ข้ามไปเนื้อหา

ฮาซูดะ

พิกัด: 35°59′40.2″N 139°39′44.6″E / 35.994500°N 139.662389°E / 35.994500; 139.662389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาซูดะ

蓮田市
ศาลาว่าการนครฮาซูดะ
ศาลาว่าการนครฮาซูดะ
ธงของฮาซูดะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของฮาซูดะ
ตรา
ที่ตั้งของฮาซูดะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดไซตามะ
ที่ตั้งของฮาซูดะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดไซตามะ
แผนที่
ฮาซูดะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ฮาซูดะ
ฮาซูดะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°59′40.2″N 139°39′44.6″E / 35.994500°N 139.662389°E / 35.994500; 139.662389
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัด ไซตามะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีเคียวโกะ ยามางูจิ (山口 京子) (อิสระ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด27.28 ตร.กม. (10.53 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด61,043 คน
 • ความหนาแน่น2,238 คน/ตร.กม. (5,800 คน/ตร.ไมล์)
สัญลักษณ์
 • ต้นไม้ฮานามิซูกิ/ไม้ดอกด็อกวูด (Cornus florida)
 • ดอกไม้ซูอิเร็ง/สกุลบัวสาย (Nymphaea)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น11238-1
โทรศัพท์048-768-3111
ที่อยู่ศาลาว่าการ2799-1 คูโรฮามะ นครฮาซูดะ จังหวัดไซตามะ 349-0193
เว็บไซต์www.city.hasuda.saitama.jp

ฮาซูดะ (ญี่ปุ่น: 蓮田市โรมาจิHasuda-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในจังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 27.28 ตารางกิโลเมตร (10.53 ตารางไมล์) ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 มีจำนวนประชากรประมาณ 61,043 คน มีความหนาแน่นของประชากร 2,238 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2] ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครเมื่อ ค.ศ. 1972

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ภาพถ่ายทางอากาศบริเวณใจกลางเมืองฮาซูดะ ถ่ายเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2019

ฮาซูดะตั้งอยู่ในตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกของจังหวัดไซตามะ อยู่ติดกับพรมแดนทางทิศเหนือของนครไซตามะโดยตรง ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วย ที่ราบสูงฮาซูดะ ที่ตั้งอยู่ในใจกลางเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงโอมิยะ, ที่ราบสูงชิราโอกะ (คูโรฮามะ) ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง โดยมีแม่น้ำโมโตอาระอยู่ระหว่างกลางที่ราบทั้งสองดังกล่าว และพื้นที่ลุ่มรอบแม่น้ำอายาเซะ ซึ่งไหลผ่านทางทิศตะวันตกและทิศใต้ของเมือง

เทศบาลข้างเคียง

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

ฮาซูดะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือ ฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในฮาซูดะอยู่ที่ 14.7 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,363 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 26.7 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 3.8 °C[3]

สถิติประชากร

[แก้]

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] จำนวนประชากรของฮาซูดะเพิ่มขึ้นสูงสุดในราว ค.ศ. 2000 และลดลงเล็กน้อยในช่วงหลายทศวรรษนับแต่นั้นมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1960 20,673—    
1970 31,935+54.5%
1980 45,594+42.8%
1990 59,706+31.0%
2000 64,386+7.8%
2010 63,309−1.7%
2020 61,499−2.9%

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พื้นที่ฮาซูดะในปัจจุบันนั้นมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีแหล่งโบราณคดีมากมายภายในเขตเมือง ได้แก่ กองเนินเปลือกหอย และเนินฝังศพ นอกจากนี้ ยังมีร่องรอยของบ้านพักซามูไรและปราสาทจากยุคเซ็งโงกุหลงเหลืออยู่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของฮาซูดะในปัจจุบันเคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาอิวัตสึกิ ภายใต้การปกครองของโชกุนโทกูงาวะในยุคเอโดะ

หลังจากการฟื้นฟูเมจิ เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านอายาเซะขึ้นภายในอำเภอมินามิไซตามะ จังหวัดไซตามะ ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1934 และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฮาซูดะ เมืองฮาซูดะได้ผนวกหมู่บ้านข้างเคียง ได้แก่ คูโรฮามะ และฮิราโนะ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1954 และต่อมาก็ได้รับการยกฐานะเป็นนครฮาซูดะเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1972

ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2010 นครฮาซูดะมีแผนที่จะถูกรวมเข้ากับเมืองชิราโอกะที่อยู่ใกล้เคียง (จากอำเภอมินามิไซตามะ)[5] อย่างไรก็ตาม แผนการควบรวมดังกล่าวได้ถูกยกเลิกในเวลาไม่นานหลังจากที่เมืองชิราโอกะสามารถเพิ่มจำนวนประชากรเป็น 50,000 คน และยกฐานะเป็นนครได้

การเมืองการปกครอง

[แก้]

นครฮาซูดะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 20 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครฮาซูดะเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดไซตามะจำนวน 1 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครฮาซูดะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 13 จังหวัดไซตามะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

[แก้]

เนื่องด้วยที่ตั้ง นครฮาซูดะจึงพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยของผู้ที่เดินไปกลับที่ทำงานในเมืองใหญ่เป็นหลัก โดยประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งเดินทางไปทำงานในนครไซตามะที่อยู่ใกล้เคียงหรือไปยังมหานครโตเกียว อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองยังคงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม

การศึกษา

[แก้]

นครฮาซูดะมีโรงเรียนประถมศึกษา 8 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 5 แห่งที่สังกัดเทศบาลนครฮาซูดะ และมีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 1 แห่งที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดไซตามะ นอกจากนี้ ทางจังหวัดไซตามะยังเปิดโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการอีก 2 แห่งในนครฮาซูดะ

การขนส่ง

[แก้]

รถไฟ

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]
  • อาซาฮิมอเตอร์ (อาซาฮิบัส)
  • โคกูไซโคเงียวบัส
  • มารูเก็งสึบาซะโคตซือ (เค็นจังบัส)

ทางหลวง

[แก้]

สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น

[แก้]
  • เทศกาลซากูระบาน (ซากูระมัตสึริ) - จัดขึ้นทุกปีในฤดูใบไม้ผลิ มักจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนเมษายน เพื่อเฉลิมฉลองดอกซากูระบานเต็มที่ริมแม่น้ำโมโตอาระ
  • เทศกาลดอกคอสมอส - จัดขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง เพื่อชมดอกคอสมอสบานสะพรั่งทั่วทุกมุมเมือง
  • พิพิธภัณฑ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมฮาซูดะ - พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในบริเวณศาลาว่าการนคร
  • เนินเปลือกหอยคูโรฮามะ - อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งชาติยุคโจมง
  • สวนสาธารณะนิชิโจนูมะ - สวนสาธารณะประจำเทศบาลที่มีชื่อเสียงเรื่องดอกซากูระและดอกบัว

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "埼玉県推計人口" [จำนวนประชากรโดยประมาณของจังหวัดไซตามะ]. เว็บไซต์จังหวัดไซตามะ. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2024.
  2. "สถิติทางการของนครฮาซูดะ" (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น.
  3. ข้อมูลภูมิอากาศฮาซูดะ
  4. สถิติประชากรฮาซูดะ
  5. "市町村合併情報 埼玉県 <国土地理協会>". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-18. สืบค้นเมื่อ 2008-09-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]