ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอเมืองสมุทรสาคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเมืองสมุทรสาคร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Samut Sakhon
เรือข้ามฟากแม่น้ำท่าจีน
เรือข้ามฟากแม่น้ำท่าจีน
แผนที่จังหวัดสมุทรสาคร เน้นอำเภอเมืองสมุทรสาคร
แผนที่จังหวัดสมุทรสาคร เน้นอำเภอเมืองสมุทรสาคร
พิกัด: 13°32′54″N 100°16′24″E / 13.54833°N 100.27333°E / 13.54833; 100.27333
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรสาคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด492.04 ตร.กม. (189.98 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด304,251 คน
 • ความหนาแน่น618.35 คน/ตร.กม. (1,601.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 74000
รหัสภูมิศาสตร์7401
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรสาคร ถนนเศรษฐกิจ 1 ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองสมุทรสาคร เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดสมุทรสาคร และยังเป็นอำเภอปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ทำให้มีความเจริญในด้านนิคมอุตสาหกรรมและการตลาด

ศาลพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์
วัดโคกขาม ตำบลโคกขาม
วัดใหญ่บ้านบ่อ บ้านคลองหลวง ตำบลบ้านบ่อ

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอเมืองสมุทรสาครมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติ

[แก้]
  • พ.ศ. 2440 ก่อตั้งอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ขึ้นกับมณฑลนครไชยศรี
  • วันที่ 18 มีนาคม 2448 จัดตั้งสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร ในท้องที่บริเวณตลาดท่าฉลอม[1] นับเป็นสุขาภิบาลในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย
  • วันที่ 1 เมษายน 2451 ขยายเขตสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอม[2] ให้ถึงสถานีรถไฟบ้านแหลม ตำบลวัดแหลม
  • วันที่ 9 ธันวาคม 2459 เปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลเมือง[3] โดยรวมพื้นที่ตำบลท่าฉลอมทั้งตำบล บางส่วนของตำบลท่าจีน บางส่วนของตำบลมหาชัย บางส่วนของตำบลบางหญ้าแพรก บางส่วนของตำบลโกรกกราก
  • วันที่ 24 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองเป็น อำเภอเมืองสมุทรสาคร[4]
  • วันที่ 30 ตุลาคม 2468 ย้ายอำเภอบ้านบ่อมาตั้งที่หมู่บ้านแพ้ว รวมพื้นที่ตำบลดอนไผ่ ตำบลบ้านแพ้ว ตำบลเจ็ดริ้ว ตำบลคลองตัน จากอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ตำบลอำแพง อำเภอเมืองสมุทรสาคร กับตำบลดำเนินสะดวก (ตำบลสวนส้ม) อำเภอกระทุ่มแบน รวมเข้ากับตำบลหลักสามและตำบลโรงเข้ ของอำเภอบ้านบ่อ (อำเภอเมืองสมุทรสาคร) จัดตั้งเป็นอำเภอบ้านแพ้ว[5] ส่วนอำเภอบ้านบ่อเก่าซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านบ่อ ให้รวมท้องที่ตำบลบ้านบ่อ ตำบลบางกระเจ้า ตำบลบางโทรัด ตำบลกาหลง และตำบลนาโคกไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านบ่อ[6] ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร
  • วันที่ 16 มีนาคม 2470 ยุบกิ่งอำเภอบ้านบ่อ อำเภอเมืองสมุทรสาคร รวมกับอำเภอเมืองสมุทรสาคร
  • วันที่ 17 กันยายน 2471 โอนพื้นที่ตำบลลูกวัวและพื้นที่หมู่ 5, 6, 7, 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางกระดี่ อำเภอเมืองสมุทรสาคร ไปขึ้นกับอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี[7]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2478 จัดตั้งเทศบาลเมืองสมุทรสาครในพื้นที่สุขาภิบาลเมืองสมุทรสาครเดิม[8] โดยครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอมทั้งตำบล บางส่วนของตำบลท่าจีน บางส่วนของตำบลบางหญ้าแพรก และบางส่วนของตำบลโกรกกราก
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2479 โอนพื้นที่หมู่ 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลโคกขาม ไปขึ้นกับตำบลบ้านขอม[9]
  • วันที่ 9 เมษายน 2483 โอนพื้นที่หมู่ 5 (บางส่วนนอกเขตเทศบาล) หมู่ที่ 9, 10 ของตำบลบางหญ้าแพรก ไปขึ้นกับตำบลบางกระเจ้า โอนพื้นที่หมู่ 8, 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลโกรกกราก ไปขึ้นกับตำบลโคกขาม โอนพื้นที่หมู่ 2 (บางส่วนนอกเขตเทศบาล) ของตำบลท่าจีนไปขึ้นกับตำบลท่าทราย หมู่ที่ 6 ตำบลท่าจีน ไปขึ้นกับตำบลบางกระเจ้า และโอนพื้นที่หมู่ 5, 7 (บางส่วนนอกเขตเทศบาล) ของตำบลมหาชัย ไปขึ้นกับตำบลบ้านขอม หมู่ที่ 12 ตำบลมหาชัย (บางส่วนนอกเขตเทศบาล) ไปขึ้นกับตำบลบางกระเจ้า[10]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลบ้านขอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร เป็นตำบลบ้านไร่[11]
  • วันที่ 26 สิงหาคม 2483 โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลโกรกกราก ไปขึ้นกับตำบลบ้านไร่ และโอนพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางกระเจ้า ไปขึ้นกับตำบลบ้านบ่อ[12]
  • วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรสาครได้ถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี และเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอสมุทรสาคร[13]
  • วันที่ 1 มกราคม 2486 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองสมุทรสาครเป็น อำเภอสมุทรสาคร[14]
  • วันที่ 9 พฤษภาคม 2489 แยกอำเภอสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว ออกจากการปกครองของจังหวัดธนบุรี จัดตั้งเป็นจังหวัดขึ้น เรียกว่า จังหวัดสมุทรสาคร[15]
  • วันที่ 25 กันยายน 2489 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็น อำเภอเมืองสมุทรสาคร[16]
  • วันที่ 20 ธันวาคม 2490 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาคร โดยตั้งตำบลท่าจีนแยกออกจากตำบลท่าฉลอม และตั้งตำบลโกรกกรากแยกออกจากตำบลมหาชัย[17]
  • วันที่ 2 เมษายน 2495 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาคร[18] เพิ่มพื้นที่ให้ครอบคลุมตำบลโกรกกรากทั้งตำบล ตำบลท่าฉลอมทั้งตำบล และตำบลมหาชัยทั้งตำบล (นำพื้นที่ตำบลโกรกกราก ตำบลท่าฉลอม และตำบลมหาชัย ส่วนที่ถูกตัดออกไปจากเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาคร ไปจัดตั้งเป็นตำบลท่าจีน และตำบลบางหญ้าแพรก) และเพิ่มพื้นที่บางส่วนของหมู่ 9 ตำบลโคกขาม และบางส่วนของหมู่ 9 ตำบลท่าทราย
  • วันที่ 2 ธันวาคม 2495 ตั้งตำบลท่าจีน แยกออกจากตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอม ตำบลบางกระเจ้า และตำบลท่าทราย[19] ตั้งตำบลบางหญ้าแพรก แยกออกจากตำบลโกรกกราก ตำบลโคกขาม และตำบลบางกระเจ้า กับโอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ 9 ตำบลโคกขาม (ที่อยู่นอกเขตเทศบาล) ไปรวมกับหมู่ที่ 4 ตำบลโคกขาม และพื้นที่บางส่วนของหมู่ 9 ตำบลท่าทราย (ที่อยู่นอกเขตเทศบาล) ไปรวมกับหมู่ที่ 8 ตำบลท่าทราย และยุบพื้นที่หมู่ 9 ตำบลโคกขาม และหมู่ที่ 9 ตำบลท่าทราย
  • วันที่ 27 เมษายน 2499 โอนพื้นที่บางส่วนของหมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลโคกขาม ไปรวมกับหมู่ที่ 4 ตำบลนาดี และหมู่ที่ 3 ตำบลนาดี[20]
  • วันที่ 12 เมษายน 2504 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลบ้านไร่เป็นตำบลพันท้ายนรสิงห์[21]
  • วันที่ 15 กรกฎาคม 2522 ตั้งตำบลชัยมงคล แยกออกจากตำบลบ้านบ่อ[22]
  • วันที่ 2 มิถุนายน 2530 จัดตั้งสุขาภิบาลบางปลาในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านเกาะ[23]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2530 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาคร (ครั้งที่ 2)[24] เพิ่มพื้นที่บางส่วนของตำบลบางหญ้าแพรก บางส่วนของตำบลท่าทราย บางส่วนของตำบลโคกขาม บางส่วนของตำบลท่าจีน
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 จัดตั้งสุขาภิบาลบางปลาเป็นเทศบาลตำบลบางปลา[25]
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน 2542 จัดตั้งเทศบาลนครสมุทรสาคร โดยยกฐานะจากเทศบาลเมืองสมุทรสาคร[26] ยึดเขตเทศบาลนครตามแผนที่เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาคร (ครั้งที่ 2)
  • วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนาดีเป็นเทศบาลตำบลนาดี[27] และจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าจีนเป็นเทศบาลตำบลท่าจีน[28]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบางหญ้าแพรกเป็นเทศบาลตำบลบางหญ้าแพรก[29]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2563 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคอกกระบือเป็นเทศบาลตำบลคอกกระบือ[30]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอเมืองสมุทรสาครแบ่งเขตการปกครองออกเป็น18 ตำบล 116 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[31]
แผนที่
1. มหาชัย Maha Chai
48,793
แผนที่
2. ท่าฉลอม Tha Chalom
7,936
3. โกรกกราก Krokkrak
4,786
4. บ้านบ่อ Ban Bo
9
8,567
5. บางโทรัด Bang Tho Rat
10
8,561
6. กาหลง Ka Long
8
4,572
7. นาโคก Na Khok
6
3,659
8. ท่าจีน Tha Chin
7
11,622
9. นาดี Na Di
9
28,146
10. ท่าทราย Tha Sai
8
31,468
11. คอกกระบือ Khok Krabue
6
9,984
12. บางน้ำจืด Bang Nam Chuet
6
14,828
13. พันท้ายนรสิงห์ Phanthai Norasing
8
38,986
14. โคกขาม Khok Kham
10
24,142
15. บ้านเกาะ Ban Ko
8
18,516
16. บางกระเจ้า Bang Krachao
9
11,249
17. บางหญ้าแพรก Bang Ya Phraek
6
25,666
18. ชัยมงคล Chai Mongkhon
6
4,061

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอเมืองสมุทรสาครประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครสมุทรสาคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอม และตำบลโกรกกรากทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางปลา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านเกาะ
  • เทศบาลตำบลนาดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาดีทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่าจีน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าจีนทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางหญ้าแพรก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลคอกกระบือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคอกกระบือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบ่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโทรัดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาหลงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาโคก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโคกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าทรายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางน้ำจืดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกขามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเกาะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางปลา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระเจ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระเจ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชัยมงคล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยมงคลทั้งตำบล

การคมนาคม

[แก้]

ถนน

[แก้]

ถนนสายสำคัญในอำเภอเมืองสมุทรสาคร ได้แก่

ขนส่งทางบก

[แก้]

หมวด 1 กทม.

[แก้]
  • สาย 7 รพ.เอกชัย - หัวลำโพง (เอกชน)
  • สาย 68 สมุทรสาคร - บางลำพู (ขสมก.)
  • สาย 120 สมุทรสาคร - แยกบ้านแขก (เอกชน)
  • สาย 529 วัดพันท้ายนรสิงห์ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (เอกชน)
  • สาย 529E วัดพันท้ายนรสิงห์ - ทางด่วน - หมอชิต 2 (เอกชน)
  • สาย 4-18 (105เดิม) สมุทรสาคร - คลองสาน (เอกชน)

หมวด 2

[แก้]
  • สาย 76 กรุงเทพ - สมุทรสงคราม

หมวด 3

[แก้]
  • สาย 402 นครปฐม - สมุทรสาคร

ขนส่งทางราง

[แก้]
  • สถานีรถไฟมหาชัย
  • ที่หยุดรถไฟท่าฉลอม


อ้างอิง

[แก้]
  1. [1]ประกาศแก้ภาษีโรงร้าน จัดสุขาภิบาลตลาดท่าฉลอมเมืองสมุทรสาคร
  2. [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศขยายเขตสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม ตั้งแต่ถนนถวายเลียบตามลำน้ำไปถึงสเตชันรถไฟสายแม่กลอง
  3. [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศเปลี่ยนการจัดสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เป็นสุขาภิบาลเมือง
  4. [4] เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ
  5. [5]แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายคณะอำเภอบ้านบ่อไปตั้งที่ตำบลบ้านแพ้วแล้วตั้งกิ่งบ้านบ่อขึ้นแทน
  6. [6]แจ้งความสภากาชาดสยาม เรื่อง ยุบหมู่อนุสภากาชาดอำเภอบ้านบ่อ จังหวัดสมุทรสาคร
  7. [7]ประกาศ โอนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร มณฑลนครชัยศรี มาขึ้นอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี
  8. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พุทธศักราช 2478" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1740–1744. 10 ธันวาคม 1935.
  9. [8] ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 273–274. 16 เมษายน 2483.
  11. [9] เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓
  12. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร
  13. "พระราชกริสดีกาเปลี่ยนชื่ออำเพอบางแห่ง พุทธสักราช 2486" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (3 ก): 103–105. 12 มกราคม 2486.
  14. [11]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๖ (เปลี่ยนชื่ออำเภอเมืองนครนายก อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรสาคร เป็นอำเภอนครนายก อำเภอนนทบุรี อำเภอสมุทรปราการ อำเภอสมุทรสาคร)
  15. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
  16. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอบางแห่ง พ.ศ. 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (63 ก): 486–488. 24 กันยายน 2489. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
  17. [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปรับปรุงตำบลในเขตเทศบาล จังหวัดสมุทรสาคร (เปลี่ยนแปลงเขตตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตั้งเป็นตำบลใหม่ ตำบลท่าจีน และตำบลโกรกกราก)
  18. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2495" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (22 ก): 541–545. 1 เมษายน 2495.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (31 ง): 4453–4456. 2 ธันวาคม 2495.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (40 ง): 1428. 15 พฤษภาคม 2499.
  21. [13] เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๐๔
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (122 ง): 2661–2663. 24 กรกฎาคม 2522.
  23. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางปลา อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (125 ง): 4601–4603. 2 กรกฎาคม 2530.
  24. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (145 ก): 1–7. 29 กรกฎาคม 2530.
  25. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-14.
  26. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2542" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (110 ก): 2–5. 10 พฤศจิกายน 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
  27. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล นาดี เป็น เทศบาลตำบลนาดี". 8 กรกฎาคม 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  28. "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล ท่าจีน เป็น เทศบาลตำบลท่าจีน". 8 กรกฎาคม 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  29. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลบางหญ้าแพรก เป็น เทศบาลตำบลบางหญ้าแพรก". 18 กรกฎาคม 2008. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  30. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคอกกระบือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเทศบาลตำบลคอกกระบือ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 172 ง): 7–8. 29 กรกฎาคม 2020.
  31. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.