วิธีใช้:การอ้างอิงสำหรับผู้เริ่มต้น
หน้าคำอธิบายนี้เป็นคู่มือบอกวิธี ซึ่งบอกรายละเอียดกระบวนการหรือกระบวนวิธีของบางส่วนของบรรทัดฐานและวัตรของวิกิพีเดีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย
|
This page assumes you are using the source editor. Alternatively, learn referencing in VisualEditor. The source editor shows underlying wiki markup like [[Earth]] . The VisualEditor works like a word processor. |
นโยบายสำคัญอย่างหนึ่งของวิกิพีเดียคือเนื้อหาบทความทั้งหมดต้องพิสูจน์ยืนยันได้ หมายความว่าจะต้องหาแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือรองรับเนื้อหาได้ คำพูด (quotation) ของผู้อื่นทั้งหมด เนื้อหาที่ถูกคัดค้านการพิสูจน์ยืนยันได้หรือน่าจะถูกคัดค้าน และเนื้อหาซึ่งมีข้อพิพาท (ไม่ว่าเป็นเชิงลบ เชิงบวกหรือเป็นกลางก็ตาม) เกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องมีการอ้างอิงในบรรทัด ไปยังแหล่งที่มาที่รองรับเนื้อหานั้นโดยตรง หมายความว่า วิกิพีเดียไม่ใช่ที่สำหรับงานค้นคว้าต้นฉบับ ข้อค้นพบใหม่ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ที่อื่นมาก่อน หรือหลักฐานจากแหล่งที่มาที่ยังไม่มีการเผยแพร่
หากคุณเพิ่มเนื้อหาใหม่ เป็นภาระของคุณในการเพิ่มสารสนเทศการอ้างอิงแหล่งที่มา เนื้อหาที่ไม่มีแหล่งที่มามีโอกาสถูกนำออกจากบทความได้ บางทีเนื้อหาดังกล่าวอาจมีการติดป้ายระบุ "ต้องการอ้างอิง" ก่อนเพื่อให้เวลาผู้เขียนหาและเพิ่มแหล่งที่มาก่อนถูกลบ แต่บางทีเนื้อหาที่ผิดชัด ๆ หรือมีผลเสียอาจถูกลบทันทีก็ได้
มอดูลสอนการใช้งานนี้จะแสดงวิธีการเพิ่มแหล่งที่มาในบรรทัดลงในบทความ และอธิบายสั้น ๆ ว่าวิกิพีเดียมองว่าสิ่งใดบ้างที่เป็นแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
การอ้างอิงในเนื้อหา
[แก้]การอ้างอิงในบรรทัดปกติเป็นเชิงอรรถตัวเลขขนาดเล็กแบบนี้[1] โดยทั่วไปแทรกไว้หลังข้อมูลที่รองรับทันที หรือท้ายประโยคที่รองรับ โดยอยู่หลังเครื่องหมายวรรคตอน เมื่อคลิกแล้วจะนำผู้อ่านไปส่วนอ้างอิงที่อยู่ท้ายบทความ
ระหว่างแก้ไขหน้าที่ใช้ลีลาเชิงอรรถดังกล่าว คุณจะเห็นการอ้างอิงในบรรทัดแสดงอยู่ระหว่างป้ายระบุ <ref>...</ref>
หากคุณสร้างหน้าใหม่ หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิงในหน้าที่ไม่เคยมีมาก่อน อย่าลืมใส่ส่วน อ้างอิง ด้วย ดังตัวอย่างด้านล่าง
== อ้างอิง == {{รายการอ้างอิง}}
หมายเหตุ: ระบบนี้เป็นระบบการอ้างอิงในบรรทัดที่ได้รับความนิยมสูงสุด แต่บางทีอาจใช้ระบบอื่นก็ได้ เช่น อ้างอิงแบบวงเล็บ (Wales, 2025 : 6) ถือว่ายอมรับได้ และคุณไม่ควรเปลี่ยนหรือคละระบบอ้างอิง ในการเพิ่มแหล่งอ้างอิงใหม่ให้คัดลอกและดัดแปรจากระบบที่ใช้อยู่แล้วในหน้านั้น
- ↑ Wales, J (2025). What is an inline citation?. Wikipublisher. p. 6.
RefToolbar
[แก้]การเพิ่มแหล่งอ้างอิงอาจเป็นกระบวนการที่เชื่องช้าและและยุ่งยากได้ โชคดีที่มีเครื่องมือชื่อ "RefToolbar" ติดมากับหน้าต่างแก้ไขวิกิพีเดียด้วย ซึ่งทำให้ง่ายเข้า
การใช้เพียงแค่กด อ้าง ที่อยู่ในแถบเครื่องมือแก้ไขบนหน้าต่างแก้ไข โดยวางเคอร์เซอร์ไว้ตรงตำแหน่งท้ายประโยคที่คุณต้องการแทรกอ้างอิง แล้วเลือก 'แม่แบบ' หนึ่งจากรายการเลือกดึงลงที่เหมาะกับชนิดของแหล่งที่มา ประกอบด้วย
{{cite web}}
สำหรับการอ้างอิงเว็บไซต์ทั่วไป{{cite news}}
สำหรับหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ข่าว{{cite book}}
สำหรับการอ้างอิงหนังสือ{{cite journal}}
สำหรับนิตยสาร วารสารวิชาการ และเอกสารวิจัย
จะปรากฏหน้าต่างแม่แบบขึ้น ให้คุณกรอกสารสนเทศให้ได้มากที่สุดเกี่ยวกับแหล่งที่มา และให้ชื่อที่ไม่ซ้ำกันในเขตข้อมูล "ชื่อแหล่งที่มา" (เป็นชื่อที่คิดเอง ใช้เวลาเมื่อต้องเรียกใช้แหล่งอ้างอิงนี้ซ้ำเท่านั้น) คลิกปุ่ม "แทรก" ซึ่งจะเพิ่มข้อความวิกิที่จำเป็นในหน้าต่างแก้ไข คุณอาจต้องการกด "แสดงตัวอย่าง" เพื่อดูความเรียบร้อยก่อน
บางเขตข้อมูล (เช่น ที่อยู่เว็บไซต์ หรือเรียกยูอาร์แอล) จะมีไอคอน อยู่ถัดจากลิงก์ เมื่อกรอกเขตข้อมูลนี้ คุณสามารถคลิกไอคอนนี้เพื่อให้เติมเขตข้อมูลที่เหลือได้อัตโนมัติ แต่ยังทำงานได้ไม่ถูกต้องเสมอไป ฉะนั้นดูให้แน่ใจก่อนสักรอบหนึ่ง
บ่อยครั้งคุณจะต้องการใช้แหล่งที่มาซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้งเพื่อรองรับข้อมูลหลายตำแหน่ง กรณีนี้คุณสามารถคลิก แหล่งอ้างอิงมีชื่อ ในแถบเครื่องมือ และเลือกแหล่งที่มาเท่าที่มีชื่อเพื่อนำมาใช้ซ้ำได้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
[แก้]บทความวิกิพีเดียต้องการแหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ ที่รองรับสารสนเทศที่นำเสนรอในบทความโดยตรง เมื่อคุณทราบวิธีการเพิ่มแหล่งข้อมูลลงในบทความแล้ว แต่แหล่งข้อมูลใดบ้างที่น่าใช้
คำว่า "แหล่งข้อมูล" ในวิกิพีเดียมี 3 ความหมาย ได้แก่ ตัวงานเอง (เช่น เอกสาร บทความ งานวิจัยหรือหนังสือ), ผู้สร้างสรรค์งาน (เช่น ผู้เขียน) และผู้เผยแพร่งาน (ตัวอย่างเช่น สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์) ทั้งหมดเป็นปัจจัยตัดสินความน่าเชื่อถือ
เป็นกฎทั่วไปว่า แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่าย่อมมีบุคคลร่วมในการตรวจสอบข้อเท็จจริง วิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมาย และวิเคราะห์ทบทวนงานในสิ่งพิมพ์เผยแพร่มากกว่า สิ่งพิมพ์เผยแพร่วิชาการและมีพิชญพิจารณ์ (peer review) เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างอื่นเช่น ตำราระดับมหาวิทยาลัย หนังสือพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงดี นิตยสาร วารสาร และหนังสือพิมพ์กระแสหลัก
(* พึงระวังบล็อกของสำนักข่าวและนิตยสารบางสำนัก ซึ่งเปิด "บล็อก" และให้บุคคลทั่วไปเสนอข่าวในเว็บไซต์ของตน บล็อกนี้อาจน่าเชื่อถือหากผู้เขียนเป็นนักเขียนอาชีพ แต่ผู้อ่านทั่วไปปกติถือว่าไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ)
สื่อที่พิมพ์เอง คือ สื่อที่ผู้เขียนและผู้เผยแพร่เป็นบุคคลเดียวกัน เช่น เว็บไซต์ส่วนตัว หนังสือ สิทธิบัตร วิกิเปิด บล็อกส่วนบุคคลหรือกลุ่ม และทวีตปกติยอมรับเป็นแหล่งข้อมูลไม่ได้ มีข้อยกเว้นทั่วไปว่าผู้เขียนนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญมีผู้นับถือและมีประวัติเคยพิมพ์เผยแพร่ผลงานในสำนักพิมพ์บุคคลที่สามในเรื่องนั้นแล้ว กรณีนี้ งานที่พิมพ์เอง อาจ ถือว่าน่าเชื่อถือสำหรับหัวข้อนั้น (หัวข้อเดียว ไม่รวมหัวข้ออื่น) แต่ถึงอย่างไรก็ควรใช้สิ่งพิมพ์เผยแพร่บุคคลที่สามตามเดิม
การใช้แหล่งที่มานั้นยังขึ้นอยู่กับบริบทด้วย แหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือสำหรับเนื้อหาประเภทหนึ่งอาจไม่น่าเชื่อถือสำหรับเนื้อหาอีกประเภทหนึ่ง คุณควรพยายามหาแหล่งที่มาที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้สำหรับสารสนเทศที่คุณมี สำหรับสารสนเทศเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ใช้เฉพาะแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือที่สุดเท่านั้น ในบางโอกาสเท่านั้นที่แหล่งที่มาที่พิมพ์เองสามารถใช้อ้างอิงตัวเองได้
เหล่านี้เป็นแนวปฏิบัติทั่วไป แต่หัวข้อแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือเป็นเรื่องซับซ้อน และนำมาลงในหน้านี้หมดไม่ได้ คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ การพิสูจน์ยืนยันได้ และ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
ดูเพิ่ม
[แก้]- Wikipedia:VisualEditor/User guide § Adding a new reference
- Wikipedia:VisualEditor/User guide § Editing references
- Help:Referencing for beginners without using templates
- Help:Referencing for beginners with citation templates
- Help:Citations quick reference
- Help:References and page numbers
- Wikipedia:References dos and don'ts
- Wikipedia:Identifying reliable sources
- Wikipedia:Citation templates
- User:Nick Moyes/Easier Referencing for Beginners
แม่แบบ:Wikipedia referencing แม่แบบ:Citation Style 1 แม่แบบ:Introduction/navigation