ข้ามไปเนื้อหา

เจียง จื่อหยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลฺหวี่ ช่าง
ฉีกง
ภาพของเจียง จื่อหยา ในตำรา ซันไฉถูฮุ่ย (สมุดภาพไตรภูมิ)
ครองราชย์11 ปีก่อนคริสตกาล
ประสูติ1128 ปีก่อนคริสตกาล
สวรรคต1015 ปีก่อนคริสตกาล (อายุ 113 ปี)
คู่อภิเษกเฉินเจียง
พระราชบุตรฉีติงกง
พระนางอี้ เจียง
พระสมัญญานาม
ฉีไท่กง
เจียง จื่อหยา
ภาษาจีน
ฮั่นยฺหวี่พินอินJiāng Zǐyá
เจียง ช่าง
ภาษาจีน
ฮั่นยฺหวี่พินอินJiāng Shàng
หฺลวี่ ช่าง
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
ฮั่นยฺหวี่พินอินLǚ Shàng
ช่างฝู
ภาษาจีน
ฮั่นยฺหวี่พินอินShàngfù
ชือช่างฝู
ภาษาจีน
ฮั่นยฺหวี่พินอินShī Shàngfù
ความหมายตามตัวอักษรนายท่านช่างฝู
ยศ/บรรดาศักดิ์/สมัญญานาม
ฉีไท่กง
อักษรจีนตัวเต็ม太公
อักษรจีนตัวย่อ太公
ฮั่นยฺหวี่พินอินQí Tàigōng
เจียงไท่กง
ภาษาจีน太公
ฮั่นยฺหวี่พินอินJiāng Tàigōng
ไท่ก่งวั่ง
ภาษาจีน太公
ฮั่นยฺหวี่พินอินTàigōng Wàng
หฺลวี่วั่ง
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
ฮั่นยฺหวี่พินอินLǚ Wàng

เจียง จื่อหยา (ตามสำเนียงกลาง) หรือ เกียงจูแหย (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน จีน: 姜子牙; พินอิน: Jiāng Zǐyá) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ เจียงไท่กง (จีน: 姜太公; พินอิน: Jiāng Tàigōng) เป็นบุคคลชาวจีน เป็นนักยุทธศาสตร์คนสำคัญของพระเจ้าโจวเหวินและพระเจ้าโจวอู่ เป็นผู้นำปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชาง และสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 3,000 กว่าปีที่แล้ว ในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายสำนักต่างลงความเห็นว่า เจียง จื่อหยา คือ 1 ใน 2 นักยุทธศาสตร์การสงครามที่เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์จีน โดยอีกผู้หนึ่งได้แก่ เตียว เหลียง (มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นคนละคนกับเตียว เหลียงในเรื่องสามก๊ก) เสนาบดีแห่งราชวงศ์ฮั่นของหลิวปัง หรือปฐมจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ซึ่งบางตำราอ้างว่าเตียว เหลียง ศึกษาการสงครามมาจากตำราพิชัยสงครามที่ เจียง จื่อหยา เขียนขึ้น

ชื่อ

[แก้]

กงแห่งรัฐฉีคนแรกมีชื่อตัวว่า ช่าง (จีน: ; พินอิน: Shàng) ชนชั้นสูงของจีนยุคโบราณนั้นมีนามสกุลใช้อยู่สองอย่าง คือ แซ่ (姓; นามสกุลของบรรพชน หรือนามสกุลมหาสาขา) และ สี หรือ สิง (氏; นามโคตรวงศ์ หรือนามสกุลอนุสาขา) ท่านผู้นี้ใช้แซ่ เจียง (姜) นามโคตรวงศ์ หฺลวี่ (呂) มีชื่อรองที่บรรดาบริวารใช้ออกนามด้วยความเคารพอยู่ 2 ชื่อ คือ ช่างฝู (尚父; แปลว่า "บิดาผู้เป็นที่นับถือ") และ จื่อหยา (子牙; แปลว่า "นักปราชญ์งาช้าง") ชื่อ "เจียง ช่าง" และ "เจียง จื่อหยา" เป็นชื่อที่ใช้เรียกอย่างกว้างขวางที่สุดหลังจากมีการนำไปใช้ในนิยายเรื่อง "ห้องสิน" ในยุคราชวงศ์หมิง ซึ่งประพันธ์ขึ้นหลังจากเขาถึงแก่อสัญกรรมไปแล้วกว่า 2,500 ปี[1]

หลังจากการยกฐานะดินแดนฉีขึ้นเป็นรัฐสามนตราชชั้นกง เจียง จื่อหยา ได้รับสมัญญานามหลังถึงแก่อสัญกรรมว่า ฉีไท่กง (齊太公) บ่อยครั้งมักเรียกกันเพียงสั้น ๆ ว่า ไท่กง นามดังกล่าวนี้ได้บันทึกอยู่ในเอกสารฉื่อจี้ของซือหม่า เชียน ในยุคราชวงศ์ฮั่น[2][3] นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักน้อยกว่าในสมัญญานาม เจียงไท่กง (姜太公) ไท่กงวั่ง (太公望) และ หฺลวี่วั่ง (呂望)[1] เนื่องจากเจียง จื่อหยา ได้รับการนับถือในฐานะนักปราชญ์ผู้มีสติปัญญาหลักแหลม ผู้ซึ่ง "กงชูจวี่เล่ย์" (公叔祖类) (มีสมัญญานามว่า "ไท่กง" 太公 เช่นเดียวกัน) บรรพชนของพระเจ้าโจวเหวิน ได้ให้คำทำนายไว้ว่าจะเป็นความหวังแห่งความรุ่งเรืองของวงศ์โจว[4]

ประวัติ

[แก้]
ภาพวาดเจียง จื่อหยาตกปลาที่ริมฝั่งแม่น้ำเว่ยสุ่ย และได้พบกับ โจวเหวินหวัง

เจียง จื่อหยา เดิมเป็นขุนนางในราชวงศ์ชาง แต่ทนความโหดร้ายในการปกครองของอ๋องโจ้ว ผู้ปกครองแห่งราชวงศ์ชาง ไม่ไหว จึงเร้นกายมาพำนักที่ชนบทห่างไกลแห่งหนึ่งริมแม่น้ำเว่ยสุ่ย (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลฉ่านซี)

ในประวัติศาสตร์บันทึกว่า ในขณะเดินทางไปล่าสัตว์ โจวเหวินหวังได้พบกับเจียง จื่อหยาในวัย 80 ปี กำลังนั่งตกปลาโดยที่ไม่มีเหยื่อ เขาจึงเข้าไปทักทายอย่างสุภาพแล้วถามว่า "ท่านมีความสุขในการตกปลาหรือไม่" เจียง จื่อหยา ได้ตอบว่า 'บุคคลที่น่ายกย่องที่แท้จริงนั้น คือผู้ที่มีความสุขในการที่ทำให้ความมุ่งมั่นนั้นสำเร็จ การตกปลาของข้าพเจ้าก็เช่นกัน' เมื่อสนทนาด้วย ทำให้โจวเหวินหวังพบว่านี่คือคนที่ปู่ของตนตามหา ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสามารถช่วยโค่นล้มทรราชได้ ดังนั้นโจวเหวินหวังจึงได้เชิญเจียง จื่อหยาไปรับตำแหน่งที่สำคัญและขนานนาม ให้ว่า เจียงไท่กงหวั่ง ต่อมาได้ย่อให้เป็นไท่กงวั่ง มีความหมายว่า ความหวังแห่งราชวงศ์โจว แต่โดยทั่วไป มักจะรู้จักกันในนาม เจียงไท่กง

เมื่อโค่นราชวงศ์ชางลงแล้ว เจียง จื่อหยา ได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งราชวงศ์โจว และได้รับแคว้นฉีไปปกครอง ซึ่งเจียง จื่อหยาได้ช่วยสร้างความเจริญให้แก่บ้านเมืองมาก ทั้งด้านการเมือง การปกครอง และศิลปวัฒนธรรม จนเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

จนมีคำกล่าวว่า แท้จริงแล้ว บุคคลที่เป็นทั้งเป็นบิดาและเจ้าแห่งตำราพิชัยสงครามในประวัติศาสตร์จีนคนแรกคือ เจียง จื่อหยา ซึ่งเขาได้เขียนตำราพิชัยสงครามไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า หกความลับแห่งยุทธศาสตร์ (นอกจากนี้ ยังมีข้อสันนิษฐานว่า ตำราสามยุทธศาสตร์ของหวางสือกง แท้จริงแล้ว อาจเป็นงานของ เจียง จื่อหยา)

วรรณกรรม

[แก้]

ในด้านวรรณกรรมนั้น เจียง จื่อหยา ได้ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมจีนโบราณเรื่องห้องสิน ในฐานะผู้สั่งประหารนางต๋าจีซึ่งเป็นจิ้งจอกเก้าหางแปลงกายมาล่อลวงจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชางให้ลุ่มหลงในอำนาจและกามารมณ์ จนนำไปสู่การก่อรัฐประหารโค่นล้มราชวงศ์ในที่สุด นอกจากนี้ ตามตำนานยังได้กล่าวว่า เจียง จื่อหยา เป็นผู้ที่มีความอดทนสูง จากการที่นั่งตกปลารอผู้ต้องการตัวไปช่วยเหลือเป็นเวลานานถึงกว่า 50-60 ปี เรื่องราวการนั่งตกปลาของเจียง จื่อหยา นี้ได้เป็นที่มาเป็นภาษิตจีนที่ว่า "ไท่กงตกปลา" (太公钓鱼) ที่มีความหมายถึง "ทั้ง ๆ ที่รู้แต่ก็ยินยอมติดกับดักที่ผู้อื่นวางไว้"[5]

ในปัจจุบันเจียง จื่อหยา ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักยุทธศาสตร์ที่เก่งที่สุดทั้งในประวัติศาสตร์จีนและโลกด้วย[6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Long Jianchun (龍建春) (2003). Discussion on Taigong's surname, clanname, given name and titles 《"太公"姓氏名号考论》.<苏秦始将连横>臆说之一. Taizhou Academy Newspapers (台州学院学报) 2nd semester, 2003.
  2. Sima Qian. 齐太公世家 [House of Duke Tai of Qi]. Records of the Grand Historian (ภาษาจีน). Guoxue.com. สืบค้นเมื่อ 14 May 2012.
  3. Han Zhaoqi (韓兆琦), บ.ก. (2010). Shiji (史记) (ภาษาจีน). Beijing: Zhonghua Book Company. pp. 2495–2510. ISBN 978-7-101-07272-3.
  4. Sima Qian, Records of the Grand Historian "Hereditary House of the Grand Duke of Qi" quote: "於是周西伯獵,果遇太公於渭之陽,與語大說,曰:「自吾先君太公曰『當有聖人適周,周以興』。子真是邪?吾太公望子久矣。」故號之曰「太公望」,載與俱歸,立為師。" translation: "The Western Count of Zhou then went out hunting, and as a result met the Grand Duke [of Qi] on the Wei River's north bank, and talked [with the Grand Duke of Qi] and became greatly pleased, saying: "My lordly ancestor the Grand Duke himself had said: 'Just when one has a sage coming to/fit for Zhou, Zhou will prosper'. Are you truly that one? My Grand Duke had hoped for you long ago. [The Western Count] therefore called [the Grand Duke of Qi] 'Grand Duke's Hope', returned along with him in the same chariot, and honored him as teacher."
  5. "ไท่กงเตี้ยวอี๋ว์ (太公钓鱼) : ไท่กงตกปลา". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-10-11.
  6. Sawyer, Ralph D. The Seven Military Classics of Ancient China. New York: Basic Books. 2007. p. 27.
  7. "T'ai Kung's Six Secret Teachings". Trans. Ralph D. Sawyer. In Sawyer, Ralph D., The Seven Military Classics of Ancient China. New York: Basic Books. 2007. p. 40.