ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | สนามบินพาณิชย์ / ศุลกากร | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | บมจ.ท่าอากาศยานไทย / สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ไทย) | ||||||||||
พื้นที่บริการ | จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา | ||||||||||
ที่ตั้ง | เลขที่ 404 หมู่ 10 ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย | ||||||||||
ฐานการบิน | ไทยเวียดเจ็ทแอร์ ไทยแอร์เอเชีย | ||||||||||
ผู้บัญชาการ | สมชนก เทียมเทียบรัตน์ | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 1,280 ฟุต / 390 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 19°57′08″N 99°52′58″E / 19.95222°N 99.88278°E | ||||||||||
เว็บไซต์ | chiangrai | ||||||||||
แผนที่ | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2562) | |||||||||||
| |||||||||||
แหล่งข้อมูล: https://www.airportthai.co.th/ |
ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย หรือ สนามบินเชียงราย (อังกฤษ: Mae Fah Luang – Chiang Rai International Airport) (IATA: CEI, ICAO: VTCT) ตั้งอยู่เลขที่ 404 หมู่ 10 ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ห่างจากถนนพหลโยธิน (เชียงราย - แม่จัน) ทางทิศตะวันออกประมาณ 2.6 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองเชียงราย ประมาณ 8 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางหลักคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1418 มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 3,042 ไร่ เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[1] และเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 1 ใน 6 แห่ง ที่บริหารงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]ท่าอากาศยานเชียงรายเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สังกัดกรมการบินพาณิชย์ (บพ.) กระทรวงคมนาคม ใช้ชื่อว่า "สนามบินบ้านดู่"[2] ต่อมา บพ.ได้ถูกโอนมาขึ้นอยู่กับการบริหารของ "การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และ "การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” ได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตามแนวนโยบายของรัฐบาล ภายใต้ชื่อ "บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.)” เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 ถึงปัจจุบัน[3]
ต่อมา คณะกรรมการ ทอท. มีมติเห็นชอบให้เพิ่มชื่อท่าอากาศยานเชียงรายเป็น ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความจงรักภักดีที่มีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตามที่ได้มีการร้องขอจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในจังหวัดเชียงราย ดังนั้น ทอท. จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา[4]
ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เป็นสนามบินที่มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคนต่อปี และสามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่ เช่น Boeing 777, Boeing 787, Airbus A330 series, Airbus A340 series และอากาศยานขนาดใหญ่มาก เช่น Boeing 747 series ในอดีต บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เคยนำเครื่องบินขนาดใหญ่แบบ แอร์บัส เอ340 Airbus A340-642 และขนาดใหญ่มากแบบ Boeing 747 ทำการบินจาก ท่าอากาศยานดอนเมือง ไป-กลับ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย อีกด้วย
ปัจจุบันมีสายการบินให้บริการที่ ทชร. จำนวน 5 สายการบิน แบ่งเป็นเส้นทางภายในประเทศ 5 สายการบิน (สายการบิน การบินไทย, ไทยเวียดเจ็ทแอร์, ไทยไลออนแอร์, ไทยแอร์เอเชีย, และสายการบินนกแอร์) โดยตารางบินข้างต้นอาจเพิ่มหรือลดได้ตามตารางบินของสายการบินนั้น ทั้งนี้ ทชร.มีศักยภาพพร้อมที่จะรองรับสายการบินระหว่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นการค้าและเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย
รายชื่อสายการบิน
[แก้]สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
การบินไทย | กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ | ภายในประเทศ |
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ | กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ | ภายในประเทศ |
ภูเก็ต (เฉพาะฤดูกาล) | ภายในประเทศ | |
ไทยแอร์เอเชีย | กรุงเทพ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
นกแอร์ | กรุงเทพ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
ไทยไลอ้อนแอร์ | กรุงเทพฯ-ดอนเมือง | ภายในประเทศ |
แอร์เอเชีย | กัวลาลัมเปอร์ เริ่ม 2 พ.ย. 67 | ระหว่างประเทศ |
เส้นทางบินที่เคยให้บริการ
[แก้]สายการบิน | จุดหมายปลายทาง |
---|---|
การบินไทย | ดอนเมือง,เชียงใหม่ |
แองเจิลแอร์ไลน์ | ดอนเมือง |
ภูเก็ตแอร์ไลน์ | ดอนเมือง |
วัน-ทู-โก | ดอนเมือง |
โอเรียนต์ไทยแอร์ไลน์ | ดอนเมือง |
นกมินิ | เชียงใหม่ |
กานต์แอร์ | เชียงใหม่ |
สายการบินทีเวย์ | อินชอน (Chartered Flight) |
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ | คุณหมิง |
ไทยแอร์เอเชีย | สุวรรณภูมิ,ภูเก็ต,หาดใหญ่,มาเก๊า,สิงคโปร์,กัวลาลัมเปอร์,เซินเจิ้น |
ฮ่องกงเอ็กซเพรส | ฮ่องกง |
ไห่หนานแอร์ไลน์ | ไหโข่ว |
เป่ยจิงแคปิตอลแอร์ไลน์ | ไหโข่ว |
บางกอกแอร์เวย์ | สุวรรณภูมิ |
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ | อุดรธานี,หาดใหญ่ |
ไทยไลอ้อนแอร์ | ฉางชา |
รุ่ยลี่แอร์ไลน์ | เชียงรุ่ง |
เสฉวนแอร์ไลน์ | เฉิงตู |
ไทยสมายล์ | สุวรรณภูมิ |
สถิติ
[แก้]ปี (พ.ศ.) | ผู้ใช้บริการ (คน) | เปลี่ยนแปลง | จำนวนเที่ยวบิน |
---|---|---|---|
2551 | 682,512 | — | — |
2552 | 718,536 | 5.28% | — |
2553 | 726,127 | 1.06% | — |
2554 | 818,163 | 12.67% | 5,819 |
2555 | 986,436 | 20.57% | — |
2556 | 1,089,202 | 10.42% | — |
2557 | 1,291,708 | 18.59% | 10,029 |
2558 | 1,639,829 | 26.98% | 12,799 |
2559 | 2,059,675 | 21.74% | 14,590 |
2560 | 2,503,375 | 21.51% | 17,661 |
2561 | 2,867,289 | 14.54% | 20,072 |
2562 | 2,928,884 | 2.15% | 20,128 |
2563 | 1,513,047 | 51.66% | 12,126 |
2564 | 710,408 | 53.06% | 9,337 |
2565 | 1,686,726 | 137.43% | 11,920 |
2566 | 1,920,228 | 13.84% | 12,485 |
ม.ค.-ก.ค. 2567 | 1,115,134 | 0.94% | 7,017 |
ที่มา: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)[5] |
ข้อมูลจำเพาะของท่าอากาศยาน
[แก้]- ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ตั้งอยู่ละติจูดที่ 19 องศา 57 ลิปดา 8 ฟิลิปดาเหนือ ลองติจูด 99 องศา 52 ลิปดา 59 ฟิลิปดาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,279 ฟุต หรือ 390.23 เมตร
- เปิดบริการ 24 ชั่วโมง.
ทางวิ่งอากาศยาน (RUN WAY)
[แก้]ทางวิ่งมีหนึ่งเส้นทาง เป็นแอสฟัลติกคอนกรีตในทิศทาง 03/21 ค่าความแข็งของพื้นผิวทางวิ่ง PCN 84/F/D/X/T มีความยาว 3,000 เมตร กว้าง 45 เมตร ไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และ STOP WAY ปลายทางวิ่งทั้ง 2 ด้าน ยาวด้านละ 60 เมตร[6] สามารถรองรับอากาศยาน CODE E (กางปีกตั้งแต่ 52 เมตร ไม่เกิน 65 เมตร ฐานล้อหลักกว้างตั้งแต่ 9 ถึง 14 เมตร) เช่น B-777, B-787 and A330
รหัสอักษร | ระยะระหว่างปลายปีก | ระยะห่างพวงล้อหลัก | แบบของเครื่องบิน |
---|---|---|---|
A | < 15 ม. | < 4.5 ม. | PIPER PA-31/CESSNA 404 Titan |
B | 15 ม. แต่ < 24 ม. | 4.5 ม. แต่ < 6 ม. | BOMBARDIER Regional Jet CRJ-200/DE HAVILLAND CANADA DHC-6 |
C | 24 ม. แต่ < 36 ม. | 6 ม. แต่ < 9 ม. | BOEING 737-700/AIRBUS A-320/EMBRAER ERJ 190-100 |
D | 36 ม. แต่ < 52 ม. | 9 ม. แต่ < 14 ม. | B767 Series/AIRBUS A-310 |
E | 52 ม. แต่ < 65 ม. | 9 ม. แต่ < 14 ม. | B777 Series/B787 Series/A330 Family/A340 Family/A350 Family |
F | 65 ม. แต่ < 80 ม. | 14 ม. แต่ < 16 ม. | BOEING 747-8/AIRBUS A-380-800 |
ทางขับ (TAXI WAY)
[แก้]TAXIWAY มี 7 เส้นทาง คือ TAXI WAY A, B, C, D, E, F และ P โดย TAXI WAY P เป็นทางขับคู่ขนานไปกับ RUNWAY 21 ไปทางทิศเหนือ โดยอยู่ทางด้านขวาของ RUNWAY 21
Taxiway width, surface and strength
- Taxiway A: 27.5 M, Concrete surface, PCN 85/R/B/X/T
- Taxiway B: 30 M, Concrete surface, PCN 85/R/B/X/T
- Taxiway C: 35 M, Concrete surface, PCN 85/R/B/X/T
- Taxiway D: 23 M, Concrete surface, PCN 85/R/B/X/T
- Taxiway E: 23 M, Concrete and Asphalt surface, PCN 84/F/D/X/T
- Taxiway F: 23 M, Concrete and Asphalt surface, PCN 84/F/D/X/T
- Taxiway P: 23 M, Concrete surface, PCN 85/R/B/X/T
ลานจอดอากาศยาน
[แก้]มีจำนวนเนื้อที่โดยประมาณ 45,330 ตารางเมตร ขนาด 120 x 337 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของทางวิ่ง ห่างจาก RUN WAY CENTER LINE 280 เมตรพื้นผิวเป็นคอนกรีต ค่าความแข็ง 73 R/D/X/T มีจำนวน หลุมจอดอากาศยาน จำนวน 7 หลุมจอด และมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 12 หลุมจอด[7]
หลุมจอดอากาศยาน
[แก้]จำนวน 7 หลุมจอด แบ่งเป็น[8]
- CONTACT GATE มีจำนวน 3 หลุมจอด สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่สุดถึง B-737, A-320
- REMOTE มีจำนวน 4 หลุมจอด สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่สุดถึง B-747
- ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 12 หลุมจอด
อาคารผู้โดยสาร
[แก้]เป็นอาคารเดี่ยวคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น พื้นที่ขนาด 60 x 180 เมตร พื้นที่ใช้ประโยชน์ 22,960 ตารางเมตร ลักษณะอาคารเป็นแบบ Linear Terminal ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน (อดีตคือกรมการบินพานิชย์/กรมการบินพลเรือน) อาทิ สนามบินอุดรธานี อุบลราชธานี นครรศรีธรรมราช กระบี่ ขอนแก่น ฯลฯ ซึ่งคาดว่าจะใช้แบบการก่อสร้างอาคารใกล้เคียงกัน ตั้งแต่สมัยอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการบินพานิชย์ (บพ.) ลักษณะพิเศษของอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย คือ ผู้โดยสารขาเข้าและผู้โดยสารขาออกจะต้องใช้พื้นที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารร่วมกัน (ขาเข้าเดินจากบนลงล่าง ขาออกเดินจากล่างขึ้นบน) ประกอบกับถูกออกแบบมาให้มีห้องรับรองพิเศษอยู่ตรงกึ่งกลางอาคาร (อาคารผู้โดยสารปัจจุบันมีอายุการใช้งาน 31 ปี) สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงคับคั่งได้ถึง 1,250 คน โดยพื้นที่ใช้ประโยชน์ประกอบด้วย[9]
พื้นที่รวม | 22,960 ตารางเมตร |
---|---|
ห้องผู้โดยสารขาเข้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ | 1,520 ตารางเมตร |
ห้องผู้โดยสารขาออกภายในประเทศและระหว่างประเทศ | 1,520 ตารางเมตร |
สำนักงานท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย | 470 ตารางเมตร |
พื้นที่เช่าผู้ประกอบการ | 1,730 ตารางเมตร |
พื้นที่สำนักงานเจ้าหน้าที่หน่วยราชการ | 250 ตารางเมตร |
พื้นที่สาธารณะอื่น ๆ | 17,927 ตารางเมตร |
บริการที่จอดรถยนต์
[แก้]- พื้นที่รองรับการจอดรถ 1,200 คัน
ระยะเวลาใช้บริการ | รถยนต์ 4 ล้อ | รถยนต์ 6 ล้อขึ้นไป | ||
---|---|---|---|---|
1 ชั่วโมง | 10 บาท | 20 บาท | ||
2 ชั่วโมง | 20 บาท | 40 บาท | ||
3 ชั่วโมง | 35 บาท | 70 บาท | ||
4–24 ชั่วโมง | 150 บาท | 200 บาท | ||
หมายเหตุ เศษของชั่วโมงตั้งแต่ 5 นาทีขึ้นไปคิดเป็น 1 ชั่วโมง[10] |
โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
[แก้]ในปัจจุบัน อาคารผู้โดยสารถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับผู้โดยสารสูงสุดคือ 3,000,000 คนต่อปี ซึ่งในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีปริมาณผู้โดยสารสูงสุดเกือบ 3,000,000 คนส่งผลทำให้เกิดความหนาแน่น แอดอัด คับคั่ง และความไม่สะดวกต่อการให้บริการผู้โดยสารและสายการบินที่เข้ามาใช้บริการ
ดังนั้น จึงได้มีการวางแผนพัฒนาขยายขีดความสามารถของท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงรายเพื่อให้สามารถรองรับต่อการให้บริการในอนาคตข้างหน้าที่คาดว่าจะสามารถรองรับ ผดส.ได้สูงสุด คือ 8 ล้านคนต่อปี ใน พ.ศ. 2578 โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ
แผนพัฒนาระยะที่หนึ่ง ปี พ.ศ. 2564-2568
[แก้]- สร้างทางขับคู่ขนานทางทิศเหนือ*
- ปรับปรุง RESA**
- ก่อสร้างอาคารดับเพลิงกู้ภัยอากาศยาน
- ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร ห้องน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ
- ก่อสร้างอาคาร VIP
- ก่อสร้างอาคารสำนักงาน (ย้ายสำนักงานออกนอกอาคารผู้โดยสาร เพิ่มพื้นที่ให้ผู้โดยสาร)
*สมชนก เทียมเทียบรัตน์ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ผชร.) เปิดเผยว่า เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตหลายด้าน ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงรายจึงมีโครงการก่อสร้างระบบทางขับขนานด้านทิศเหนือและปรับปรุงทางขับซ้ายหลุมจอด พร้อมทางขับเอและบี เริ่มก่อสร้าง 4 ต.ค. 64
ทชร.ได้ทำสัญญากับผู้รับเหมา เมื่อช่วงเดือน ก.พ. 64 ที่ผ่านมา โดยมีระยะเวลาสัญญาก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 660 วัน (4 ต.ค. 64–26 ก.ค. 66) รายละเอียดโครงการประกอบด้วยการปรับปรุงพื้นผิวทางวิ่งเดิม (Existing taxiways), เส้นนำจอด (Apron taxilane) และทางวิ่งคู่ขนาน (Parallel taxiway) พร้อมจุดเชื่อมต่อกับทางวิ่งหลัก โดยมีกรอบการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (ในการก่อสร้างบางพิ้นที่อาจจะมีการปิดสนามบินช่วงเวลา 15.01–22.59 ของทุกวัน ทำให้ตารางบินอาจมีการเปลี่ยนแปลง)
- ระยะที่ 1 (Phase 1, ช่วงเวลาก่อสร้าง 3 เดือนหลังจากเริ่มก่อสร้าง) ทำการปรับระดับพื้นผิวก่อสร้างและถอดถอนอุปกรณ์บางส่วนของทางวิ่งหมายเลข 21 (RWY 21) เช่น ไฟสัญญาณ PAPI (Precision Approach Path Indicator), ระบบ AWOS (Automated Weather Observing System)
- ระยะที่ 2 (Phase 2, ช่วงเวลาก่อสร้าง 12 เดือน หลังจากเสร็จระยะที่ 1) ทำการก่อสร้างทางขับ (Taxiway) A, B, C, D, P และ G โดยที่ C คือทางขับออกด่วน (Rapid exit taxiway) และ P คือทางขับคู่ขนาน (Parallel taxiway), ระบบท่อระบายน้ำ, ระบบไฟสัญญาณ รวมถึงการถอดถอนและติดตั้งอุปกรณ์บางส่วนของทางวิ่งหมายเลข 21 (RWY 21)
- ระยะที่ 3 (Phase 3, ช่วงเวลาก่อสร้าง 7 เดือน หลังจากเสร็จระยะที่ 2) ทำการปรับปรุงและก่อสร้างเพิ่มเติมทางขับประชิด (Closer taxiway) E, F และ G รวมถึงทำการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น ไฟสัญญาณ, PAPI และระบบท่อระบายน้ำ
** ช่วงปลายปี 2565 ทอท.ได้มีการอนุมัติเพิ่มเติมโครงการก่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (Runway End Safety Area: RESA) ซึ่งเป็นหนึ่งในกายภาพของสนามบินที่มีวัตถุประสงค์ไว้เพื่อลดความเสี่ยง (Risk) ที่จะเกิดความเสียหาย (Severity) ของอากาศยานที่ลงถึงก่อนทางวิ่ง (Undershooting) หรือร่อนลงบนทางวิ่งแล้ววิ่ง ทะลุออกนอกทางวิ่งด้านหัว/ปลาย (Overrunning) ออกไป ซึ่งโครงการได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ต้นปี 2566 โดยระยะที่ 1 จะทำการก่อสร้างที่ปลาย Runway 21 ก่อน จากนั้นในระยะที่ 2 จะดำเนินการก่อสร้างที่ปลาย Runway 03 ถัดไป โดยจะทำการขยายระยะทางจากปลาย Runway แต่ละด้านออกไปด้านละ 240 เมตร ทั้งนี้แผนการดำเนินการดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน พ.ย. 66
แผนพัฒนาระยะที่สอง ปี พ.ศ. 2568-2571
[แก้]- ทางขับขนานด้านทางทิศใต้
- เพิ่มลานจอดอากาศยานด้านทิศใต้ และระบบเติมน้ำมันอากาศยานทางท่อ
- สร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ
- ปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิมเป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
- สร้างอาคารจอดรถยนต์
- สร้างอาคารศูนย์ซ่อมแซมอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น
- สร้างลานจอดอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้น Ground Support Equipment
แผนพัฒนาระยะที่สาม ปี พ.ศ. 2576-2578
[แก้]- เพิ่มลานจอดอากาศยานด้านทิศใต้ และระบบเติมน้ำมันอากาศยานทางท่อ
- ปรับปรุงและต่อเติมอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และต่างประเทศ (โครงการต่อเนื่อง)
- รองรับเที่ยวบินได้ 30 เที่ยวบิน/ชั่วโมง
- หลุมจอดอากาศยาน 13 หลุมจอด
- งานปรับปรุงอาคารจอดรถ
- งานปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค
ในขณะเดียวกันเมื่อช่วงปี 2563 ทอท. ได้อนุมัติสัญญาเช่าระยะยาวให้แก่บริษัท เชียงราย เอเวชั่น โฮลดิ้ง จำกัด (Chiang Rai Aviation Holding Co., Ltd. : CAH) เพื่อก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) เครื่องบินลำตัวแคบ (Narrowbody) ประกอบด้วยอาคารซ่อมบำรุงอากาศยาน จำนวน 2 หลัง แต่ละหลังมี 4 หลุมจอด, ลานจอดอากาศยานภายนอก 7 หลุมจอด, อาคาร Workshop และอาคารสำนักงาน บนพื้นที่ 50 ไร่ บริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ทชร. ภายใต้กรอบการพัฒนาร่วมของ ทอท. โดยได้มีการเริ่มดำเนินการปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 65 คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในปี 2568 (ณ วันที่ 5 ส.ค. 67 ยังอยู่ในขั้นตอนการจัดทำ EIA คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ EIA)
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศไทย
- โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เก็บถาวร 2021-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง รายชื่อสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport) พ.ศ. ๒๕๖๖
- ↑ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินบ้านดู่ ในท้องที่อำเภอเชียงราย และอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๕
- ↑ ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนชื่อสนามบินอนุญาตตามนามพระราชทาน (ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย)
- ↑ "Air Transport Statistic" (xlsx). Airports of Thailand PLC. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เกี่ยวกับสนามบิน เก็บถาวร 2015-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ที่จอดรถ เก็บถาวร 2015-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลท่าอากาศยาน เก็บถาวร 2010-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ตารางการบินประจำฤดูกาล เก็บถาวร 2010-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน