ข้ามไปเนื้อหา

เมาค้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมาค้าง
(hangover)
La buveuse ("นักดื่ม") ภาพเหมือนของ Suzanne Valadon โดย Toulouse-Lautrec
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10G44.83, F10

เมาค้าง (อังกฤษ: hangover, veisalgia) เป็นประสบการณ์ฤทธิ์ทางสรีรวิทยาและจิตวิทยาอันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ให้หลังการบริโภคเอทานอล ซึ่งอยู่ได้นานถึงกว่า 24 ชั่วโมง อาการตรงแบบของเมาค้างอาจรวมปวดศีรษะ ง่วงซึม ปัญหาสมาธิ ปากแห้ง เวียนศีรษะ ล้า กระเพาะอาหารและลำไส้อึดอัด (gastrointestinal distress) ไม่หิว เหงื่อออก คลื่นไส้ การตอบสนองไวเกิน (hyper-excitability) และวิตกกังวล

แม้ยังไม่เข้าใจสาเหตุของเมาค้างดีนัก แต่ทราบหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งรวมการคั่งของอะเซทัลดีไฮด์ การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันและเมแทบอลิซึมของกลูโคส ภาวะขาดน้ำ ภาวะกระเดียดกรดเหตุเมแทบอลิก (metabolic acidosis) การสังเคราะห์พรอสตาแกลนดินที่ถูกรบกวน ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีที่เพิ่มขึ้น การขยายหลอดเลือด การอดนอนและทุพโภชนาการ ฤทธิ์ของสารเติมแต่งหรือผลิตผลพลอยได้ที่จำเพาะต่อเครื่องดื่ม เช่น คอนจีเนอร์ (congener) ยังมีบทบาทสำคัญ ตรงแบบอาการเกิดหลังฤทธิ์เป็นพิษของแอลกอฮอล์เริ่มหมด โดยทั่วไปคือเช้าหลังคืนที่ดื่มหนัก

แม้มีการเสนอการเยียวยาที่เป็นไปได้จำนวนมาก แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่เสนอว่าการเยียวยาใดมีประสิทธิภาพป้องกันหรือรักษาเมาค้างแอลกอฮอล์[1] การเลี่ยงแอลกอฮอล์หรือการดื่มปานกลางเป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการเลี่ยงเมาค้าง ผลพวงทางสังคม-เศรษฐกิจและความเสี่ยงทางสุขภาพของเมาค้างแอลกอฮอล์มีการขาดงาน สมรรถภาพอาชีพบกพร่อง ประสิทธิภาพลดลงและความสำเร็จทางวิชาการที่เลว เมาค้างยังอาจทำให้กิจกรรมประจำวันที่อาจเป็นอันตรายมีความเสี่ยง เช่น การขับรถหรือการปฏิบัติงานเครื่องจักรหนัก[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pittler, MH; Verster, JC; Ernst, E (Dec 24, 2005). "Interventions for preventing or treating alcohol hangover: systematic review of randomized controlled trials". BMJ (Clinical research ed.). 331 (7531): 1515–8. doi:10.1136/bmj.331.7531.1515. PMC 1322250. PMID 16373736.
  2. Verster, JC (June 2010). "The alcohol hangover research group consensus statement on best practice in alcohol hangover research". Current drug abuse reviews. 3 (2): 116–26. doi:10.2174/1874473711003020116. PMID 20712593. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)