ้นชิงรอบชิงชนะเลิศและสามารถคว้าเหรียญทองมาได้ในที่สุด โดยวิจารณ์ชนะในรอบต่าง ๆ ดังนี้
- รอบ 32 คน: วาร์ดัน ซาการ์ยัน (เยอรมัน) 18-2
- รอบ 16 คน: แอนดรํว์ คูเนอร์ (แคนาดา) 11-7
- รอบ 8 คน: มานูเอล มันติญา (คิวบา) 19-8
- รอบรองชนะเลิศ: วอลอดือมือร์ ซืยดอเรนโค (ยูเครน) 14-11
- รองชิงชนะเลิศ: บูรัต ยูมาดิลอฟ (คาซัคสถาน) 19-12
ซึ่งก่อนการชกรอบชิงชนะเลิศ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานกระเช้าผลไม้ให้วิจารณ์และทีมงาน โดยผ่านสถานทูตไทยที่ออสเตรเลียและทรงอวยพรให้วิจารณ์ได้รับชัยชนะในการชกด้วย
หลังคว้าเหรียญทองโอลิมปิก
[แก้]หลังได้เหรียญทองแล้ว วิจารณ์ก็ได้แขวนนวมทันที โดยนำเงินรางวัลที่ได้เปิดร้านขายผ้าไหมร่วมกับภรรยาคือ จุฬาพร พลฤทธิ์ (เก๋) และได้มีผลงานการแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง สมิงบ้านไร่ ทางช่อง 3 ในเวลาเย็น โดยแสดงร่วมกับภรรยาด้วย[1] ปัจจุบัน วิจารณ์ยังรับราชการตำรวจอยู่ โดยมียศเป็น พันตำรวจโท (พ.ต.ท.) ดำรงตำแหน่ง รองผู้กำกับการ ฝ่ายอำนวยการ ตำรวจภูธรจังหวัดอุตรดิตถ์[2]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 เขาได้รับการแต่งตั้งจากสมาคมกีฬามวยสากลแห่งประเทศไทย ให้เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทยทั้งชายและหญิง[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[5]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[6]
- พ.ศ. 2557 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
วงการบันเทิง
[แก้]ละครโทรทัศน์
[แก้]- สมิงบ้านไร่ คู่กับ ธิติยา นพพงษากิจ ช่อง 3 (2546)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1]เก็บถาวร 2005-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน “วิจารณ์ผ้าทอ” ธุรกิจเล็กๆ ของฮีโร่โอลิมปิก จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ "ประวัติจากเว็บไซต์จังหวัดสุโขทัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-04. สืบค้นเมื่อ 2009-04-12.
- ↑ "ส.มวยสากลฯตั้ง วิจารณ์ พลฤทธิ์ เฮดโค้ชทีมกำปั้นไทยชาย-หญิง". www.siamsport.co.th (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-03.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๗, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๖๑, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘๐, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2519
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอศรีสัชนาลัย
- นักมวยไทยชาวไทย
- นักกีฬาโอลิมปิกทีมชาติไทย
- นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทย
- นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทยชุดโอลิมปิก 2000
- นักกีฬาไทยที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก
- นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย
- ตำรวจชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
- นักกีฬาจากจังหวัดสุโขทัย