ข้ามไปเนื้อหา

โคเด็กซ์ เซราฟินีอานุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โคเด็กซ์ เซราฟินีอานุส  
ผู้ประพันธ์ลุยจิ เซอราฟินี
ประเทศอิตาลี
สำนักพิมพ์แฟรนโก มาเรีย ฟิชชี
วันที่พิมพ์1981
หน้า127 (Vol. I); 127 (Vol. II)
ISBN88-216-0026-2
039 (Encyclopedias in other languages)

โคเด็กซ์ เซราฟินีอานุส (อังกฤษ: Codex Seraphinianus)[1] เป็นหนังสือที่เผยแพร่เมื่อปี ค.ศ. 1981 เป็นหนังสือสารานุกรมของสิ่งมีชีวิตในจินตนาการ สร้างโดยลุยจิ เซอราฟินีเป็นเวลา 30 เดือนในช่วงปี ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1978[2] หนังสือมี 360 หน้า (ขึ้นอยู่กับรุ่นที่ผลิต) และเขียนแบบภาษาประดิษฐ์[3][4]

หนังสือนี้ได้เผยแพร่ในอิตาลีและบางประเทศ

สิ่งที่มีในหนังสือ

[แก้]

หนังสือนี้เป็นข้อเขียนแนวสารานุกรมที่มีภาพวาดกับมือ ดินสอสี สิ่งมีชีวิตที่แปลกประหลาดที่เป็นทั้งพฤกษา สัตว์ป่า กายวิภาค แฟชั่น และอาหาร[5] มีส่วนเหมือนกันกับข้อเขียนวอยนิช เรื่องทโลน อุคบาร์ ออร์บิส เทอร์ทิอุส ของฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆส[6] และผลงานของเมาริตส์ กอร์เนลิส แอ็ชเชอร์ กับฮีเยโรนีมึส โบส

ข้อมูลในหนังสือมักจะดูเหนือจริง ล้อเลียนสิ่งที่มีในโลกแห่งความจริง เช่น: ผลไม้ออกเลือด ต้นไม้ที่เจริญเติบโตเป็นเก้าอี้ คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์จนกลายเป็นอัลลิเกเตอร์ ฯลฯ

รายละเอียด

[แก้]

หนังสือนี้แบ่งเป็น 11 ตอน 2 ส่วน โดยส่วนแรกมีรายละเอียดเกี่ยวกับธรรมชาติ วิธีจัดการกับพฤกษา สัตว์ป่า และฟิสิกส์ ส่วนที่สองเกี่ยวกับวิธีจัดการมนุษย์ มนุษย์หลายแบบ สิ่งที่มนุษย์ใช้: เสื้อ, ประวัติศาสตร์, อาหาร, สิ่งก่อสร้าง และอื่นๆ. โดยแบ่งตอนดังนี้:

  1. ตอนที่ 1 เกี่ยวกับประเภทของต้นไม้: ดอกไม้ประหลาด, ต้นไม้ที่ถอนรากเองและสืบพันธุ์ ฯลฯ
  2. ตอนที่ 2 เกี่ยวกับสัตว์ป่า และรูปร่างอันแปลกประหลาดของม้า, ฮิปโปโปเตมัส, แรด, สัตว์ปีก ฯลฯ
  3. ตอนที่ 3 เกี่ยวกับการแบ่งอาณาจักรของสัตว์สองขา
  4. ตอนที่ 4 เกี่ยวกับฟิสิกส์และเคมีที่ดูแปลกประหลาดและลึกลับ
  5. ตอนที่ 5 เกี่ยวกับเครื่องจักรและเครื่องยนต์ประหลาด
  6. ตอนที่ 6 เกี่ยวกับมนุษย์ แบ่งได้เป็น: ชีววิทยา, เพศสภาพ, คนพื้นเมืองหลายสัญชาติ และตัวอย่างของพืชและอุปกรณ์ (เช่นปากกาและนาฬิกาข้อมือ) ที่เป็นมนุษย์
  7. ตอนที่ 7 เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของผู้คน (มักจะเป็นคนประหลาด)โดยให้เวลาเกิดและตาย และฉากในประวัติศาสตร์ ซึ่งรวมถึงวิธีการฝังศพ
  8. ตอนที่ 8 เกี่ยวกับประวัติการเขียนภาษาโคเด็กซ์
  9. ตอนที่ 9 เกี่ยวกับอาหาร การจัดอาหาร และเสื้อผ้า
  10. ตอนที่ 10 เกี่ยวกับเกมประหลาด (รวมถึงเกมไพ่และเกมกระดาน) และกีฬากรีฑา
  11. ตอนที่ 11 เกี่ยวกับสถาปัตยกรรม

หลังจากตอนสุดท้ายจะมีรายละเอียดย่อยๆ ที่เขียนได้ไม่ดี

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. as it were "the book (or manuscript) of Serafini"; the Latin noun codex referred to a book with pages (as opposed to a scroll), and is often applied in modern usage to a manuscript with pages, especially an antiquarian one. Seraphinianus is a Latinisation of the author's surname, Serafini (which in Italian, refers to the seraphs).
  2. Corrias, Pino (February 5, 2006). "L'enciclopedia dell'altro mondo" (PDF). La Repubblica. p. 39.
  3. Berloquin, Pierre (2008). "Chapter 10: The Cipher Gallery". Hidden Codes & Grand Designs: Secret Languages from Ancient Times to Modern Day. Sterling Publishing. pp. 300–302. ISBN 1-4027-2833-6.
  4. Peter Schwenger (2006). "Museal". The Tears of Things: Melancholy and Physical Objects. University of Minnesota Press. pp. 119–124. ISBN 0-8166-4631-7.
  5. "Codex Seraphinianus". Encyclopedia of Fictional and Fantastic Languages. Greenwood Publishing Group. 2006. pp. 30–31. ISBN 0-313-33188-X.
  6. Antoinette LaFarge. "Codex Seraphinianus". University of California, Irvine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-05. สืบค้นเมื่อ 2018-07-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]