ข้ามไปเนื้อหา

เคนอิจิ ลูกแกะพันธุ์เสือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคนอิจิ ลูกแกะพันธุ์เสือ
史上最強の弟子ケンイチ
(Shijō Saikyō no Deshi Ken'ichi)
แนวศิลปะการต่อสู้, ตลก, โรแมนติค, แอ็คชั่น
มังงะ
เขียนโดยมัตสึเอะนะ ชุน
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น โชงะกุกัง
นิตยสารโชเน็น ซันเดย์
กลุ่มเป้าหมายโชเน็น
วางจำหน่ายตั้งแต่9 สิงหาคม ค.ศ. 2002 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม37 (หนังสือ)
อนิเมะ
กำกับโดยฮาจิเมะ คาเมะงาคิ
สตูดิโอทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์
ฉาย 7 ตุลาคม ค.ศ. 2006 29 กันยายน ค.ศ. 2007

เคนอิจิ ลูกแกะพันธุ์เสือ (ญี่ปุ่น: 史上最強の弟子ケンイチ; อังกฤษ: Kenichi: The Mightiest Disciple) เป็นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น และอนิเมะ เขียนโดย "มัตสึเอะนะ ชุน" โดยนำเรื่อง "สำนักเพี้ยนเซียนยุทธภพ" มาเขียนใหม่ ลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนในไทยเป็นของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ สำหรับเวอร์ชันอนิเมะที่ฉายในประเทศไทย ได้มีการจัดฉายทางช่อง ทรู สปาร์ค[1]

เคนอิจิ ลูกแกะพันธุ์เสือ เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มชื่อ "เคนอิจิ" ผู้เรียนศิลปะการต่อสู้หลากแขนง และในเรื่องนี้มีตัวละครที่เป็นชาวไทยรายสำคัญ ที่มีฝีมือเก่งกาจอย่างน้อยสามรายด้วยกัน

เนื้อเรื่องย่อ

[แก้]

เนื้อเรื่องมุ่งเน้นไปยังส่วนของ "เคนอิจิ ชิราฮามะ" ผู้ซึ่งถึงจุดพลิกผันของชีวิตขณะเป็นนักเรียนไฮสคูลวัย 16 ปี เขาเป็นผู้ที่ไม่มีพรสวรรค์ด้านการต่อสู้ใดๆ เลย แต่อยู่มาวันหนึ่งเขาได้พบกับ "มิอุ" นักเรียนหญิงห้องเดียวกันกับเขา และได้เห็นมิอุต่อสู้กับนักเลงที่คิดจะมาทำมิดีมิร้ายกับเธออย่างกล้าหาญ แต่ตัวเคนอิจิเองกลับไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากดูมิอุต่อสู้เท่านั้น ด้วยความชื่นชมในตัวของมิอุ กับทั้งเกลียดในความไม่เอาไหนของตัวเอง ทำให้เขาตัดสินใจไปเรียนศิลปะการต่อสู้ที่สำนัก "เรียวซัมปาคุ" ซึ่งเป็นสำนักที่เป็นบ้านของมิอุนั่นเอง ในสำนักนี้ประกอบด้วยอาจารย์ที่ชำนาญศิลปะการต่อสู้แขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยูยิสสู คาราเต้ กังฟู มวยไทย หรือแม้แต่อาจารย์ผู้ชำนาญการใช้อาวุธทุกประเภท โดยมี "ฮายาโตะ" เจ้าสำนักผู้มีฝีมือเป็นเลิศ การเรียนศิลปะการต่อสู้ของเคนอิจิเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะเขาเป็นลูกศิษย์เพียงคนเดียว แต่ต้องฝึกศิลปะการต่อสู้ทุกประเภทที่เหล่าบรรดาอาจารย์ของเขาฝึกสอนให้ หนึ่งในอาจารย์ของเขาคือ "อาภาไชย หอภาไชย" อาจารย์สอนมวยไทย เป็นผู้ที่ทำให้เคนอิจิเกือบตายอยู่หลายหน เพราะอาภาไชยไม่รู้จักออมมือ ทำให้เคนอิจิกลัวอาภาไชยมาก

การกระโดดเข้าเป็นผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้นั้น ทำให้เขาพบกับโลกของนักสู้ และมีนักสู้ฝีมือดีมากมายที่มาประลองกับเขา แม้ว่าเขาจะสามารถล้มคนเหล่านั้นได้เท่าไหร่ แต่ก็มีคู่ต่อสู้ที่มีฝีมือเหนือกว่าปรากฏตัวเสมอ บางครั้งเกือบต้องเสียชีวิตเพราะเจอคู่ต่อสู้ที่มีฝีมือมากกว่า แต่ด้วยไหวพริบกับทั้งความช่วยเหลือของอาจารย์และเพื่อนๆ ทำให้เขารอดมาได้ทุกครั้ง

ตัวละคร

[แก้]

ตัวละครหลัก[2]

[แก้]
เคนอิจิ ชิราฮามะ (白浜 兼一)
เคนอิจิ เด็กหนุ่มผู้ไม่มีพรสวรรค์ด้านการต่อสู้ใดๆ แต่เลือกที่จะเรียนศิลปะการต่อสู้ ทำให้เขาได้เข้าไปอยู่ในสำนักเรียวซัมปาคุ และได้ต่อสู้กับนักสู้ฝีมือฉกาจมากมาย แม้ว่าเขาจะไม่มีพรสวรรค์ด้านการต่อสู้ แต่เนื่องจากฝึกสอนของบรรดาอาจารย์ ทำให้เขาแข็งแกร่งขึ้น จนเป็นเป้าหมายของผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้จากทั่วสารทิศ
มิอุ ฟูรินจิ (風林寺 美羽)
มิอุเป็นเด็กสาววัยเดียวกันกับเคนอิจิ เธอเป็นหลานสาวของฮายาโตะ ผู้เป็นเจ้าสำนักเรียวซัมปาคุที่เคนอิจิเป็นศิษย์อยู่ เธอมีส่วนที่ทำให้เคนอิจิได้เข้าสำนักเรียวซัมปาคุ ทั้งยังเป็นคู่ซ้อมให้เคนอิจิอีกด้วย เธอเป็นคนที่ฝึกศิลปะการต่อสู้มาตั้งแต่เด็ก ฝึมือของเธอจึงสูงส่งมาก

อาจารย์ในสำนักเรียวซัมปาคุ

[แก้]

เรียงจากความอาวุโส อายุมากไปถึงอายุน้อย ในจำนวนอาจารย์ทั้ง 6 คน ฮายาโตะเป็นคนที่มีอายุมากที่สุด ส่วนชิงุเระอายุน้อยที่สุด

ฮายาโตะ ฟุรินจิ
เป็นปู่ของมิอุ อาวุโสที่สุดในสำนัก และเป็นเจ้าสำนักเรียวซัมปาคุ เป็นผู้มีฝีมือสูงส่ง ในบรรดาอาจารย์ในสำนักนี้มีอาภาไชยเพียงคนเดียวที่เคยประมือด้วย ฮายาโตะไม่ใช่อาจารย์หลักที่สอนเคนอิจิ เดิมออกมาแนะนำอะไรนิดหน่อยให้เท่านั้น แต่ตอนหลัง ๆ เขามักจะเป็นคนสอนเอง ฮายาโตะจึงเป็นหนึ่งในอาจารย์ของเคนอิจิด้วย ส่วนใหญ่ที่ฮายาโตะสอนจะเป็นเทคนิคชั้นสูง
เค็นเซ บะ/เค็นเซ มา
เป็นชาวจีนวัยกลางคน ใช้วิชาวิทยายุทธ์ของจีนได้ทุกประเภท ภายนอกดูไม่ค่อยจริงจังอะไร มีนิสัยลามก ชอบแอบถ่ายภาพหลุดของสาวๆ แต่ตอนต่อสู้จะเอาจริง เค็นเซมีพี่ชายที่เป็นยอดกังฟูเช่นเดียวกับตน แต่อยู่คนละฝ่าย
อากิซาเมะ โคเอ็ทสึจิ
เป็นคนที่มีความรู้เป็นเลิศ สุขุมเยือกเย็น ดูเป็นผู้ใหญ่ที่สุด เกลียดพริกหยวก ใช้วิชายูยิสสูในการต่อสู้ เป็นอาจารย์คนแรกที่สอนเคนอิจิ ชอบประดิษฐิของต่างๆ มาเพื่อฝึกสอนเคนอิจิโดยเฉพาะ
ชิโอะ ซาคากิ
นักคาราเต้ ฉายา "จอมลุย 100 ดั้ง" เป็นคนมีนิสัยใจร้อน ชอบทำหน้าให้เคนอิจิกลัวบ่อยครั้ง แต่ที่จริงกลับเป็นคนใจดีขี้เป็นห่วงคนรอบข้างผิดกับบุคลิก แต่เวลาต่อสู้จะดุร้ายมาก พอๆ กับอาภาไชย ชอบเสี่ยงโชค สนิทกับอาภาไชยที่สุด เพราะอายุเป็นพี่อาภาไชยแค่ปีเดียว
อาภาไชย หอภาไชย (アパチャイ・ホパチャイ)
เป็นอาจารย์สอนมวยไทย และเป็นชาวไทยเพียงคนเดียวในสำนักอีกด้วย เขามีนิสัยเหมือนกับเด็ก และชอบพูดติดคำว่า "อาปา ๆ" แต่ยามต่อสู้ดุร้ายมาก มีความสามารถสื่อสารกับสัตว์ และมีนิสัยรักเด็ก เขาสาบานตนว่าจะปกป้องเคนอิจิด้วยชีวิต
ชิงุเระ โคซากะ
เป็นอาจารย์หญิงเพียงคนเดียวในสำนัก ในเรื่องไม่ปรากฏว่าอายุเท่าใด แต่มีการคาดเดาว่าเธอน่าเป็นอาจารย์ที่อายุน้อยที่สุดในสำนัก ชำนาญเรื่องอาวุธทุกชนิด เธอไม่ค่อยได้ยิ้ม แต่มีนิสัยเหมือนเด็กเช่นเดียวกับอาภาไชย เธอกับอาภาไชย รวมทั้งโฮโนกะ (น้องสาวของเคนอิจิ) มักเล่นด้วยกันเสมอ

ตัวละครอื่น ๆ

[แก้]
โฮโนกะ ชิราฮามะ
น้องสาวของเคนอิจิ ชอบมาเล่นกับอาภาไชยและชิงุเระเสมอ แต่ไม่ถูกกับมิอุ และอิจฉาที่มิอุทรวดทรงดีกว่า แต่มิอุกลับชอบโฮโนกะ
ธีรวิทย์ โฆคิน (ティーラワィット コーキン)
ธีรวิทย์เป็นหนึ่งในสมาชิกโยมิผู้มีฝึมือด้านมวยไทยโบราณ เขามีความสามารถวิเคราะห์คู่ต่อสู้อย่างแม่นยำ เป็นคนที่ทำให้เคนอิจิเกือบเอาชีวิตไม่รอด ซึ่งโยมินั้นจะเป็นลูกศิษย์ของยามิอีกที
อากาศ แจ่มใส (アーガード・ジャム・サイ)
อากาศเป็นอาจารย์สอนมวยไทยโบราณของธีรวิทย์ และเป็นสมาชิกระดับสูงของยามิ (อาจารย์ของโยมิ) อีกด้วย อากาศเชื่อว่าศิลปะการต่อสู้จะต้องใช้ฆ่าคนจึงจะบรรลุถึงจุดสุดยอดได้ แต่ความจริงแล้วเขาเป็นคนที่มีคุณธรรม ตอนหลังเขากับสมาชิกยามิบางส่วนได้ช่วยสำนักเรียวซัมปาคุสู้กับอริ

รายชื่อตอน

[แก้]

ในเวอร์ชันต่างๆ

[แก้]

เกม

[แก้]

ในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2007 บริษัทแคปคอมได้จัดวางจำหน่ายเกมเคนอิจิ ลูกแกะพันธุ์เสือเป็นชุดแรกโดยใช้ชื่อว่า Shijō Saikyō no Deshi Kenichi: Gekitō! Ragnarok Hachikengō สำหรับเครื่องเล่นเพลย์สเตชัน 2

ความแตกต่าง

[แก้]

ระหว่างมังงะกับอนิเมะ

[แก้]
  • ในตอนที่ 106 - 109 ในภาคมังงะ เป็นตอนที่เล่าประวัติของ "อาภาไชย หอภาไชย" ในขณะที่เขายังไม่ได้ไปอยู่สำนักเรียวซัมปาคุ จะมีเฉพาะในภาคมังงะเท่านั้น แต่ไม่มีในภาคอนิเมะ

ในสำนักเพี้ยนเซียนยุทธภพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kenichi: The Mightiest Disciple : OVA. เซนชู อะนิเมแมกกาซีน. Vol. 58. September 2012. TS Interprint. หน้า 78
  2. แนะนำตัวละครใน เคนอิจิ ลูกแกะพันธุ์เสือ เก็บถาวร 2010-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ไทย)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]