บรูโน ซามมาร์ติโน
บรูโน ซามมาร์ติโน | |
---|---|
เกิด | 6 ตุลาคม ค.ศ. 1935 Pizzoferrato, Kingdom of Italy |
เสียชีวิต | 18 เมษายน ค.ศ. 2018 | (82 ปี)
ที่พัก | Ross Township, Pennsylvania, U.S. |
ประวัติมวยปล้ำอาชีพ | |
ชื่อบนสังเวียน | บรูโน ซามมาร์ติโน |
ส่วนสูง | 5 ft 10 in (1.78 m)[1] |
น้ำหนัก | 265 lb (120 kg)[1][2] |
มาจาก | Abruzzo, Italy[3] Pittsburgh, Pennsylvania |
ฝึกหัดโดย | Ace Freeman Rex Peery[1] |
เปิดตัว | 1959 |
รีไทร์ | 1987 |
บรูโน ซามมาร์ติโน (Bruno Sammartino) มีชื่อจริงว่า บรูโน เลโอปาร์โด แฟรนเชโซ ซามมาร์ติโน (Bruno Laopardo Franceso Sammartino; 6 ตุลาคม ค.ศ. 1935 - 18 เมษายน ค.ศ. 2018)[4] อดีตนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาเลียน[3] ปล้ำให้กับเวิลด์ไวด์เรสต์ลิงเฟดดิเรชั่น (WWWF) เป็นแชมป์โลกเฮฟวี่เวท WWWFที่ครองได้นานที่สุดในประวัติศาสตร์[5][6] และได้เข้าสู่หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอีประจำปี 2013[7][8]
ประวัติ
Bruno Sammartino เป็นนักมวยปล้ำที่โลดแล่นอยู่ในวงการในช่วงปี 1959-1987 ในยุคทองของเขานั้น เขาถูกเรียกว่า นักมวยปล้ำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นแชมป์ขวัญใจมหาชนในยุคที่มวยปล้ำยังไม่เข้าสู่การเอนเตอร์เทรนเนอร์นัก เขาขายตัวเองด้วยคาแรคเตอร์จอมพลัง นักสู้ผู้กล้าแกร่งจนเป็นขวัญใจของคนมากมาย รวมทั้ง Arnold Schwarzenegger ที่มีเขาเป็นต้นแบบในวัยเด็ก
"แค่ได้ยินชื่อของเขา มันก็เหมือนมีซุปเปอร์แมนจริงๆ บนโลก เขาสร้างสิ่งมหัศจรรย์เอาไว้มากมาย และ มีความเป็นนักสู้ ใครๆ ก็อยากเป็นเขา"
เขาเป็นนักมวยปล้ำที่สร้างสถิติยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างการครองแชมป์โลกของ WWE หรือ WWWF ในตอนนั้นถึง 8 ปี รวมการครองแชมป์ทั้ง 2083 วันในสมัยเดียว กลายเป็นสถิติสูงสุดที่ไม่มีผู้ใดเทียบเคียง ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้มากมาย อย่าง Harley Race, Larry Zbyszko, André the Giant, Hulk Hogan และแน่นอนศัตรูตัวฉกาจของเขาอย่าง Gorilla Monsoon
กระนั้นเองเขาเป็นไม้เบื่อไม้เมากับสมาคม WWE เนื่องจากเหตุผลว่า WWE ให้ค่า Gorilla Monsoon ศัตรูที่ไม่ถูกกันของเขาในชีวิตจริงมากกว่า มีคำกล่าวว่า เขาไม่พอใจระบบต่างๆ ของสมาคมรวมทั้งการมีอีโก้ที่ค่อนข้างสูง (ก็ครองแชมป์ 8 ปีกว่ามันต้องมีการเมืองหลังฉากอยู่แล้ว เพราะมีข่าวว่า แกแทบไม่ยอมเสียแชมป์ให้ใครเลยด้วยซ้ำ แต่ก็พอเข้าใจได้ว่า ตอนนั้นแกดังจริง) ทำให้เขาออกจากสมาคมไปชนิดว่า ไม่มีใครอยากจะพูดถึงเขาและเหมือนว่า เขาจะไม่มีญาติดีกับสมาคมได้เลย
กระทั่งในปี 2013 ทุกอย่างก็คลี่คลายลงฟ้าหลังฝนย่อมสดใสเสมอ เมื่อ Triple H ลูกเขยของ Vince McMahon ได้เข้าไปเจรจากับเขาถึงการเข้าสู่หอเกียรติยศของสมาคม ซึ่งการเจรจาเป็นไปได้ด้วยดี และจบลงด้วยการที่นักมวยปล้ำผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการเข้าสู่หอเกียรติยศของสมาคมที่เขาไม่ยุ่งเกี่ยวเลยนับยี่สิบกว่าปี
นักมวยปล้ำผู้สร้างสถิติ ผู้สร้างความบันเทิงอันยิ่งใหญ่ให้แฟนๆ การเป็นฮีโร่ของเด็กๆ หลายคน เขาคือคนคนนั้น
เขายังกลับมาร่วมงานกับสมาคมทั้งการออก DVD เกี่ยวกับตัวเขา ฟิคเกอร์เมื่อครั้งเขายังหนุ่มออกวางขายและขายดีมาก รวมทั้งการมีรูปปั้นทองแดงตั้งไว้ในสมาคมเพื่อระลึกถึงชายคนนี้เช่นเดียวกับ André the Giant
เขาเสียชีวิตด้วย 82 ปี เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2018 ด้วยโรคหัวใจที่รักษามานานกว่าสองเดือนจนต้องผ่าตัดช่วยชีวิต แต่ก็ได้เพียงเท่านั้น
ผลงาน
- Grand Prix Wrestling
- GPW Tag Team Championship (1 time) – with Édouard Carpentier
- International Sports Hall of Fame
- Class of 2013[9]
- Maple Leaf Wrestling
- NWA Hollywood
- Los Angeles Battle Royal (1972) [10]
- Pro Wrestling Illustrated
- Match of the Year (1972) Battle royal on January 14, Los Angeles, California
- Match of the Year (1975) vs. Spiros Arion on March 17, New York City
- Match of the Year (1976) vs. Stan Hansen on June 25, Queens, New York
- Match of the Year (1977) vs. Superstar Billy Graham on April 30, Baltimore, Maryland
- Match of the Year (1980) vs. Larry Zbyszko at Showdown at Shea in a steel cage match
- Most Inspirational Wrestler of the Year (1976)[11]
- Stanley Weston Award (1981)
- Wrestler of the Year (1974)
- PWI ranked him No. 200 of the top 500 singles wrestlers of the "PWI Years" in 2003[12]
- Professional Wrestling Hall of Fame and Museum
- Class of 2002
- World Wide Wrestling Alliance
- Hall of Fame (Class of 2008)
- World Wide Wrestling Federation/WWE
- WWWF World Heavyweight Championship/WWWF Heavyweight Championship (2 times)[a]
- WWWF International Tag Team Championship (2 times) – with Dominic DeNucci (1) and Tony Marino (1)
- WWWF United States Tag Team Championship (1 time, final) – with Spiros Arion
- WWE Bronze Statue[13]
- WWE Hall of Fame (Class of 2013)
- World Wrestling Association (Indianapolis)
- Wrestling Observer Newsletter
- Feud of the Year (1980) vs. Larry Zbyszko
- Wrestling Observer Newsletter Hall of Fame (Class of 1996)
หมายเหตุ
- ↑ During Sammartino's second reign the title was known as WWWF Heavyweight Championship, due to the WWWF rejoining the National Wrestling Alliance.
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Hornbaker, Tim (2012). Legends of Pro Wrestling: 150 Years of Headlocks, Body Slams, and Piledrivers. Sports Publishing. ISBN 1613210752.
- ↑ Davies, Ross (2001). Bruno Sammartino. Rosen Publishing Group. pp. 23–24. ISBN 1435836251.
- ↑ 3.0 3.1 Shields, Brian; Sullivan, Kevin (2012). WWE Encyclopedia: Updated & Expanded. DK. pp. 56–57. ISBN 978-0-7566-9159-2.
- ↑ Hornbaker, Tim (2007). National Wrestling Alliance: The Untold Story of the Monopoly That Strangled Pro Wrestling. ECW Press. pp. 186–187. ISBN 978-1-55022-741-3.
- ↑ Schramm, Chris (September 15, 1999). "Sammartino the Living Legend". SLAM! Sports. Canoe.com. สืบค้นเมื่อ October 18, 2016.
- ↑ Murphy, Jan (October 1, 2014). "Jim Myers: The man behind the Animal". SLAM! Sports. Canoe.com. สืบค้นเมื่อ September 7, 2016.
- ↑ Varsallone, Jim (February 5, 2013). "Wrestling legend Bruno Sammartino accepts WWE Hall of Fame honor". The Miami Herald.
- ↑ "Bruno Sammartino gets Hall call". Pittsburgh Post-Gazette. February 5, 2013.
- ↑ "Bruno Sammartino Hall of Fame 2013". International Sports Hall of Fame. สืบค้นเมื่อ March 10, 2013.
- ↑ "Los Angeles Territory".
- ↑ "Pro Wrestling Illustrated Award Winners Inspirational Wrestler of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2007. สืบค้นเมื่อ July 27, 2008.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "PWI 500 of the PWI Years". Willy Wrestlefest. สืบค้นเมื่อ August 26, 2012.
- ↑ "Triple H reveals Bruno Sammartino statue at WrestleMania Axxess".
- ↑ "W.W.A. World Tag Team Title (Indianapolis)". Puroresu Dojo. 2003.