ข้ามไปเนื้อหา

พระราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราม
ชื่อในอักษรเทวนาครีराम
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตRāma
ส่วนเกี่ยวข้องอวตารที่ 7 ในทศาวตารในพระวิษณุ, พรหมัน (ลัทธิไวษณพ)
ที่ประทับVaikunta, อโยธยา, Saket
อาวุธธนู
คัมภีร์รามายณะ, รามจารตมนะ
เทศกาลRama Navami, Vivaha Panchami, ทีปวลี, Dusshera
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
คู่ครองนางสีดา[1]
บุตร - ธิดาลวะ
กุษ
บิดา-มารดาท้าวทศรถ (พระบิดา)[1]
พระนางเกาสุริยา (พระมารดา)[1]
พระนางไกยเกษี (step-mother)
พระนางสุมิตรา (step-mother)
พี่น้องพระลักษมณ์
พระพรต
พระสัตรุด
Shanta
ราชวงศ์รฆูวันษี-อิศวกุ-สุรยวังษา

พระราม (/ˈrɑːmə/;[2] IAST: Rāma, ออกเสียง [ˈraːmɐ] ( ฟังเสียง); สันสกฤต: राम อักษรโรมัน: Rama), รามา,[α] หรือชื่อเต็มของปางนี้คือ รามจันทรา (/ˌrɑːməˈʌndrə/;[4] IAST: Rāmacandra, สันสกฤต: रामचन्द्र, อักษรโรมัน: Ramachandra), เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในศาสนาฮินดู ในฐานะอวตารปางที่เจ็ดและเป็นหนึ่งในอวตารที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของพระวิษณุ ในศาสนาฮินดูนับถือพระรามเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยถือว่า พระราม เป็นสิ่งมีชีวิตสูงสุด เรียกว่า พรหมิณ[5]

ตำนานเล่าว่า พระรามเป็นพระโอรสของ ท้าวทศรถ และ นางเกาสุริยา แห่งกรุงอโยธยา กษัตริย์ผู้ครองแคว้นโกศล พระรามมีพระอนุชา 3 พระองค์ คือ พระลักษณ์, พระพรต และ พระสัตรุด พระรามอภิเษกสมรสกับนางสีดา แม้จะเกิดในราชวงศ์ที่สูงส่ง แต่ชีวิตของพระรามที่มีบรรยายไว้กลับระบุว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงข้ามอย่างคาดไม่ถึง เช่น การเนรเทศไปสู่สถานที่ที่ยากไร้และกันดาร ทำให้เกิดคำถามด้านจริยธรรม และประเด็นขัดแย้งทางศีลธรรมในภายหลัง[6] ในช่วงเวลาที่พระรามเดินป่าเกือบ 14 ปีนั้น ช่วงเวลาที่โดดเด่นมากที่สุดคือการลักพาตัวนางสีดาโดยจอมอสูรอย่างทศกัณฐ์ ตามด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวดของพระรามและพระลักษมณ์ เพื่อการชิงนางสีดากลับมา และสังหารทศกัณฐ์ที่ชั่วร้าย เรื่องราวชีวิตทั้งหมดของพระราม นางสีดา และบุคคลต่างในรามายณะ เปรียบเทียบได้กับหน้าที่ สิทธิ และความรับผิดชอบต่อสังคมของแต่ละบุคคล แสดงให้เห็นถึงการดำเนินชีวิตด้วยธรรมะ โดยมีตัวละครฝ่ายพระรามเป็นแบบอย่าง[6][7]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 James G. Lochtefeld 2002, p. 555.
  2. "Rama". Webster's Dictionary (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  3. "Why we put 'a' after each Hindu name". Hinduism.Stackexchange. 16 October 2016. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
  4. แม่แบบ:Cite LPD
  5. Tulasīdāsa (1999). Sri Ramacaritamanasa. แปลโดย Prasad, RC. Motilal Banarsidass. pp. 871–872. ISBN 978-81-208-0762-4.
  6. 6.0 6.1 William H. Brackney (2013). Human Rights and the World's Major Religions, 2nd Edition. ABC-CLIO. pp. 238–239. ISBN 978-1-4408-2812-6.
  7. Roderick Hindery (1978). Comparative Ethics in Hindu and Buddhist Traditions. Motilal Banarsidass. pp. 95–124. ISBN 978-81-208-0866-9.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-greek" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-greek"/> ที่สอดคล้องกัน