Echinococcosis
Echinococcosis | |
---|---|
วงจรชีวิตของ Echinococcus (คลิกเพื่อขยาย) | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | B67 |
ICD-9 | 122.4, 122 |
DiseasesDB | 4048 |
eMedicine | med/629 med/1046 |
MeSH | D004443 |
เอไคโนค็อกโคซิส หรือที่เรียกกันว่า โรคพยาธิไฮดาติด (hydatid), hydatidosis หรือ โรคพยาธิเอไคโนค็อกคอล เป็น โรคที่เกิดจากปรสิต สายพันธ์ พยาธิตัวตืด สกุลEchinococcus โรคพยาธิชนิดหลักๆ ที่คนได้รับมีสองชนิดคือ cystic echinococcosis และ alveolar echinococcosis ส่วนชนิดที่พบได้น้อยกว่าคือ polycystic echinococcosis และ unicystic echinococcosis โรคนี้เริ่มแรกจะไม่แสดงอาการและอาจไม่มีอาการนานร่วมปี อาการและสัญญานของโรคที่เกิดขึ้นมักขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของถุงซิสต์ที่พยาธิอาศัยอยู่ โรค Alveolar มักเริ่มต้นที่ตับ แต่ก็อาจแพร่สู่อวัยวะส่วนอื่นๆ เช่นปอดและสมองได้ เมื่อตับติดเชื้อผู้ป่วยมักมี การปวดท้อง น้ำหนักลด และ ตัวเหลือง การติดเชื้อที่ปอดอาจเป็นสาเหตุของการปวดที่บริเวณหน้าอก หายใจถี่ และการไอ[1]
สาเหตุ
[แก้]โรคนี้แพร่กระจายจากการกินอาหารหรือน้ำที่มีไข่ของพยาธิปะปนอยู่หรือการอยู่ใกล้หรือสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ[1] ไข่พยาธิจะถูกปล่อยมากับอุจจระของสัตว์กินเนื้อที่ติดเชื้อโรคของพยาธินี้ [2] โดยทั่วไปสัตว์ที่ติดเชื้อ มักได้แก่: สุนัข สุนัขจิ้งจอกและหมาป่า[2] สัตว์เหล่านี้มักติดเชื้อจากการกิน อวัยวะ ของสัตว์ที่มีถุงซิสต์ที่พยาธิอาศัยอยู่ เช่น แกะและสัตว์จำพวกหนู[2] ประเภทของโรคที่เกิดในคนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของ Echinococcus ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ โดยทั่วไปการวินิจฉัยอาจใช้วิธี อัลตราซาวนด์ โดยการเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือ การตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจเลือดเพื่อหา สารภูมิต้านทาน ต่อพยาธิดังกล่าวอาจเป็นวิธีการที่ได้ผลดีเท่ากับ การตัดเนื้อออกตรวจ[1]
การป้องกันและการรักษา
[แก้]การป้องกันโรคพยาธิชนิดเม็ดสาคูหรือซิสต์นี้คือการรักษาสุนัขที่อาจติดเชื้อและการฉีดวัคซีนให้กับแกะ ทั้งนี้การรักษามักทำได้ยาก โดยอาจผ่าเอาถุงซิสต์ออกแล้วตามด้วยการให้ยา[1] และบางครั้งโรคประเภทนี้สามารถทำได้แค่ตามดูอาการ[3] ส่วนโรคประเภท alveolar มักจำเป็นต้องมีผ่าตัดแล้วตามด้วยการให้ยา[1] ยาที่ใช้รักษาคือ อัลเบนดาโซล ซึ่งอาจต้องมีการรับประทานยาเป็นเวลาหลายปี[1][3] โรคประเภท alveolar อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้[1]
ข้อมูลทางระบาดวิทยา
[แก้]โรคนี้เกิดในหลายพื้นที่ของโลกและปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อนี้ราวหนึ่งล้านคน ในบางพื้นที่ เช่น อเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชีย มีประชากรที่ติดเชื้อคิดเป็น 10%[1] นับตั้งแต่ปี 2553 โรคนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยประมาณ 1200 รายซึ่งลดลงจาก 2000 ราย ในปี 2533[4] ต้นทุนทางเศรษฐกิจของโรคนี้ประมาณการว่าราว 3 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โรคนี้อาจแพร่สู่สัตว์อื่นๆ เช่น หมู วัว และม้า[1]
วงจรชีวิตของ Echinococcus
[แก้]วงจรชีวิตของ Echinococcus- ดูกล่องข้อมูล
- Adult in small intestine = ตัวเต็มวัยในลำไส้เล็ก
- Embryonated egg is in feces = ไข่ที่มีตัวอ่อนปนออกมากับอุจจาระ
- Oncosphere hatches: penetrates intestine wall = ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่: เกาะที่ผนังลำไส้
- Hydatid cyst in liver, lungs, etc = ซิสต์ของไฮดาติดในตับ ปอด เป็นต้น
- Protoscolex from cyst = ตัวอ่อนจากซิสต์ซึ่งหัวมีขอล้อมรอบ
- Acolex attachs to intestine = ตัวเต็มวัยเกาะที่ผนังลำไส้
- Definitive Host (dogs and other canivores) = โฮสต์ขั้นสุดท้าย (สุนัขและสัตว์กินเนื้อ)
- Intermediate Host (sheep, goats, swine. etc) = โฮสต์ขั้นกลาง (แกะ แพะ หมู เป็นต้น)
- Ingestion of eggs (in feces) = การกินไข่ (ในอุจจาระ)
- Ingestion of cysts (in organs) = การกินซิสต์ (ในอวัยวะ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "Echinococcosis Fact sheet N°377". World Health Organization. March 2014. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Echinococcosis [Echinococcus granulosus] [Echinococcus multilocularis] [Echinococcus oligarthrus] [Echinococcus vogeli]". CDC. November 29, 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
- ↑ 3.0 3.1 "Echinococcosis Treatment Information". CDC. November 29, 2013. สืบค้นเมื่อ 20 Mar 2014.
- ↑ Lozano, R (Dec 15, 2012). "Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2095–128. doi:10.1016/S0140-6736(12)61728-0. PMID 23245604.