แขวงท่าแร้ง
แขวงท่าแร้ง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khwaeng Tha Raeng |
ถนนเทพรักษ์บริเวณตัดกับถนนสุขาภิบาล 5 | |
แผนที่เขตบางเขน เน้นแขวงท่าแร้ง | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
เขต | บางเขน |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 23.717 ตร.กม. (9.157 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 98,708 คน |
• ความหนาแน่น | 4,161.91 คน/ตร.กม. (10,779.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10220, 10230 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 100508 |
ท่าแร้ง เป็นแขวงหนึ่งของเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 กำหนดให้ที่ดินส่วนใหญ่ในแขวงนี้เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย บางส่วนเป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ[3]
ประวัติ
[แก้]เดิมแขวงท่าแร้งเป็นมีฐานะเป็น ตำบลท่าแร้ง ขึ้นกับอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร จนกระทั่งใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[4] และใน พ.ศ. 2515 นครหลวงกรุงเทพธนบุรีได้รับการจัดตั้งเป็นกรุงเทพมหานคร[5] ซึ่งมีการเปลี่ยนคำเรียกหน่วยการปกครองด้วย ตำบลท่าแร้งจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงท่าแร้ง และอยู่ในเขตการปกครองของเขตบางเขน
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้ปรับเปลี่ยนแนวเขตการปกครองระหว่างเขตบางเขนกับเขตลาดพร้าว โดยตัดท้องที่แขวงจรเข้บัวของเขตลาดพร้าว เฉพาะส่วนที่อยู่ทางทิศเหนือของคลองสามขา คลองโคกคราม และคลองตาเร่งมาขึ้นกับเขตบางเขน[6] และกรุงเทพมหานครได้ผนวกแขวงจรเข้บัวส่วนดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแขวงท่าแร้งไปพร้อมกันเพื่อความชัดเจนด้านการปกครอง[7]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]แขวงท่าแร้งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขตบางเขน มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงคลองถนนและแขวงออเงิน (เขตสายไหม) มีคลองหนองผักชี (ลำผักชี) คลองหนองจอก คลองหนองตะแคง คลองหนองบัวมน และคลองออเป้ง (บึงพระยาสุเรนทร์) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสามวาตะวันตกและแขวงบางชัน (เขตคลองสามวา) มีคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) และคลองคู้ชุมเห็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงรามอินทรา (เขตคันนายาว) แขวงนวลจันทร์ (เขตบึงกุ่ม) และแขวงจรเข้บัว (เขตลาดพร้าว) คลองจรเข้บัว (หกขุด) คลองลำชะล่า คลองตาเร่ง คลองโคกคราม และคลองสามขาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงอนุสาวรีย์ (เขตบางเขน) มีคลองไผ่เขียว คลองแพรเขียว และคลองกะเฉดเป็นเส้นแบ่งเขต
การคมนาคม
[แก้]ทางสายหลักในพื้นที่แขวงท่าแร้ง ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)
- ถนนรามอินทรา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304)
- ถนนเทพรักษ์ (พหลโยธิน–รัตนโกสินทร์สมโภช)
- ถนนสุขาภิบาล 5 (กม.11)
- ถนนวัชรพล
- ทางพิเศษฉลองรัช
ทางสายรองและทางลัดในพื้นที่ ได้แก่
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)
- ซอยรามอินทรา 14 (มัยลาภ)
- ซอยรามอินทรา 34 (อยู่เย็น)
- ซอยรามอินทรา 65 (ถนอมมิตร)
- ซอยคู้บอน 27 (สยามธรณี)
- ซอยร่วมมิตรพัฒนา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566." กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. 2566. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2567.
- ↑ "กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (41 ก): 1–81. 16 พฤษภาคม 2556.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2020-09-23.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางเขน เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ และตั้งเขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 6–19. 18 พฤศจิกายน 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2020-09-23.
- ↑ "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 121 ง): 4–7. 24 ธันวาคม 2540.