ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลนครเชียงใหม่

พิกัด: 18°47′43″N 98°59′55″E / 18.79528°N 98.99861°E / 18.79528; 98.99861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครเชียงใหม่
จากบนสุด ซ้ายไปขวา: ภาพมุมกว้างตัวเมืองเชียงใหม่, คูเมืองด้านตะวันออก, วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร, ภาพถ่ายจากดอยสุเทพ, ประตูท่าแพ, รถสี่ล้อแดง และวัดเชียงมั่น
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครเชียงใหม่
ตรา
สมญา: 
นครพิงค์
คำขวัญ: 
นครแห่งวัฒนธรรม เลิศล้ำประเพณีล้านนา เปี่ยมสุขปวงประชา งามล้ำค่านครพิงค์[1]
แผนที่
ทน.เชียงใหม่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่
ทน.เชียงใหม่
ทน.เชียงใหม่
ที่ตั้งของเทศบาลนครเชียงใหม่
ทน.เชียงใหม่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.เชียงใหม่
ทน.เชียงใหม่
ทน.เชียงใหม่ (ประเทศไทย)
พิกัด: 18°47′43″N 98°59′55″E / 18.79528°N 98.99861°E / 18.79528; 98.99861
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอเมืองเชียงใหม่
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีอัศนี บูรณุปกรณ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด40.22 ตร.กม. (15.53 ตร.ไมล์)
ความสูง304 เมตร (997 ฟุต)
ประชากร
 (2562)[2]
 • ทั้งหมด127,240 คน
 • ความหนาแน่น3,163.60 คน/ตร.กม. (8,193.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03500102
สนามบินท่าอากาศยานเชียงใหม่
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ เลขที่ 1 ถนนวังสิงห์คำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์0 5325 9000
เว็บไซต์cmcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เชียงใหม่ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอดีตนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือเป็นระยะทาง 687 กิโลเมตร (427 ไมล์) มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเมือง และตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เขตเทศบาลมีพื้นที่ 40.22 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ในแง่ของจำนวนประชากรของเทศบาลนครเชียงใหม่ซึ่งมีประมาณ 130,000 คน[2] นับว่าเป็นเทศบาลที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย เทศบาลนครเชียงใหม่ยังเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของประเทศไทย

ประวัติ

[แก้]

ชื่อของเชียงใหม่หมายความว่า "เมืองใหม่" เนื่องจากเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักรล้านนา ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 1839 แทนเมืองเชียงราย อดีตนครหลวงที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 1805[3]: 208–209 

เทศบาลนครเชียงใหม่ เมื่อเริ่มแรกมีฐานะเป็นเพียงสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458[4] และยังขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ แต่ต่อมาเมื่อประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรจึงมีมติสมควรจัดตั้งชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุขาภิบาลให้มีฐานะเป็น เทศบาล โดยในครั้งนั้นนครเชียงใหม่ได้รับฐานะใหม่จากสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็น "เทศบาลนครเชียงใหม่" ในปี พ.ศ. 2478[5] ถือได้ว่าเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของไทย เทศบาลนครเชียงใหม่มีการขยายเขตเทศบาลให้กว้างขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2526[6]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและลักษณะของชุมชน

[แก้]

เทศบาลนครเชียงใหม่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 40.216 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ 14 ตำบลของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ตำบลหายยา ตำบลช้างม่อย ตำบลศรีภูมิ ตำบลวัดเกต ตำบลช้างคลาน ตำบลพระสิงห์ ตำบลสุเทพ ตำบลป่าแดด ตำบลฟ้าฮ่าม ตำบลหนองป่าครั่ง ตำบลท่าศาลาบางส่วน ตำบลป่าตัน ตำบลหนองหอย และตำบลช้างเผือก

ชุมชนเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนกลางเชิงดอยสุเทพ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านใจกลางเมืองในแนวเหนือ–ใต้ ส่วนชุมชนดั้งเดิมหรือบริเวณเมืองเก่าตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ต่อมาเมื่อชุมชนได้พัฒนาให้มีความเจริญขึ้น โดยมีการขยายตัวข้ามแม่น้ำปิงมาทางฝั่งตะวันออก และภายหลังจากที่ได้มีการตัดถนนอ้อมเมือง ชุมชนได้พัฒนาออกไปหลายทิศทางตามเส้นทางคมนาคม และโครงข่ายสาธารณูปโภค ธุรกิจการพัฒนาที่ดินและที่พักอาศัยได้ขยายตัวเป็นอย่างมาก สภาพที่แท้จริงของชุมชนเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันไม่ได้คงอยู่แต่เฉพาะในเขตเทศบาลเท่านั้น แต่ได้ขยายออกไปตามบริเวณชานเมืองและชนบทโดยรอบ อย่างเช่น เขตอำเภอหางดง อำเภอสันทราย อำเภอแม่ริม อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด เป็นต้น

ตัวเมืองเชียงใหม่บางส่วน ถ่ายเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อาณาเขต

[แก้]

เทศบาลนครเชียงใหม่มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์กลางเมืองเชียงใหม่ ในอดีตเป็นศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
หอพื้นถิ่นล้านนา ในอดีตเป็นศาลแขวงเชียงใหม่

เทศบาลนครเชียงใหม่แบ่งการปกครอง ออกเป็น 4 แขวง ได้แก่

  1. แขวงนครพิงค์ มีพื้นที่ 11.7 ตารางกิโลเมตร
  2. แขวงกาวิละ มีพื้นที่ 11.4 ตารางกิโลเมตร
  3. แขวงเม็งราย มีพื้นที่ 7.7 ตารางกิโลเมตร
  4. แขวงศรีวิชัย มีพื้นที่ 9.2 ตารางกิโลเมตร

โดยแขวงนครพิงค์ แขวงเม็งราย และแขวงศรีวิชัย ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ส่วนแขวงกาวิละตั้งอยู่ฝั่งตะวันออก แต่ละแขวงตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันออกของเมืองตามลำดับ ส่วนเขตใจกลางเมือง ซึ่งอยู่ในกำแพงเมือง จะอยู่ในแขวงศรีวิชัยเป็นส่วนใหญ่

แบ่งออกเป็น 97 ชุมชน ดังนี้

ชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่
แขวงนครพิงค์ แขวงกาวิละ แขวงเม็งราย แขวงศรีวิชัย
ชุมชนบ้านท่อ ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา ชุมชน 5 ธันวา ชุมชนสวนดอก
ชุมแม่หยวก ชุมชนสันนาลุง ชุมชนแม่ขิง ชุมชนศรีวิชัย
ชุมชนเมืองคลัง ชุมชน 12 สิงหา ชุมชนศาลาแดง ชุมชนวัดโลกโมฬี
ชุมชนศรีมงคล ชุมชนรถไฟสามัคคี ชุมชนช้างคลาน ชุมชนช่างแต้ม
ชุมชนป่าตัน ชุมชนไขแก้ว ชุมชนกำแพงงาม ชุมชนสามัคคีพัฒนา
ชุมชนหมู่บ้านเทียมพร ชุมชนขนส่ง ซอย 9 ชุมชนวัดศรีปิงเมือง ชุมชนป่าห้า
ชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้า ชุมชนท่าสะต๋อย ชุมชนลอยเคราะห์ ชุมชนเอราวัณซอย 4
ชุมชนเชียงมั่น ชุมชนเมืองสาตรหลวง ชุมชนชัยมงคลบ้านเม็ง ชุมชนคูปู่ลูน
ชุมชนป่าเป่า ชุมชน ร.7 พัน1 ชุมชนพวกเปียร่วมใจพัฒนา ชุมชนแจ่งหัวริน
ชุมชนล่ามช้าง ชุมชนเมืองสาตรน้อย ชุมชนศรัทธาวัดหัวฝาย ชุมชนอินทนิล
ชุมชนศรีลานนา ชุมชนต้นขาม ชุมชนช้างฆ้อง ชุมชนทานตะวัน
ชุมชนป่าแพ่ง-วังสิงห์คำ ชุมชนศรีสร้อยทรายมูล ชุมชนวัดพันอ้น ชุมชนบวกหาด
ชุมชนเชียงยืน ชุมชนบบ้านแพะ ชุมชนระแกง ชุมชนวัดหมื่นเงินกอง
ชุมชนหมู่บ้านอุ่นอารี ชุมชนศรีปันครัว ชุมชนวัดธาตุคำ ชุมชนพวกแต้ม
ชุมชนข่วงสิงห์พัฒนา ชุมชนหนองประทีป ชุมชนป่าพร้าวนอก ชุมชนควรค่าม้าสามัคคีพัฒนา
ชุมชนวัดชมพูช้างม่อย ชุมชนบ้านสันป่าข่อย ชุมชนทิพย์เนตร ชุมชนเจดีย์ปล่อง
ชุมชนวัดเชตวัน ชุมชนกู่คำ ชุมชนวัดศรีสุพรรณ ชุมชนวัดพระเจ้าเม็งรายสามัคคี
ชุมชนบ้านปิง ชุมชนบ้านวัดเกต ชุมชนหมื่นสารบ้านวัวลาย
ชุมชนหลิ่งกอก ชุมชนหนองหอย ชุมชนฟ้าใหม่พัฒนาราม
ชุมชนบ้านเอื้ออาทรป่าตัน ชุมชนบ้านเด่นสามัคคี ชุมชนวัดนันทนาราม
ชุมชนโชตนา ชุมชนหนองป่าครั่ง ชุมชนวัดดาวดึงษ์
ชุมชนหนองเส้ง-ฟ้าฮ่าม ชุมชนหมื่นตูม
ชุมชนศรัทธาวัดเมืองกาย ชุมชนทิพย์รัตน์วิลล่า
ชุมชนการเคหะเชียงใหม่ ชุมชนวัดผ้าขาว
ชุมชนมงฟอร์ตวิลล่า ชุมชนเชียงใหม่แลนด์
ชุมชนฟ้าฮ่าม ชุมชนอินทรนุรักษ์
ชุมชนการเคหะหนองหอย ชุมชนทรายมูลเมือง
ชุมชนการเคหะหนองหอย 2 ชุมชนวัดศรีดอนไชย-เจริญประเทศ
ชุมชนบ้านเด่นพัฒนา ชุมชนหมู่บ้านเวียงทอง
ชุมชนวัดบ้านฮ่อม


ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครเชียงใหม่ (2504–2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 34.1
(93.4)
37.3
(99.1)
39.5
(103.1)
41.3
(106.3)
41.4
(106.5)
37.5
(99.5)
37.5
(99.5)
36.5
(97.7)
36.1
(97)
35.3
(95.5)
34.5
(94.1)
33.0
(91.4)
41.4
(106.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 28.9
(84)
32.2
(90)
34.9
(94.8)
36.1
(97)
34.1
(93.4)
32.3
(90.1)
31.7
(89.1)
31.1
(88)
31.3
(88.3)
31.1
(88)
29.8
(85.6)
28.3
(82.9)
31.8
(89.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 20.5
(68.9)
22.9
(73.2)
26.4
(79.5)
28.7
(83.7)
28.1
(82.6)
27.3
(81.1)
27.0
(80.6)
26.6
(79.9)
26.5
(79.7)
25.8
(78.4)
23.8
(74.8)
21.0
(69.8)
25.4
(77.7)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 13.7
(56.7)
14.9
(58.8)
18.2
(64.8)
21.8
(71.2)
23.4
(74.1)
23.7
(74.7)
23.6
(74.5)
23.4
(74.1)
23.0
(73.4)
21.8
(71.2)
19.0
(66.2)
15.0
(59)
20.1
(68.2)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 3.7
(38.7)
7.3
(45.1)
10.0
(50)
15.8
(60.4)
19.6
(67.3)
20.0
(68)
20.5
(68.9)
20.7
(69.3)
16.8
(62.2)
13.3
(55.9)
6.0
(42.8)
5.0
(41)
3.7
(38.7)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 6.9
(0.272)
4.6
(0.181)
13.0
(0.512)
50.1
(1.972)
158.4
(6.236)
131.6
(5.181)
160.8
(6.331)
236.0
(9.291)
227.6
(8.961)
121.9
(4.799)
52.8
(2.079)
19.8
(0.78)
1,183.5
(46.594)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 1 1 2 6 15 17 19 21 17 11 6 2 118
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 282.1 276.9 279.0 270.0 266.6 180.0 155.0 142.6 174.0 223.2 234.0 257.3 2,740.7
แหล่งที่มา 1: Thai Meteorological Department[7]
แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง[8], NOAA (extremes)[9]

สัญลักษณ์

[แก้]

ดวงตราสัญลักษณ์ของเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นรูปพระบรมธาตุดอยสุเทพตั้งตระหง่านอยู่บนปุยเมฆ และยังมีพญานาค รวงข้าว และลายดอกประจำยาม ในดวงตราสัญลักษณ์อีกด้วย

  1. พระบรมธาตุดอยสุเทพ สถานที่ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงยังเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ที่แห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของพระพุทธศาสนิกชนแสดงถึงการเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาในภาคเหนือที่รุ่งเรืองมายาวนานทุกสมัย
  2. ปุยเมฆ เป็นตัวบ่งบอกลักษณะสภาพอากาศโดยทั่วไปของนครเชียงใหม่ ที่เย็นสบายเกือบตลอดทั้งปี
  3. พญานาค ซึ่งตามประวัติความเป็นมานั้น พญานาคถือว่าเป็นผู้ให้น้ำ และในที่นี้หมายถึง แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านนครเชียงใหม่
  4. รวงข้าว เปรียบดังความอุดมสมบูรณ์ของเมือง ที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีเช่นกัน

ประชากรศาสตร์

[แก้]
ประชากรเทศบาลนครเชียงใหม่แบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2528 150,537—    
2532 159,279+5.8%
2537 170,348+6.9%
2540 172,290+1.1%
2543 171,712−0.3%
2546 158,720−7.6%
2549 150,021−5.5%
2552 142,970−4.7%
2555 135,757−5.0%
2558 132,556−2.4%
2561 129,536−2.3%
ที่มา: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[2]

เทศบาลนครเชียงใหม่มีประชากรทั้งหมด 129,536 คน แบ่งเป็น ชาย 60,829 คน หญิง 68,707 คน จำนวนบ้านเรือน 89,238 หลังคาเรือนข้อมูล ณ สิ้นปี 2561[10] ในปัจจุบันเทศบาลนครเชียงใหม่กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญทุก ๆ ด้านของภูมิภาค ทำให้มีประชากรแฝง อพยพมาอาศัยในเทศบาลนครเชียงใหม่ มากกว่า 2.5 ล้านคน[11] และมีประชากรในต่างอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาใช้บริการในเขตเมืองในเวลากลางวัน และอพยพออกไปในเวลากลางคืนประมาณ 250,000 คนต่อวัน[11]

ภาษา

[แก้]

ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่นซึ่งเรียกว่า ภาษาคำเมือง ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของทางภาคเหนือ มีคุณลักษณะของภาษาที่คล้าย ๆ กัน จะแตกต่างกันเฉพาะสำเนียงและศัพท์บางคำ แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความไพเราะ ต่างกันไปนักท่องเที่ยวที่มาจากถิ่นอื่น ล้วนชื่นชมว่า "ภาษาคำเมืองนั้น มีความไพเราะ นุ่มนวล ยิ่งนักแล"

ศาสนา

[แก้]

ประชากรในเทศบาลนครเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธ 91.80% ศาสนาคริสต์ 5.60% ศาสนาอิสลาม 1.17% ศาสนาฮินดูและศาสนาซิกข์ 0.02% และอื่น ๆ 1.14%

ประเพณีและวัฒนธรรม

[แก้]

นครเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่

  • ปีใหม่เมือง หรือ สงกรานต์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13–15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เข้าวัดก่อเจดีย์ทราย และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล
  • ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ด้วยโคมชนิดต่าง ๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ
  • ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก
  • มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ

การศึกษา

[แก้]
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ในปี พ.ศ. 2550 เทศบาลนครเชียงใหม่มีโรงเรียนในสังกัดจำนวน 11 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 1 แห่ง มีจำนวนห้องเรียนทั้งสิ้น 162 ห้อง มีจำนวนครูทั้งสิ้น 273 คน และมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 4,289 คน

การขนส่ง

[แก้]

นครเชียงใหม่เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางบก และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวก

ทางถนน

[แก้]
ถนนในตัวเมืองเชียงใหม่ ด้านขวาเป็นกำแพงเมืองเก่า
รถสองแถวที่รู้จักกันในชื่อ รถแดง

การเดินทางจากกรุงเทพมหานครมายังนครเชียงใหม่ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดชัยนาท จากนั้นเข้าสู่ถนนพหลโยธินอีกครั้ง ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง แล้วแยกซ้ายใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) ผ่านจังหวัดลำพูน เข้าจังหวัดเชียงใหม่ จนถึงเขตเทศบาล

สำหรับการเดินทางในเทศบาลนครจะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถแดง รถตุ๊กตุ๊ก รถโดยสารประจำทาง และประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงินเป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วนสีแดง-เหลืองเป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่าง ๆ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1 (สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัด คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 และสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 3 (สถานีขนส่งอาเขต)

ส่วนระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษนครเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiangmai Transit System) จะเปิดให้บริการในอนาคต แต่ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณและการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

ทางราง

[แก้]
สถานีรถไฟเชียงใหม่ สถานีปลายทางของทางรถไฟสายเหนือ

การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพ–เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา–ลพบุรี–นครสวรรค์–พิษณุโลก–อุตรดิตถ์–แพร่–ลำปาง–ลำพูน เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ รวมวันละ 14 ขบวนไป–กลับ และนครสวรรค์–เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวนไป–กลับ มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในนครเชียงใหม่ คือ สถานีรถไฟเชียงใหม่

ทางอากาศ

[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ มีความหนาแน่นของผู้ใช้บริการเป็นอันดับ 4 ของประเทศ

นครเชียงใหม่มีท่าอากาศยานเชียงใหม่ ที่มีความหนาแน่นของผู้ใช้บริการเป็นอันดับ 4 ของประเทศรองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ตามลำดับ โดยมีเที่ยวบินไป–กลับวันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศ โดยสายการบินระหว่างประเทศ มีสายการบินในแถบเอเชียมีเที่ยวบินโดยตรงจากเชียงใหม่ไปยังหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น

สถานที่สำคัญ

[แก้]
ทางเข้าสวนสัตว์เชียงใหม่

เมืองพี่น้อง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข้อมูลเทศบาล เทศบาลนครเชียงใหม่
  2. 2.0 2.1 2.2 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงใหม่ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  3. Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  4. ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 30 ตอนที่ 0 ก ลงวันที่ 8 มีนาคม 2456
  5. พระราชบัญญัติจัดตั้งเทศบาลนครเชียงใหม่ พุทธศักราช ๒๔๗๘ เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2478
  6. พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เก็บถาวร 2021-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 53 ลงวันที่ 5 เมษายน 2526
  7. "30 year Average (1961-1990) - CHIANG MAI". Thai Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-04. สืบค้นเมื่อ 2010-04-20.
  8. "Climatological Information for Chiang Mai, Thailand". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2010-10-28.
  9. "Climate Normals for Chiang Mai". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.
  10. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2559 - ท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงใหม่ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  11. 11.0 11.1 RYT9 - บ้านเมือง, ปฏิบัติการเชียงใหม่เอี่ยมต้นแบบแก้ปัญหาเมือง
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้า 39. สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]