เอ็นโดเม็ตทรีโอมา
เอ็นโดเม็ตทรีโอมา Endometriosis of ovary | |
---|---|
ภาพส่องกล้องของเอ็นโดเม็ตทรีโอมาในรังไข่ซ้ายที่แตกแล้ว | |
สาขาวิชา | นรีเวชวิทยา |
เอ็นโดเม็ตทรีโอมา (อังกฤษ: endometrioma) หรือ ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นการมีเนื้อเยื่อบุมดลูกในและบางทีบนรังไข่ เป็นภาวะเยื่อบุมดลูกต่างที่ที่พบบ่อยที่สุด[1] เยื่อบุมดลูกต่างที่เป็นภาวะมีเนื้อเยื่อบุมดลูกอยู่นอกมดลูก[2] การมีเยื่อบุมดลูกต่างที่สามารถส่งผลให้เกิดเนื้อเยื่อแผลเป็น สิ่งยึดติดและปฏิกิริยาการอักเสบ มันเป็นการเติบโตแบบไม่ร้าย (ไม่ใช่มะเร็ง) เอ็นโดเม็ตทรีโอมาพบในรังไข่มากที่สุด นอกจากนี้ยังเจริญในซอกทวารหนักและมดลูก (recto-uterine pouch) ผิวมดลูก และระหว่างช่องคลอดกับไส้ตรง[3]
พยาธิสรีรวิทยา
[แก้]เนื้อเยื่อบุมดลูกเป็นเนื้อเยื่อเมือกที่ปกติบุมดลูก เยื่อบุมดลูกมีเลือดมาเลี้ยงมาก และฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนกำกับการเติบโต[4] เยื่อบุมดลูกประกอบด้วยเนื้อเยื่อแบบต่อมและส่วนพยุงจากเยื่อบุในมดลูก[2]
การรักษา
[แก้]ยา
[แก้]ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) บ่อยครั้งใช้ครั้งแรกในผู้ป่วยเจ็บเชิงกราน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังไม่สามารถวินิจฉัยเยื่อบุมดลูกต่างที่อย่างแน่ชัด (ต้องใช้การตัดออกและการตัดเนื้อออกตรวจ) เป้าหมายของการบำบัดด้วยยาโดยตรงคือการบรรลุภาวะไม่มีไข่ตก ตรงแบบจะต้องใช้การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน นอกจากนี้ยังบรรลุได้ด้วยสารโปรเจสเตอโรน มีการใช้สารเหล่านี้หากยาเม็ดคุมกำเนิดและ NSAIDs ไม่มีผล สามารถใช้ GnRH ร่วมกับเอสโดรเจนและโปรเจสเตอโรนหากไม่มีประสิทธิผลแต่มีอาการของเอสโตรเจนต่ำลดลง ยาเหล่านี้มักไม่มีผลในการรักษาเอ็นโดเม็ตทรีโอมาและการบรรเทาอาการมีผลสั้นแม้กินยา การบำกบัดด้วยสารเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่อาจคงอยู่ถาวรได้หลายอย่าง เช่น ร้อนวูบวาบ เสียมวลกระดูก เสียงแหบ น้ำหนักขึ้นและมีขนใบหน้าขึ้น[5]
การผ่าตัด
[แก้]การผ่าตัดอาศัยกล้องรวมการตัดสิ่งยึดติดรังไข่และเอ็นโดเม็ตทรีโอมาออก เอ็นโดเม็ตทรีโอมาบ่อยครั้งต้องผ่าตัดออกและการตัดออกถือว่ามผีลดีกว่าในแง่การขจัดโรคอย่างถาวรและบรรเทาปวด บางทีการผ่าตัดมีผลเพิ่มการเจริญพันธุ์ แต่อาจมีผลเสียนำให้การเพิ่มวัฏจักรวันที่ 2 หรือ 3 FSH สำหรับผู้ป่วยหลายคน
การผ่าตัดด้วยเลเซอร์และการจี้ด้วยไฟฟ้า (cauterization) ถือว่ามีผลน้อยกว่ามากและเผาไหม้เฉพาะชั้นบนของเนื้อเยื่อบุมดลูกเท่านั้น ทำให้เอ็นโดเม็ตทรีโอมาและเยื่อบุมดลูกต่างที่เติบโตกลับมาอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกัน การระบายเอ็นโดเม็ตทรีโอมาและการรักษาโดยใช้สารก่อกระด้าง (sclerotherapy) เป็นเทคนิคที่ยังเป็นที่ถกเถียงสำหรับการเอาเอ็นโดเม็ตทรีโอมา การบำบัดแบบอนุรักษ์สามารถใช้เพื่อรักษาภาวะเจริญพันธุ์ในผู้ป่วยอายุน้อยแต่สามารถมีผลเพิ่มค่า FSH ดังที่กล่าวไปข้างต้น และทำให้รังไข่ผลิตได้น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในกระบวนการผ่าตัดมีการนำเนื้อเยื่อรังไข่ที่ทำหน้าที่ได้ออก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kaponis, Apostolos; Taniguchi, Fuminori; Azuma, Yukihiro; Deura, Imari; Vitsas, Charalampos; Decavalas, George O.; Harada, Tasuku (March 2015). "Current treatment of endometrioma". Obstetrical & Gynecological Survey. 70 (3): 183–195. doi:10.1097/OGX.0000000000000157. ISSN 1533-9866. PMID 25769433.
- ↑ 2.0 2.1 Bulletti, Carlo; Coccia, Maria Elisabetta; Battistoni, Silvia; Borini, Andrea (2010-08-01). "Endometriosis and infertility (a review)". Journal of Assisted Reproduction and Genetics (ภาษาอังกฤษ). 27 (8): 441–447. doi:10.1007/s10815-010-9436-1. ISSN 1058-0468. PMC 2941592. PMID 20574791.
- ↑ Venes, p. 808.
- ↑ Venes, p. 810.
- ↑ "What are the treatments for endometriosis?" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-08.
บรรณานุกรม
[แก้]- Taber's cyclopedic medical dictionary. Venes, Donald, 1952-, Taber, Clarence Wilbur, 1870-1968. (Ed. 22, illustrated in full color ed.). Philadelphia: F.A. Davis. 2013. ISBN 9780803629783. OCLC 808316462.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค |
---|