โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา
บูลิเมีย เนอร์โวซา | |
---|---|
ชื่ออื่น | Bulimia |
ฟันบนด้านหน้าสึกกร่อน เป็นผลมาจากโรคบูลิเมีย | |
สาขาวิชา | จิตเวชศาสตร์ |
อาการ | กินอาหารปริมาณมากในเวลาอันสั้น แล้วขับออกด้วยการอาเจียนหรือใช้ยาระบาย, ผู้ป่วยมักมีน้ำหนักตามเกณฑ์[1][2] |
ภาวะแทรกซ้อน | ฟันสึกกร่อน, ซึมเศร้า, วิตกกังวล, ปัญหาสารเสพติด, การฆ่าตัวตาย[2][3] |
สาเหตุ | พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[2][4] |
วิธีวินิจฉัย | ประวัติของผู้ป่วย[5] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ, binge eating disorder, กลุ่มอาการไคลน์-เลวิน, ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง[5] |
การรักษา | การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม[2][6] |
ยา | Selective serotonin re-uptake inhibitors, ยาแก้ซึมเศร้าไตรไซคลิก[4][7] |
พยากรณ์โรค | 50% ของผู้ป่วยที่รับการรักษาเกิน 10 ปี มีอาการดีขึ้น[4] |
ความชุก | 3.6 ล้านคน (ค.ศ. 2015)[8] |
โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา (อังกฤษ: bulimia nervosa) เป็นความผิดปกติของการรับประทานที่ผู้ป่วยจะทานอาหารปริมาณมากในเวลาอันสั้นแล้วขับออกด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ทำให้ตัวเองอาเจียน ใช้ยาระบายหรือสารกระตุ้นหรือออกกำลังอย่างหนัก[2][4] ผู้ป่วยบูลิเมียส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตามเกณฑ์[1] ลักษณะหนึ่งของโรคนี้คือจะมีผิวหนังตรงข้อนิ้วบางเนื่องจากการล้วงคอให้ตัวเองอาเจียนและมีฟันสึกหรอ[2] ผู้ป่วยบูลิเมียมักประสบอารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวลและปัญหาสารเสพติดร่วมด้วย นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย[3]
โรคบูลิเมียมีเปอร์เซ็นต์ที่เกิดจากพันธุกรรมประมาณ 30-80% และอาจเกิดจากปัจจัยอื่นเช่น การถูกกดดันจากสังคมที่ให้คุณค่ากับความผอม โรคอ้วน ความเครียดและความภูมิใจแห่งตนต่ำ[4] การวินิจฉัยจะใช้การซักประวัติ แต่บางครั้งอาจยากที่จะวินิจฉัยเนื่องจากผู้ป่วยปกปิดพฤติกรรมตัวเอง[4] โรคบูลิเมียมีอาการบางอย่างที่คล้ายกับโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ binge eating disorder กลุ่มอาการไคลน์-เลวินและความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง[5]
การรักษาหลักของโรคบูลิเมียคือการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม[6] ยาแก้ซึมเศร้าชนิด Selective serotonin re-uptake inhibitors และยาแก้ซึมเศร้าไตรไซคลิกให้ผลการรักษาที่ดีปานกลาง[7] มีรายงานว่าผู้ป่วยประมาณ 50% ที่เข้ารับการรักษาเกินกว่า 10 ปี มักมีอาการดีขึ้น[4]
ในปี ค.ศ. 2015 มีผู้ป่วยบูลิเมียทั่วโลกประมาณ 3.6 ล้านคน[8] โรคนี้พบไม่บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา[4] ผู้หญิงประมาณ 2-3% จะประสบโรคบูลิเมียในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต[3] ผู้หญิงมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายประมาณ 9 เท่า โดยมีอัตราการเกิดกับผู้หญิงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมากที่สุด[5] เจอรัลด์ รัสเซล จิตแพทย์ชาวอังกฤษเป็นผู้ตั้งชื่อและอธิบายโรคนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1979[9] โดยมาจากคำในภาษากรีก βουλιμία (boulīmia) ที่แปลว่า "ผู้ที่กินอย่างตะกละ" ดังนั้น bulimia nervosa จึงมีความหมายว่า "ผู้ป่วยทางจิตที่กินอย่างตะกละตะกลาม"[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Bulik, CM; Marcus, MD; Zerwas, S; Levine, MD; La Via, M (October 2012). "The changing "weightscape" of bulimia nervosa". The American Journal of Psychiatry. 169 (10): 1031–6. doi:10.1176/appi.ajp.2012.12010147. PMC 4038540. PMID 23032383.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Bulimia nervosa fact sheet". Office on Women's Health. July 16, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2015. สืบค้นเมื่อ 27 June 2015.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Smink, FR; van Hoeken, D; Hoek, HW (August 2012). "Epidemiology of eating disorders: incidence, prevalence and mortality rates". Current Psychiatry Reports. 14 (4): 406–14. doi:10.1007/s11920-012-0282-y. PMC 3409365. PMID 22644309.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Hay PJ, Claudino AM; Claudino (2010). "Bulimia nervosa". Clinical Evidence. 2010: 1009. PMC 3275326. PMID 21418667.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 American Psychiatric Association (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (Fifth ed.). Arlington, VA: American Psychiatric Publishing. pp. 345–349. ISBN 978-0-89042-555-8.
- ↑ 6.0 6.1 Hay, P (July 2013). "A systematic review of evidence for psychological treatments in eating disorders: 2005–2012". The International Journal of Eating Disorders. 46 (5): 462–9. doi:10.1002/eat.22103. PMID 23658093.
- ↑ 7.0 7.1 McElroy, SL; Guerdjikova, AI; Mori, N; O'Melia, AM (October 2012). "Current pharmacotherapy options for bulimia nervosa and binge eating disorder". Expert Opinion on Pharmacotherapy. 13 (14): 2015–26. doi:10.1517/14656566.2012.721781. PMID 22946772.
- ↑ 8.0 8.1 GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence, Collaborators. (8 October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
{{cite journal}}
:|first1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Russell G (1979). "Bulimia nervosa: An ominous variant of anorexia nervosa". Psychological Medicine. 9 (3): 429–48. doi:10.1017/S0033291700031974. PMID 482466.
- ↑ Douglas Harper (November 2001). "Online Etymology Dictionary: bulimia". Online Etymology Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-04-06.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โรคบูลิเมีย เนอร์โวซา
- "บูลิเมีย (Bulimia)". Pobpad - พบแพทย์.